
เด็กไทยซึมเศร้าพุ่ง! พบอายุน้อยสุดแค่ 9 ขวบ พร้อมเปิดมุมมองที่ผู้ใหญ่มองข้าม ชวนเข้าใจโรคก่อนสาย
โรคซึมเศร้ามักถูกมองว่าเกิดขึ้นในเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานที่ต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิต แต่ปัจจุบันแนวโน้มที่เกิดขึ้นกำลังสั่นคลอนความเชื่อเดิม ล่าสุด โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต แบงค็อก เมนทัล เฮลท์ (BMHH) ได้เผยถึงข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ พร้อมเปิดมุมมองโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นที่หลายคนอาจมองข้าม
พญ.ปวีณา ศรีมโนทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต BMHH เล่าถึงแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงนี้ว่า “เด็กและวัยรุ่นในปัจจุบันเผชิญกับแรงกดดันที่ซับซ้อนกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สภาพสังคมและเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ความคาดหวังจากครอบครัว ซึ่งจากสถิติของโรงพยาบาล BMHH ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่าคนที่เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 30% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดและเด็กอายุน้อยที่สุดที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาอยู่ที่ 9-10 ขวบเท่านั้น ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยซึมเศร้าที่พบมากที่สุดอยู่ที่ 32 ปี โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ 4% ของประชากรทั้งหมด
เด็กเศร้าไม่ได้แปลว่าต้องร้องไห้เสมอไป
ปัจจัยที่ทำให้เด็กและวัยรุ่นเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามีหลายอย่าง ตั้งแต่พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ไปจนถึงปัจจัยทางสังคม เช่น ผลกระทบจากการใช้โซเชียลมีเดีย ปัญหาเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และแรงกดดันในโรงเรียน ซึ่งเด็กและวัยรุ่นอาจจะแสดงออกถึงภาวะซึมเศร้าแตกต่างจากผู้ใหญ่ บางคนไม่ได้แสดงออกในรูปแบบการร้องไห้เสมอไป แต่อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่อยากไปโรงเรียน หรือสูญเสียความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ ทำให้พ่อแม่และคุณครูอาจไม่ทันสังเกตว่าลูกของตัวเองกำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพจิต
ชวนรู้จักแนวทางรักษา และการบำบัดที่เหมาะสม
สำหรับแนวทางการรักษา หลังจากผู้ป่วยแต่ละรายได้ประเมินความเสี่ยงและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว จะมีการแบ่งแนวทางการรักษาเป็น 3 แนวทางหลัก ได้แก่
- การใช้ยา: เป็นวิธีการหลักในการรักษาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ซึ่งปัจจุบันมีผลข้างเคียงน้อยลงและสามารถปรับให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายได้
- การทำจิตบำบัด: เป็นการบำบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้เข้ารับการรักษา ซึ่งเทคนิคที่ใช้ขึ้นอยู่กับอาการหรือสาเหตุต้นทาง เช่น การพูดคุยกับนักจิตบำบัด, การบำบัดที่ใช้การเคลื่อนไหวของดวงตา (EMDR) และ การบำบัดที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (CBT)
- การใช้เครื่องมืออื่นๆ : เช่น การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (dTMS) หรือการรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT) ซึ่งจะพิจารณาใช้ตามข้อบ่งชี้ที่จำเป็น
ซึมเศร้าไม่ใช่แค่การรักษา แต่คือความเข้าใจ
โรคซึมเศร้าไม่สามารถใช้การรักษาแบบ “One size fit all” ได้ เนื่องจากแต่ละคนมีสาเหตุ เงื่อนไข และอาการแตกต่างกัน ทำให้โรงพยาบาล BMHH มุ่งเป็นศูนย์การรักษาแบบครบวงจร พร้อมชูหัวใจสำคัญในการรักษาแบบ Personalized ที่เข้าใจและตอบโจทย์ทุกความต้องการเฉพาะบุคคลอย่างครอบคลุม บนพื้นฐาน 3 แนวคิดสำคัญ คือ
- วินิจฉัยเร็ว รักษาไว โอกาสหายสูง: โรงพยาบาล BMHH มีแนวทางสนับสนุนให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันสุขภาพจิตของตัวเอง ด้วยการให้ความรู้และคำปรึกษาที่เหมาะสม เพื่อปกป้องและให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีทีมสหวิชาชีพที่เข้มแข็ง ตั้งแต่ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลเฉพาะทาง เภสัชกร เป็นต้นเพื่อวางแผนการรักษาร่วมกับคนไข้ทุกขั้นตอน
- ชูการดูแลแบบ Personalized มุ่งเน้นการรักษาที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และพื้นฐานชีวิตของแต่ละคน พร้อมมองรอบด้านให้คำปรึกษากับครอบครัวหรือคู่ชีวิต ผ่าน Family Therapy หรือ Couple Therapy เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ
ถึงแม้ว่าปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่จะมีความเข้าใจและเปิดกว้างเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้นแต่ยังมีอุปสรรคใหญ่อย่างการตีตราทางสังคมหรือความไม่เข้าใจของพ่อแม่ที่ทำให้เด็กหลายคนไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างที่ควร ดังนั้น การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้สังคมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาโรคซึมเศร้าที่ยั่งยืน