เทคนิคการเลือกซื้อ UPS แบบไหนที่เหมาะกับคอมพิวเตอร์คู่ใจของคุณ

ใครที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานอยู่เป็นประจำ คงจะเคยเจอปัญหา อยู่ ๆ ไฟก็ดับไปเฉย ๆ หรือไฟตกโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ต้องดับตามกันไปด้วย งานที่ทำค้างไว้ต้องเร่งส่งก็ยังไม่ได้กดเซฟ กลายเป็นผู้ประสบภัย ข้อมูลงานสูญหายหมด ต้องมาเริ่มทำใหม่ เสียทั้งเวลาและเสียพลังงานเป็นอย่างมาก หรือหากฝนตกหนักเกิดไฟกระชากแรง ๆ ขึ้นมา นอกจากข้อมูลจะสูญหายแล้ว ยังจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาแพงของเราพังไปด้วยนี่สิ ใครเจอปัญหาแบบนี้บอกเลยว่าต้องคอตกอย่างแน่นอน

แต่ที่กล่าวมาข้างบนจะไม่เป็นปัญหาแม้แต่นิดเดียว ถ้าหากคุณมี UPS หรือเครื่องสำรองไฟ อุปกรณ์ที่จะมารองรับและแก้ปัญหาน่าปวดหัวทั้งหมด เวลาไฟดับหรือไฟกระชาก ก็ไม่ต้องกลัวคอมพิวเตอร์จะดับหรือเสียหาย ส่วนราคาของ UPS หรือเครื่องสำรองไฟก็เริ่มต้นเพียงแค่หลักพันเท่านั้นเอง คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มจริง ๆ แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าแล้วจะเลือกซื้ออย่างไรดี เพราะเท่าที่เห็นก็มีหลายแบบ หลายยี่ห้อมากมาย วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคการเลือกซื้อ UPS แบบไหนที่เหมาะกับคอมพิวเตอร์คู่ใจของคุณกัน

UPS คืออะไร ใช้งานอย่างไร

หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ UPS (Uninterruptible Power Supply) ก็ทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี่นั่นเอง เป็นเครื่องสำรองไฟที่มีกระแสไฟสำรองอยู่ภายในเครื่อง ทำให้เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะเกิดไฟดับขึ้นมา เครื่องสำรองไฟก็จะทำหน้าที่ช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับปกติ หลังไฟดับ UPS จะช่วยให้เราใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง เพื่อให้เรามีเวลาในการจัดการกับไฟล์งาน เซฟข้อมูลต่าง ๆ หรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะไม่เกิดความเสียหาย การใช้งานก็ง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่ต่อ UPS เข้ากับไฟบ้าน แล้วเสียบปลั๊กคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่เครื่องสำรองไฟ

UPS ทำงานอย่างไร

คุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของเครื่องสำรองไฟที่ดีนั้น จะทำงานด้วยการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ AC ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC แล้วเก็บเป็นไฟฟ้าสำรองไว้บางส่วน เมื่อเวลาที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ระบบไฟฟ้าสำรองก็จะทำงานทันที ช่วยให้มีกระแสไฟจ่ายมาให้กับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าของเรานั่นเอง

เครื่องสำรองไฟ UPS ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. Charger
หรือเครื่องจุดประจุแบตเตอรี่ หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจาก AC ไปเป็น DC (Rectifier)

2. Inverter
หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อพ่วงกับ UPS ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่ง

3. Battery
เป็นแหล่งสำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง สำหรับกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ไฟตก ช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่ดับไปในทันที ช่วยป้องกันความเสียหาย

4. Stabilizer
บางรุ่นจะมีติดตั้งระบบปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติมาด้วย เพราะไฟฟ้าอาจจะจ่ายไฟมากหรือน้อยเกินไป จนอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของเราเสียหาย ระบบปรับแรงดันไฟฟ้า จะเป็นตัวช่วยปรับให้กระแสไฟฟ้าเสถียรและคงที่

เทคนิคการเลือกซื้อ UPS ให้เหมาะกับคอมพิวเตอร์

ก่อนจะซื้อ UPS มาใช้งานนั้นเราต้องรู้ก่อนว่า เราจะนำมาใช้กับอุปกรณ์อะไรบ้าง หากนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องรู้ด้วยว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น มีขนาดกำลังไฟเท่าไหร่ เพราะแต่ละเครื่องมีขนาด Power Supply ไม่เท่ากัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ PC ขนาดมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป เมื่อรวมกับจอมอนิเตอร์แล้ว จะกินไฟอยู่ที่ประมาณ 400 – 500 วัตต์ ทีนี้เรามาดูวิธีเลือกซื้อกันเลย

