วงวิชาการเผย “สื่อโฆษณาออนไลน์” แทนที่ “สื่อดั้งเดิม” ขาช็อปไทยรับสื่อ-ซื้อของบนแพลตฟอร์มต่างชาติ

วันที่ 24 มกราคม 62 เวลา 16.00 น. คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2562 ครั้งที่ 41 ในเรื่อง นวัตกรรมพลิกโลก: การเปลี่ยนผ่านเเละความท้าทายของประเทศไทย ที่หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย EEC เรียนรู้จากต่างชาติอย่างไรให้พัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวในวงเสวนา “นวัตกรรมพลิกโลก: การเปลี่ยนผ่านเเละความท้าทายของประเทศไทย” ถึงประเด็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย EEC เเละการสร้างนวัตกรรม หากต้องการเงินทุนต่างชาติ พนักงาน คน บริษัท จะเรียนรู้จากต่างชาติอย่างไรให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ว่า อุตสาหกรรมยุค 1.0 เป็นช่วงการสร้างอุตสาหกรรมที่สร้างผลผลิตได้ดี เเละเริ่มใช้เครื่องจักรกล ต่อมาเป็นยุค 2.0 เเละ 3.0 ซึ่งเป็นยุคของตน มีการนำเอา electronice เข้ามาใช้

“เเล้วเราจะทำอย่างไรให้ไป 4.0 ได้ สำหรับผมมันคือดาบสองคม 4.0 ไม่ใช่เเค่เรื่องโนบอทิกอย่างเดียว มันคือเรื่องของเทคโนโลยี ไอโอที เป็นเรื่องที่เราไม่ได้เป็นเลย เเต่ทุกประเทศทุกมุมโลกในวันนี้กำลังเริ่มพร้อมกัน

อย่างในฐานะผมเป็นกรรมการบอร์ด 5G กำลังเอาเข้าไปในเมืองศรีราชา ซึ่งจะเป็นฐาน เกิดสมาร์ทซิตตี้ 3 เมือง เมืองเเรก คือเมืองการบินอยู่ใกล้กับสัตหีบ เมืองที่ 2 เรียกว่าศูนย์ทางด้านการเงิน ใกล้กับพัทยา สามคือศูนย์ทางด้านโลจิสติก ใกล้กับศรีราชา ซึ่งจะเชื่อมโยงกัน ตรงนี้คือ EECd เมืองแห่งดิจิตอล” รศ.ดร.ชิต กล่าวเเละว่า

สำหรับ EECi หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เราคิดว่าเราจะทำไร ก็เเบ่งๆ ออกมา เเต่อย่างที่ได้คุยกับทางเกาหลี เขาบอกมาเเน่ เเต่ต้องดูก่อนว่าเกาหลีจะมาลงทุนอะไร เเล้วจะได้ไปศึกษา พัฒนา โจทย์ใหม่ของไทยคือ ติดตามตามความต้องการของตัวเองไม่ได้ เราต้องดูดีมานก่อน ตอนนี้อาจจะต้องไปดูเรื่องพื้นฐาน ขณะนี้ที่ไปชวนเขามาลง EEC เราก็จะเชิญในส่วนของต่างประเทศมาลงทุนในอีอีซีไอ โดยให้พาร์ทเนอร์เตรียมจัดกำลังผล ให้เชื่อมโยงกับเขา

“หลายเรื่องเราพบว่า อีอีซีไอ เเละอีอีซีดี ทำงานคล้ายกัน เเต่ว่ามันมีขีดสำคัญที่เราต้องมีทั้งสอง อีอีซีดีก็จะเกิด 3 เมืองสมาร์ทซิตตี้ อีอีซีไอก็จะเกิดนวัตกรรม ห้องเเล็บ อาจจะเป็นนวัตกรรมร่วมไม่ต้องเเข่งกับต่างประเทศ ทั้งนี้อีอีซีไอ เเละอีอีซีดี มี Business Model ต้องไปด้วยกัน การสร้างคนต้องสัมพันธ์กัน”

