
ธุรกิจคาร์บอนเครดิต ภายใต้ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่ง และบริการ CPCRT เครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดการประชุม Stakeholder Consultation ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนากระบวนการ ดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและความยั่งยืน
การประชุมในคร้้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เกษตรจังหวัด และภาคีเครือข่ายจากทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมในการประชุม ณ ห้องประชุมนภาลัย โรงแรมวีซีพะเยา อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568
ธุรกิจคาร์บอนเครดิต CPCRT มุ่งมั่นผลักดันโครงการคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตรตามมาตรฐานสากล Gold Standard ผ่านการใช้วิธีนาเปียกสลับแห้ง (Alternate Wetting and Drying: AWD)และการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดโดยตรง (Direct Seeded Rice : DSR) ในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวทางภาคเหนือและภาคกลางของไทย รวมถึงมาตรฐาน
VERRA ด้วยวิธีการเกษตรฟื้นฟู (Regenerative Agriculture ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย พะเยา, เชียงราย, เชียงใหม่, กำแพงเพชร, พิษณุโลก, พิจิตร, นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี
โดยการประชุม Stakeholder Consultation คร้ังนี้มุ่งเน้นการรับฟังความคิดเห็นจาก 5 กลุ่มหลักได้แก่
- กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
- กลุ่มเกษตรกรทั่วไป
- กลุ่มประชาชนในพื้นที่
- กลุ่มภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานราชการองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
- กลุ่มองค์กรอิสระ (NGO) ที่สนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมยั่งยืน
ภายในงานมีการบรรยายให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจจากผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย
- กฎหมายและนโยบายคาร์บอนเครดิต โดย คุณศิวัช แก้วเจริญ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและติดตามข้อมูลคาร์บอนเครดิต โดย ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. (GISTDA)
- ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและบริษัทเจริญโภคภัณ ฑ์โปรดิ๊วส จำกัด โดยคุณนฤมิต สมัคร เกษตรจังหวัดพะเยา
- มาตรฐานการรับรอง คาร์บอนเครดิต Gold Standard โดยอาจารย์สุรพล ใจวงศ์ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง
นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายถึงผลประโยชน์ของโครงการที่ได้รับและแผนการดำเนินงานคาร์บอนเครดิตที่เน้นย้า ถึงความสำคัญของการร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจคาร์บอนเครดิตของ CPCRT มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutral ภายในปี 2573 และ Net Zero Emissions ภายในปี 2593 โดยเริ่มดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตในภาคการเกษตรผ่านวิธีการทำนาเปี ยกสลับแห้ง ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประชุม Stakeholder Consultation ในครั้งนี้ถือ
เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนตลอดจนสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคเกษตรไทย