“NAT Craft Mohhomphrae” โชว์เคส อัตลักษณ์ไทยใช้ดีไซน์ และนวัตกรรม สยายปีกไทย-ต่างประเทศ

“NAT Craft Mohhomphrae” โชว์เคส อัตลักษณ์ไทยใช้ดีไซน์ และนวัตกรรม สยายปีกไทย-ต่างประเทศ

​ผู้ประกอบการรายเล็ก ต่อยอดภูมิปัญญาถิ่น สร้างอัตลักษณ์ไทย จากชุมชนสู่โลก อย่าง แบรนด์ “NAT Craft Mohhomphrae” กำลังเติบโตสร้างชื่อทั้งตลาดในไทยและต่างประเทศ  ผนึกร่วมโครงการกับภาครัฐหลายโครงการต่อยอดเพิ่มทักษะการออกแบบ นวัตกรรม การตลาด และนำแนวทาง BCG โมเดล มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจเพื่อรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม  จนล่าสุดได้รับการพัฒนาคุณภาพโดยผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล ได้รับเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์สิ่งทอ หรือ Thailand Textiles Tag การันตีคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมวางเป้าชุมชนต้องโตไปด้วยกัน เตรียมนำแบรนด์สยายปีกโชว์เคสไปยังตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และฮ่องกง  

​ต่อแนวทางดังกล่าว นายภาสกร แสงด้วง ข้ามสาม เจ้าของแบรนด์ NAT Craft Mohhomphrae ฉายภาพอย่างน่าสนใจว่า  จุดเริ่มต้นมาจากเป็นคนสวมใส่ผ้าม่อห้อมเอง ออกแบบและประยุกต์สวมใส่ในชีวิตประจำวันเพราะชื่นชอบและบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์คนแพร่ ที่มีความภาคภูมิใจในบ้านเกิด จากนั้นเริ่มมีคนสนใจ  จึงมองว่าน่าจะสร้างโอกาสธุรกิจชุมชนได้ โดยเริ่มจากตัวเรา ก็ปรึกษาที่บ้าน แล้วออกลุยเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เรียกได้ว่า เรามาจากเอสเอ็มอีรายเล็กๆ ที่พยายามต่อยอดภูมิปัญญาถิ่น ของตำบลทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ ถือเป็นหนึ่งในจังหวัดต้นกำเนิดของผ้าม่อฮ่อม ที่มีความโดดเด่นด้านภูมิปัญญา มีความเป็นอัตลักษณ์ และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ้าทอพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติที่ผลิตโดยชุมชน ได้ถูกนำไปผลิตเป็นสินค้าสิ่งทอประเภทต่าง ๆ และได้รับการยอมรับจากตลาด

เนื่องจากคุณสมบัติของผ้าม่อฮ่อม มีความทนทาน ไม่มีกลิ่นอับ สามารถดูดซับแสงยูวีได้ เนื้อของผ้าสามารถระบายอากาศได้ดี ทำให้สวมใส่สบาย ไม่ร้อนเกินไป ไม่เปื้อนง่าย และว่ากันว่ามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระด้วย ทำให้ใส่ผ้าม่อห้อมนอกจากจะสวยแล้ว ยังเสริมสร้างสุขภาพด้วย ตามแนวทาง BCG โมเดล  มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจเพื่อรักษาสมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงพยายามมุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม ให้สีผ้าตกน้อยที่สุดหรือไม่ตกเลย เน้นดีไซน์ให้ร่วมสมัย สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันให้สนุก และมีความเป็น Unique ภายใต้สโลแกน “สวยไม่ซ้ำ จำไม่ได้” ซึ่งชัดเจนว่าเราไม่ใช่สินค้าแมส ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครจะเป็นจุดขายของตัวสินค้าเองต้องยอมรับว่า ด้วยเราเป็นสินค้าชุมชน ทำให้เราต้องพัฒนาทักษะกระบวนการทางความคิด และสร้างดีไซน์ให้โดดเด่นในตลาดให้มากขึ้น ทำให้เริ่มพัฒนาเรียนรู้การออกแบบตั้งแต่คัตติ้ง การดีไซน์ เรียนการตัดเย็บที่วิทยาลัยชุมชนแพร่ ไปพร้อมกับเข้าร่วมโครงการต่างๆ เพื่อผู้ประกอบการของหน่วยงานที่ได้มีโอกาสไปโชว์เคส โรดโชว์ร่วมกับภาครัฐ ไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น

และล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว ได้รับการฝึกอบรมเข้าร่วมกิจกรรมดีพร้อมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag)   เพื่อขอรับเครื่องหมายคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (Thailand Textiles Tag) และรับสิทธิ์การให้คำแนะนำปรึกษา การทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ภายใต้ข้อกำหนด และกิจกรรมอบรมความรู้ด้านการตลาด การออกตลาด   โดยฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือ Thailand Textiles Tag นั้น เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand) และได้รับการพัฒนาคุณภาพโดยผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและสร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายใต้มาตรฐานสินค้าไทย ซึ่งตราสัญลักษณ์นี้นับว่าเป็นการสร้างโอกาสสำคัญให้กับ NAT Craft Mohhomphrae อย่างมาก เป็นการการันตีคุณภาพ และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่ด่านแรกที่เห็น นอกจากดีไซน์ คิดว่าเรื่องคุณภาพสินค้าก็สำคัญอย่างยิ่ง

