Co-payment ประกันสุขภาพ คืออะไร? มีเงื่อนไขในการทำประกันอย่างไร

Co-payment ประกันสุขภาพ คืออะไร? มีเงื่อนไขในการทำประกันอย่างไร

Co-payment หรือที่หลายๆท่านเข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ “การร่วมจ่าย”  ซึ่งตัวระบบเป็นระบบ Co-payment  จะเป็นตัวที่กำหนดให้ผู้รับบริการต้องจ่ายค่าบริการบางส่วนด้วยตัวเองแทนที่จะให้หน่วยงานภาครัฐหรือบริษัทประกันรับผิดชอบในใช้จ่ายทั้งหมด  โดยทั่วไปแล้วนั้น ระบบ Co-payment  เราจะสามารถพบได้บ่อยในด้านของการประกันภัย เพราะจะช่วยในเรื่องของการแบ่งเบาภาระของภาครัฐหรือบริษัทประกัน ลดการใช้บริการที่ไม่จำเป็นเพื่อส่งผลดีต่อผู้ทำประกันด้านประกัน

ระบบ Co-payment เป็นอย่างไร?

ถึงระบบ Co-payment  จะมีมานานแล้วก็จริง แต่ก่อนที่เราๆ จะหันมาใช้ระบบนี้นั้นซึ่งแน่นอนว่าก่อนหน้านั้นก็มีในเรื่องของการบริหารจัดการด้วยตัวผู้ประกันเอง และเดิมทีก่อนที่จะมีระบบ Co-payment ให้บริการนั้น เราจะให้บริการผู้ป้วยในรูปแบบของ “การให้บริการฟรี” หรือ “การประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย โดยที่ประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรืออาจจะเสียเพียงแค่เล็กๆน้อยๆตามค่าบริการ

เมื่อผู้คนเริ่มให้ความสนใจด้านของประกันสุขภาพกันมากขึ้นก็กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของระบบ Co-payment ที่ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกใน ยุโรปและอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีเป้าหมายในเรื่องของการลดภาระของระบบประกันสุขภาพและงบสำรองจากภาครัฐ โดยระบบ Co-payment ในประเทศไทย เคยใช้ระบบเหมาจ่าย สำหรับบุคคลบางกลุ่ม อย่างเช่น ข้าราชการและแรงงานในระบบประกันสังคม แต่เมื่อมาถึงยุคของ  “บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค” ในปี 2545 จึงทำให้ไม่ได้ใช้ระบบ Co-payment จึงทำให้ภาระความรับผิดชอบตกไปอยู่ที่ฝั่งรัฐบาลโดยตรง และนั่นทำให้ทางได้เริ่มทดสอบระบบ Co-payment ในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • โครงการ Co-payment คนละครึ่ง ในปี 2563 ในช่วงโควิด-19 เพื่อเป็นการใช้หลักการร่วมจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • โครงการร่วมจ่ายในระบบสาธารณสุข เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ

Co-payment ช่วยอะไรสำหรับผู้ทำประกัน?

Co-payment เป็นระบบที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือบริการทางการแพทย์บางส่วนร่วมกับบริษัทประกัน นั่นจึงทำให้เกิดเป็นทางเลือกสำหรับภาครัฐหรือบริษัทประกันจ่ายค่าบริการหรือความรับผิดความคุ้มครองด้านสุขภาพให้มีความสมเหตุสมผลและเอื้อต่อระบบสาธารณสุขในระยะยาวนั่นเองโดยสามารถอธิบายได้ดังนี้ 

  1. ช่วยลดค่าเบี้ยประกัน
  • เนื่องด้วยค่าบริการในส่วนของค่ารักษาทำให้ผู้ทำประกันต้องร่วมจ่ายเองบางส่วน จุดนี้ทำให้บริษัทประกันสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองได้
  • ส่งผลให้เบี้ยประกันถูกลงเมื่อเทียบกับประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  • ช่วยให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับงบของผู้ที่สนใจทำประกันได้มากขึ้น 
  1. ควบคุมการใช้บริการที่ไม่จำเป็น
  • ระบบ Co-payment ทำให้ผู้ซื้อประกันรู้ขอบเขตของการใช้สิทธิ์ในเรื่องของการรับการรักษาหรือใช้บริการทางการแพทย์
  • ลดการใช้บริการทางการแพทย์โดยไม่จำเป็น อย่างเช่น การเข้าพบแพทย์โดยไม่ใช่กรณีเร่งด่วน
  1. เพิ่มความรับผิดชอบต่อตัวผู้ทำประกันในเรื่องของสุขภาพ
  • เมื่อเป็นระบบนี้ ทางผู้ซื้อประกันจรับรู้ถึงค่าบริการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบางส่วน จุดนี้จะทำให้ผู้ซื้อประกันให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองมากขึ้น
  • กระตุ้นให้ผู้ทำประกันหันมาสนใจดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น เช่น การดูแลอาหาร การออกกำลังกาย และการป้องกันโรค เพื่อลดโอกาสเกิดการเจ็บป่วย
  1. ช่วยให้ระบบสุขภาพมีความยั่งยืน
  • การมีระบบ Co-payment ช่วยลดภาระทางการเงินของรัฐและบริษัทประกันเพิ่มขึ้น เพราะผู้ซื้อประกันมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกินมาจากการักษา
  • ช่วยทางภาครัฐกระจายงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์จริงๆ ได้มากขึ้น