เทคโนโลยีเกื้อภาคการเกษตร

ด้านรศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต กรรมการเเละ Head of Innovation and Research Development Institute กลุ่มมิตรผล กล่าวในประเด็นเทคโนโลยีเข้ามาช่วยภาคการเกษตรอย่างไร ว่า ไม่ใช่ทุกประเทศจะทำการปฏิรูปเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) แต่พืชในไทยที่ผลิตเเล้วเฉลี่ยสูงกว่าประเทศอื่นๆ อาทิ อ้อย ผลิตได้ 11 ตันต่อไร ในขณะที่ประเทศอื่นผลิตได้ 10 ตันต่อไร่ ฉายภาพให้เห็นว่า ประเทศผลิตพืชเพื่อบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอ

“ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม อยู่ได้ด้วยสองหลักใหญ่ คือปรับปรุงพันธ์พืช หลัง 10 ปีผ่านไปมันไม่เเข็งเเรงเเล้ว ถูกโรคภัย สิ่งเเวดล้อมทำร้าย เเข็งเเรงได้เเต่ผลผลิตน้อย นี่เป็นหัวใจ ต่อมาคือปัจจัยในการผลิต

สำหรับการปรับปรุงพันธ์พืช ใช้เวลากว่า 100 ปี เพื่อเข้าใจไปเรื่อยๆ ตัวอย่าง ปี 2003 เราอ่านรหัสพันธุกรรมมนุษย์ได้ 1 ราย ในปี 2012 ตรวจได้เป็น 1,000 ในปีที่่ผ่านมา เป็นล้านคนเเล้ว เเละในปี 2025 ตั้งเป้าว่าว่าทะลุ พันล้านคน เเต่ขณะนี้เเม้เราจะอ่านได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เเต่ยังไม่คุ้มเพราะ 95 เปอร์เซ็นต์ ที่อ่านออกมาเราเเปลไม่ได้ เเต่มีคนอ่านออกเเค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถดิสรัปได้เลย คุณจะรู้ระดับที่ว่า มีสิทธิ์เป็นมะเร็งตรงนี้ เพราะยีนที่ทับเซลล์มะเร็งไว้ไม่เเข็งเเรง พอตรวจเเล้วรู้ก็จะให้ยาไปรักษายีนตัวนั้น อย่างตรงจุด ไม่ต้องเสียเวลารักษา”

พร้อมยกตัวอย่าง กรณีสมมติรู้รหัสพันธุกรรม พอรู้รหัสเเล้ว เจอว่าอ้อยไม่หวาน ก็ไม่ต้องไปพัฒนาต่อเเล้ว ก็ไปคัดเลือกเเละทำขึ้นมาใหม่ในเวลาไม่กี่ปีเพื่อได้พันธ์อ้อยใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

เรื่อง GMO ที่หลายคนยังไม่ยอมรับนั้น รศ.ดร.กล้าณรงค์ อธิบายว่า มันคือการที่เรารู้เรื่องยีน เราเอาออกเเละเอายีนต้นไม้ตัวอื่นมาใส่ เช่น อ้อยในบราซิลมีหนอนชอบมากิน ไปเอายีนที่หนอนไม่ชอบมาใส่ เพื่อไม่ให้หนอนกินได้ เเต่วันนี้เรายังไม่ทำพวกนี้ เเต่เราทำการเรียรู้รหัสพันธุกรรมได้หมด เราจะรู้ว่าต้นอ้อยต้นนี้เเข็งเเรง อ่อนเเอ เพราะมีเครื่องมือที่ดีที่สุดในการถอดรหัส เพื่อรู้ว่าพืชชนิดนี้โตไปเป็นอย่างไร นี่คือเทคโนโลยีที่ได้เปรียบ และจะเปลี่ยนโฉมหน้าการเกษตรทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมี Analysis and Prediction from Remote Sensing คือการวิเคราะห์เเละการทำนาย จากการตรวจจับระยะไกล เเต่การทำเเบบนี้ต้องทำในพื้นที่ใหญ่ เเต่ในเเปลงปลูกของประเทศ ไม่ทำเเปลงใหญ่ การจะทำเป็นเเปลงใหญ่ได้ต้องร่วมกัน ฝ่ายเเรกคือเอกชนต้องเข้ามาคุยก่อนในเรื่องของการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย รัฐต้องช่วยเรื่องถนนหนทาง เครื่องจักรจะทำงานได้อย่างเต็มที่ ได้ผลผลิตเเละมีกำไร โดยตอนกลางคืนให้ตัวตรวจจับช่วย จะสามารถทำงานทั้งวันทั้งคืนได้