ประเภทของ UPS

เครื่องสำรองไฟแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายประเภท ตามการใช้งานและงบประมาณ มีทั้ง Stand by UPS ที่ใช้สำรองไฟได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถปรับแรงดันไฟฟ้าได้ ราคาจะค่อนข้างถูกกว่าชนิดอื่น Line Interactive UPS เป็นเครื่องสำรองไฟที่มีระบบปรับแรงดันไฟฟ้า หรือ Stabilizer ซึ่งจะช่วยถนอมคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อพ่วงได้เป็นอย่างดี ช่วยให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ราคาจะสูงกว่าแบบแรก และ Online UPS เป็นระบบสำรองไฟ ที่เพิ่มความสามารถในการควบคุมคลื่นสัญญาณรบกวนได้ดี ช่วยป้องกันปัญหาจากไฟฟ้าได้ทุกชนิด ช่วยควบคุมกระแสไฟให้สม่ำเสมอราคาจะแพงมากกว่า 2 ชนิดก่อนหน้านี้

ขนาดของ UPS

เมื่อเรารู้กำลังไฟที่เราใช้งานแล้ว การเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องดูที่ขนาดความจุของ UPS เป็นหลัก ขนาดโดยทั่วไปจะมีหน่วยเป็น VA หรือ KVA สมมุติว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 ชุด ใช้ไฟประมาณ 200 – 300 VA หรือ Computer Server ขนาดใหญ่ที่กินไฟประมาณ 600 – 700 VA เราควรจะเลือกซื้อให้ขนาดความจุของ UPS มากกว่าสักเล็กน้อย

ระยะเวลาการสำรองไฟ Backup Time

โดยปกติแล้วหลังไฟฟ้าดับ เครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS จะเริ่มทำงาน โดยการจ่ายกระแสไฟต่อเนื่องนานตามเวลาของเครื่องสำรองไฟแต่ละเครื่อง ซึ่งตรงนี้จะเรียกว่า ระยะเวลาการสำรองไฟ หรือ Backup Time สำหรับการเลือก UPS เราต้องคำนวณจากอุปกรณ์ของเรา เช่น หลังไฟดับ เราต้องรีบทำงาน รีบเซฟไฟล์งาน หรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการสำรองไฟ ไม่จำเป็นต้องมาก เช่น 10 – 30 นาที ก็เพียงพอ แต่หากต้องการระยะเวลาสำรองไฟ ที่มากกว่าปกติ ก็ต้องเลือกแบบรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้นานกว่ารุ่นปกติ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีราคาที่สูงขึ้นเช่นกัน

คุณภาพและมาตรฐานที่วางใจได้

เครื่องสำรองไฟในตลาด IT นั้นมีด้วยกันมากมายหลายยี่ห้อ หากไม่มีความรู้หรือข้อมูลที่ดีพอ อาจจะทำให้เราเลือกได้ยาก ดังนั้น ทางที่ดีเราควรเลือกจากแบรนด์ หรือบริษัทที่มีชื่อเสียง หรือได้รับความเชื่อถือ มีพัฒนาด้านคุณภาพสินค้าและมีสายการผลิตมาอย่างยาวนาน รวมทั้งได้รับมาตรฐานสากล และมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งรวมไปถึงเงื่อนไขการรับประกัน 1 ปี 2 ปี หรือมากกว่านั้น มีศูนย์บริการหลังการขายหรือไม่ หากมีครบก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อมาใช้งาน

การเลือกใช้ UPS เป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยถนอมคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น และควรเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ เพราะราคาของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นก็ถือว่ามีราคาสูงพอสมควร

ส่วนใครที่กำลังมองหาเครื่องสำรองไฟคุณภาพดี มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกอย่างหลากหลาย ครบถ้วนทุกความต้องการ พร้อมบริการหลังการขายที่รวดเร็ว ขอแนะนำ Chuphotic (ชูโฟทิค) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำรองไฟ UPS ที่มีคุณภาพสูง ได้ใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มอก. 1291-2545 และ ICE/IEC 62040 ได้ให้คำปรึกษา และแนะนำเครื่อง UPS ที่ตอบโจทย์การใช้งานของคุณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับการลงทุนครั้งนี้ของคุณมากที่สุด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 065-050-5455, 092-262-0760
Line : @chuphotic (with @)
Email : [email protected]
Website : www.chuphotic.com