กลุ่มลูกค้าที่นิยมใช้ Co-payment

  1. กลุ่มพนักงานบริษัท
    บริษัททั่วไปจะมีแผนประกันที่มีระบบ Co-payment ให้พนักงานได้รับความคุ้มครองทางการแพทย์ที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องรับภาระค่าเบี้ยประกันที่สูงเกินไป พร้อมทั้งยัง ช่วยให้บริษัทสามารถจัดสรรสวัสดิการพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัวพนักงานเองก็จะมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ทำให้มีการใช้บริการจากโรงพยาบาลอย่างคุ้มค่าและเหมาะสมตามสถานการณ์
  2. กลุ่มผู้ประกอบการหรือฟรีแลนซ์
    แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้คือผู้ที่ทำงานอิสระและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเองทั้งหมด จึงเป็นที่มาสำหรับการเลือกใช้ประกันสุขภาพที่มีระบบ Co-payment จะช่วยให้เบี้ยประกันถูกลง และเพิ่มความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตนเอง และไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยสูงเกินไป เนื่องด้วยระบบ Co-payment มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย และสามารถวางแผนด้านสุขภาพในระยะยาวได้ดีขึ้น
  3. กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
    ในด้านของกลุ่มลูกค้าสูงอายุต่างก็เข้าใช้บริการทางการแพทย์บ่อยครั้ง ฉะนั้นแล้วบุคคลกลุ่มนี้จึงนิยมเลือกใช้บริการประกันด้านสุขภาพที่มีระบบ Co-payment เพราะจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องรักษาโรคเรื้อรัง และได้รับการดูแลทางสุขภาพที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเงินออมทั้งหมด

Co-payment ช่วยอะไรสำหรับผู้ทำประกัน?

อย่างที่เกริ่นๆไปข้างต้นแล้วนั้น เจ้าระบบ Co-payment เป็นระบบที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือบริการทางการแพทย์บางส่วนร่วมกับบริษัทประกันที่เลือกไว้ และด้วยความไม่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน หรือว่าจ่ายค่ารักษาแบบเต็มจำนวน เมื่อผู้ที่สนใจใช้บริการ Co-payment จากค่ายประกันแล้วนั้น ตัวผู้ทำประกันหรือผู้ซื้อประกันจะได้รับสิทธิดังนี้ 

  1. ช่วยลดค่าเบี้ยประกัน
  • เนื่องด้วยผู้ทำประกันต้องร่วมจ่ายเองบางส่วน ทำให้บริษัทประกันสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองได้  จุดนี้จะส่งผลให้เบี้ยประกันถูกลงเมื่อเทียบกับประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  • ช่วยให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับงบที่มี ไม่ต้องจ่ายเยอะ หรือทำให้การทำประกันเป็นการเพิ่มภาระในอนาคต
  1. ควบคุมการใช้บริการที่ไม่จำเป็น
  • ระบบ Co-payment จะทำให้ผู้ที่ทำประกันได้มีการคำนวนการใช้จ่ายมากขึ้น หากว่าตัวเองต้องเข้ารับการรักษา ตัวผู้ให้บริการประกันช่วยรับผิดชอบในส่วนที่คุ้มครอง ในส่วนที่เกินผู้ทำประกันต้องเป็นคนรับผิดชอบ จุดนี้จะทำให้ผู้ทำประกันทราบว่าตัวเองจะจ่ายเท่าไหร่ในส่วนต่าง ทำให้ผู้ทำประกัน ไม่ใช้สิทธิเกินความจำเป็น

Co-payment คืออะไร คือ ระบบที่ช่วยให้การบริหารค่าใช้จ่ายในเรื่องของสุขภาพ และในปัจจุบันหลายๆบริษัทประกันก็มีการใช้งานด้วยระบบ Co-payment เพื่อให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมและไม่เกินความจำเป็น หากผู้ซื้อประกันต้องการรับการรักษาที่เกินขอบเขตความคุ้มครองจากบริษัทประกัน ในส่วนของค่ารักษาและค่าบริการส่วนต่างตัวผู้ทำประกันต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง และนั้นทำให้ผู้ที่ทำประกันมีความตระนักถึงเรื่องการใช้บริการที่เกินความจำเป็น และทำให้ผู้ที่สนใจทำประกันมีความสนใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ADVERTISMENT

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.ichalita.com/articles/health/co-payment/

https://www.tlaa.org/

ADVERTISMENT