ADVERTISMENT

นับว่าเป็นสร้างโอกาสให้ได้พัฒนาทักษะการผลิต การดีไซน์ออกแบบ การทำการตลาด เรียกได้ว่าเรียนรู้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  แล้วนำองค์ความรู้ที่ได้มาสอนลุงๆป้าๆและคนรุ่นใหม่ๆที่สนใจในชุมชน เพื่อให้ก้าวเติบโดไปด้วยกัน ช่วยกันผลักดันผ้าม่อห้อม ให้ได้เป็นที่รู้จัก ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของบ้านเกิดจังหวัดแพร่เรา ซึ่งบ้านเป็นโรงงาน คือ คนในชุมชน 9 ชุมชน 7 หมู่บ้าน ที่เขาจะรับงานจากเราไปเย็บที่บ้าน หลังจากนั้นก็เอางานที่ได้จากเรากลับมาให้เราอีกทีหนึ่ง โดยผลิตภัณฑ์ของเรามาจากจากธรรมชาติ ใช้หลักการของออร์แกนิก ไม่มีสารพิษ และทุกสิ่งที่เรานำมาใช้ เราพยายามให้เป็นขยะน้อยที่สุดที่ออกจากบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นขี้ด้าย เศษผ้าต่าง ๆ เราก็นำไปปะเป็นผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นชิ้นงานใหม่” นายภาสกร กล่าว พร้อมกับเพิ่มเติมว่า  

ADVERTISMENT

สำหรับแผนงานในปีนี้ เราเน้นคอลเล็คชั่นใหม่ บ๋อร์แบ๋ร์ หมีบ้า สัญลักษณ์รูปหมี น่ารักที่สร้างการจดจำได้ง่าย ขึ้น เป็นสินค้าทั้งเสื้อผ้า ผ้าพันคอ แอคเซสซอรี่ ของตกแต่งบ้าน ของฝากของที่ระลึก กระเป๋า เป็นต้น ตลอดจนเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าจากไม้ มาประยุกต์เข้ากับผ้าม่อห้อม เรียกว่า กลุ่ม Art Toy มาทำเป็นของเล่น ของสะสมจากงานศิลปะ  ซึ่งปัจจุบัน สินค้ามีวางจำหน่ายที่เซ็นทรัล เชียงราย เซ็นทรัล เชียงใหม่ และร้านค้าต่างๆ ทางโซนภาคเหนือ ตลอดจนการจำหน่ายผ่านออนไลน์ facebook.com/morehomthai  หรือ www.morehomphrae.com

นอกจากนี้ยังเน้นสร้าง Story Telling  บอกเล่าเรื่องราวผ่านอัตลักษณ์ความเป็นม่อห้อม แพร่ การโฟกัส กลุ่มเป้าหมายด้วยการดีไซน์ ให้ตรงกับกลุ่ม (Focus Marketing) การสร้างแบรนด์ผ่านทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ การเพิ่มทักษะกับชุมชนในแต่ละอำเภอ ดึงความโดดเด่นของแต่ละอำเภอ แต่ละชุมชนเข้ามาเป็นผู้ผลิตร่วมกัน ผสมผสานภูมิปัญญา กับนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้าให้มากยิ่งขึ้น ด้วยหลักคิดที่ว่าการสร้าง Valued Creation คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยการดีไซน์โดดเด่น ทันสมัย ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าจากจีน ไต้หวัน ฮ่องกง ให้ความสนใจ และสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึง สวีเดน และเยอรมนี ที่เดินทางมาที่ NAT Craft Mohhomphrae  เพื่อเลือกผ้าม่อห้อม นำไปประดับและประยุกต์กับสินค้าของทางฝั่งประเทศเขา  โดยเราตั้งเป้าจะขยายกำลังการผลิตที่มากขึ้น เพื่อที่จะขยายเป็นโรงงาน และอยากให้ภาครัฐดูเรื่องการทำการประชาสัมพันธ์สินค้าไทย และการขยายตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  สามารถติดต่อสอบถาม  271 ม.5 ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ หรือ โทร 0939799118  

นายภาสกร กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากจะขอเชิญชวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสิ่งทอแฟชั่น และผลิตภัณฑ์ที่มีผ้าเป็นองค์ประกอบมาสมัครเข้าร่วม โครงการฯในปีนี้ซึ่งจะทำให้ทุกท่านมีโอกาสได้รับฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยซึ่งถือเป็นแต้มต่อและเพิ่มยอดขายได้ นอกจากนี้ก็ขอเชิญชวนผู้บริโภคหากท่านซื้อสินค้าสิ่งทอแฟชั่นอย่าลืมมองหาฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือThailand Textiles Tag นะครับรับรองว่าได้ของคุณภาพดีและผลิตในประเทศไทยอย่างแน่นอน โดยดูรายละเอียดได้ที่ www.thailandtextilestag.com หรือ facebook : Thailand Textiles Tag