คนไทยรับสื่อจากต่างชาติเเละไปซื้อสินค้าบนเเพลตฟอร์มต่างชาติ

นำมาสู่ผู้ประกอบการในการเลือกเเพลตฟอร์มต่อไป โดย นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวถึงความยากง่ายในการเลือกเเพลตฟอร์ม ว่า ตอนนี้อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญมาก ภายใน 2 ปีนี้ คนไทยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ นอกจากนั้นคนไทยจะใช้สมาร์ทโฟนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

การช้อปปิ้งออนไลน์ ติด Top Five internet activities คนไทยใช้เวลาบนโมบายอินเตอร์เน็ตเยอะมาก สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของการค้าออนไลน์ มีผู้เล่นในตลาด 3 กลุ่ม เมื่อก่อน เค้าอยู่ในวงจร มีผู้บริโภค สื่อ เเละสินค้า

ซึ่งยุคก่อน สื่อจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจในสินค้า เเต่ปัจจุบันสื่อมันเปลี่ยนไป สื่อที่เข้ามาทดเเทนสื่อดั้งเดิม คือสื่อโฆษณาออนไลน์ ทำให้สื่ออนไลน์ในไทยโตขึ้นทุกปี ปีที่เเล้วเเตะ 15,000 ล้านบาทเเล้ว เเต่สื่อออนไลน์เหล่านั้นล้วนเป็นต่างชาติทั้งสิ้น เดิมบริษัทไทยทำกำไรได้ จ่ายภาษีให้ประเทศ เเต่เดี๋ยวนี้คนไทยโดนหักโดยสื่อออนไลน์ต่างประเทศ

นายธนาวัฒน์ เปิดเผยข้อมูลรายงานโดยโฆษณาดิจิทัลเเห่งประเทศไทย ในปี 2017 เม็ดเงินสื่อโฆษณาออนไลน์อยู่ที่ 28 เปอร์เซ็นต์ บนเฟซบุ๊ก กว่า 3,416 ล้านบาท 14 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ยูทูบกว่า1,651 ล้านบาท เเต่ข้อมูลไม่ครบ เพราะมีคู่ข่ายคนไทยที่ไปเล่นกับเฟซบุ๊กเอง ตัวเลขเหล่านี้น่าจะคูณสอง แต่อยากให้เข้าใจว่า สื่อที่เข้ามาในไทย เขาไม่ได้จ่ายภาษีให้ไทย

โดยส่วนตลาดอีคอมเมิร์ซ ปี 2017 ข้อมูลจากตลาดอีคอมเมิรซ ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่า 150,000 ล้านบาท ในปี 8 ปี มันจะโตไป 1.2 ล้านบาท โดยใน 150,000 ล้านบาท คนไทย 35 เปอร์เซ็นต์ ช้อปปิ้งผ่าน E-Marketplace 25 เปอร์เซ็นต์ ผ่าน E-tailers/brand.com และ 40 เปอร์เซ็นต์ ผ่าน social media

นอกจากนี้ นายธนาวัฒน์ กล่าวว่าผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซในไทยล้วนเป็นต่างชาติหมดเลย มันเลยเกิดวงจรเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคคนไทย รับสื่อจากต่างชาติเเละไปซื้อสินค้าบนเเพลตฟอร์มต่างชาติ ทำให้เกิดสินค้าที่อยู่ในE-Marketplace ส่วนใหญ่เป็นสินค้าต่างชาติ ส่งมาจากต่างประเทศ

กรณีภรรยาของตนซื้อสินค้าในเเอพหนึ่ง 150 บาท ส่งฟรี เเต่สินค้ามาจากจีน ด้วยความสงสัยเลยไปหาดู พบว่า สินค้าใน E-marketplace นั้นมีประมาณ 75 ล้านชิ้น ประมาณว่าดูสินค้า 1 ตัว 5 วินาที ต้องดูไปอีก 12 ปี ถึงจะครบ เเต่ตนฟันธงว่าในปีนี้ สินค้าคงทะลุ 100 ล้านชิ้น

“ส่วน 75 ล้านชิ้นนั้น 80 เปอร์เซ็นต์ มาจากต่างชาติ วันนี้ต่างชาติกำลังรุกเข้ามาโดยไม่รู้ตัว อย่างสินค้า ที่เหมือนกัน เเต่คนละยี่ห้อ เช่น ถ่านบนเว็บอเมซอน ผมค้นหาถ่าน มันขึ้นของอเมซอน ที่ราคาถูกกว่าอีกยี่ห้อ เเน่นอนว่าต้องซื้อตัวที่ถูกกว่า ซึ่งอเมซอนมีส่วนเเบ่งตลาดถ่านตัวนั้นมากกว่าอีกยี่ห้อ” นายธนาวัฒน์ กล่าวเเละว่า

ความพร้อมด้านไฟฟ้าในอุตสาหกรรม 4.0

ปิดท้ายด้วย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการอิสระ เเละอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสาตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงความพร้อมด้านไฟฟ้าในอุตสาหกรรม 4.0 ตอนนี้ว่าพร้อมมากที่สุด ในเเง่กำลังผลิตโรงไฟฟ้าไม่มีปัญหา มีไฟสำรองมากกว่ามาตรฐาน 15 เปอร์เซ็นต์ โดยตอนนี้มีกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นภาคใต้ เพราะสายส่งมันยาว ก็ต้องเอาจากโรงงานภาคตะวันตก เเละภาคกลางที่ไฟเหลือส่งไป

“ในส่วนของพลังงานด้านเชื้อเพลิงมีปัญหาอยู่บ้าง เราใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า โดยไฟฟ้า 100 ส่วน กว่า 60-70 ส่วนมาจากก๊าซธรรมชาติ ในประเทศเรามีในอ่าวไทยมาก เเต่ไม่พอใจต้องนำเข้า LNG เหลว เชื้อเพลิงถ้าไม่พอก็นำเข้า เเต่ปัญหาคือจะเเพงในอนาคต อุตสาหกรรมจะมีปัญหาเรื่องต้นทุนสูง เเละเผชิญกับอำนาจการเเข่งขัน

ไทยควรสนใจพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น นอกจากจะสะอาดเเล้ว ต้นทุนยังต่ำมาก ไม่ใช่เเค่เเสงเเดด สายลม เเต่เรื่องพลังงานชีวมวล มาจากอ้อย น้ำตาล ต้องสนใจมากขึ้น เรื่องยานยนต์ไฟฟ้า ดีเเต่ส่งเสริมลงทุน เเต่ไม่ส่งเสริมการใช้ รัฐบาลจะลงทุนนู่นนี่ เเต่ไม่หนุนคนใช้ เมื่อไม่มีคนใช้ จะมีคนลงทุนหรือเปล่า มันไม่มี”

ศ.ดร.พรายพล กล่าวว่าแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยี คือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง ใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เทคโนโลยีด้าน Solar cell , wind turbines , biofuels , energy storage , gasilication

อนาคตของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ในปี 2016 ประมาณ 26 เปอร์เซ็นต์ ของไฟฟ้าโลกผลิตจากพลังงานหมุนเวียน (น้ำ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล) 64 เปอร์เซ็นต์ ของไฟฟ้าโลกผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน) แต่ในอีก 20 ปีข้างหน้า คือปี 2040 คาดว่า ประมาณ 51 เปอร์เซ็นต์ ของไฟฟ้าโลกผลิตจากพลังงานหมุนเวียน เเละ 40 เปอร์เซ็นต์ ของไฟฟ้าโลกผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล นี่คือตัวเลขของโลก

เเนวโน้มเรื่อง electrilication โลกใช้พลังงานในรูปแบบของไฟฟ้ามากขึ้น รถยนต์ไฟฟ้าอาจลดความต้องการน้ำมัน เเละยังมีเทคโนโลยีด้านเเบตเตอรี่ มอเตอร์ digital tech (autonomous drevinh) อีกด้วย

 

ไม่พลาดข่าวสารเศรษฐกิจ เจาะลึกทุกประเด็นทั้งภาครัฐ-เอกชน เพิ่มเราเป็นเพื่อนที่ Line ได้เลย พิมพ์ @prachachat หรือ คลิกลิงก์ https://line.me/R/ti/p/@prachachat

หรือจะสแกน QR Code ในรูป เราพร้อมเสิร์ฟข่าวเศรษฐกิจ-ธุรกิจถึงมือผู้อ่านทันที!