มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 22 รำลึกถึงในหลวงร.9 ภายใต้แนวคิด “ภาพแห่งความทรงจำ”

มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 22 ในครั้งนี้ pubat ได้จัดขึ้น โดยมีสำนักพิมพ์ไทยเข้าร่วมงานถึง 389 สำนักพิมพ์ รวมทั้งสิ้น 939 บูธ ภายใต้แนวคิด “ความทรงจำ” ระหว่างวันพุธที่ 18-29 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เชิญชมนิทรรศการความทรงจำ/นิทรรศการภาพถ่าย “๙ สู่สวรรค์คาลัย”/ เสวนาหัวข้อ “๙ วัน ๙ ความทรงจำ ธ สิตอยู่ในใจไทยนิรันด์”/นิทรรศการ 100 Annual Book and Cover Design 2017/นิทรรศการ “ขอบฟ้าขลิบทอง…ส่องทางเรา กวี-ชีวิต-อุชเชนี”/การจำหน่ายของที่ระลึก ที่คั่นหนังสือแห่งความทรงจำ

นางสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) กล่าวว่า โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว เริ่มเข้าสู่ยุค 4.0 การที่จะทำให้ธุรกิจหนังสืออยู่รอดได้ ถือเป็นความพยายามสำหรับกรรมการชุดนี้ เล็งเห็นว่าต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ความทันสมัยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาจับ ซึ่งสิ่งที่จับต้องได้ง่ายและเห็นภาพได้เร็วที่สุดก็คือ “ภาพลักษณ์”

“ภาพลักษณ์ เป็นโจทย์สำคัญที่มอบให้แก่ผู้ออกแบบ มีการออกแบบสัญลักษณ์มาหลากหลายแบบมาก แต่เลือกแบบนี้เพราะตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้งาน ทันสมัย จึงเป็นที่มาของโลโก้ในงานนี้ สำหรับงานในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีบูธของ pubat เน้นการส่งเสริมการอ่าน ส่งเสริมอาชีพ และเรื่องของการอบรมต่างๆ”

นายวิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ กราฟิกดีไซเนอร์ ผู้ออกแบบ Corporate ldentity กล่าวต่อว่า ไอเดียที่จัดทำสัญลักษณ์ของ pubat คือทำให้มีความเรียบง่าย ใช้รูปทรงให้เห็นแล้วจดจำได้ง่าย มีลูกเล่นที่ดูสนุกสนาน วงกลมด้านล่างจะเป็นองค์ประกอบหลักที่เกี่ยวกับหนังสือ หากมองโดยรวมแล้วจะเหมือนคนกำลังนั่งล้อมวงอ่านหนังสืออยู่ จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ pubat ที่ปักอยู่บนเสื้อ กระเป๋าและหมวก มีวางจำหน่ายในงานมหกรรมหนังสือครั้งที่ 22 นี้

นายไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ นักสะสมหนังสือและภาพโบราณ เจ้าของนิตยสาร “วงวรรณคดี” ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ.2490 ได้รับพระบรมราชานุภาพพิเศษเฉพาะหนังสือเล่มนี้ให้จัดพิมพ์ พระราชนิพนธ์ “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องแรกเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ กล่าวเสริมว่า ได้เริ่มสะสมหนังสือมาตั้งแต่อายุได้เพียง 13 ปี ที่บ้านมีห้องสมุดส่วนตัวและมีหนังสือกว่า 30,000 เล่ม ที่เป็นหนังสือเก่า ได้รักษาหนังสือไว้อย่างดีโดยไม่เก็บไว้ในที่ร้อน เพราะจะมีหนอนมากัดกินหนังสือได้ พยายามหมั่นดูแลรักษา

วงวรรณคดีชุดนี้ได้มาจากแผงหนังสือที่สนามหลวงเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ได้มาถึง 30 เล่ม เป็นของเดือนมิถุนายน และมีพระราชนิพนธ์แรกที่พระราชทานเป็นกรณีพิเศษให้แก่นิตยสาร วงวรรณคดี ข้างในหนังสือมีภาพถ่ายโดยฝีมือพระหัตย์ อยู่ในบทพระราชนิพนธ์ที่หาดูได้ยากอีกด้วย

“ในวันจัดงานนิทรรศการครั้งที่ 22 จะนำฉบับจริงมาจัดแสดง ทางสมาคมจะมีการพิมพ์แจก เพราะฉบับเดือน สิงหาคม เป็นหนังสือที่หายากมาก คาดว่านักสะสมยังไม่มี จึงตัดสินใจนำมาเผยเเพร่ เนื่องจากโอกาศพิเศษในครั้งนี้ด้วย” นายไพศาลย์ กล่าว

ด้าน วิบูลย์ เสรีชัยพร ผู้จัดการฝ่ายการตลาดตราไปรษณียากร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พูดถึงงานในครั้งนี้ว่า ไปรษณีย์ไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานมหกรรมหนังสือในทุกๆปีที่ผ่านมา ในงานในครั้งนี้ทางไปรณีย์ไทยได้นำแสตมป์ที่เกี่ยวข้องกับ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นคอลเลกชั่นพิเศษ “ชุดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง รัชการที่ 9” ในปีนี้จะเริ่มจำหน่ายวันที่ 25 ตุลาคม 2560 ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติดังกล่าว

“แสตมป์ชุดนี้จัดพิมพ์จำนวน 3 ล้านชุด มีด้วยกัน 3 รูปแบบ โดยแผ่นแรกเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ขณะทรงแย้มพระสรวล จำนวน 9 ภาพ ราคาดวงละ 9 บาท แผ่นที่2 ภาพเครื่องประกอบที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมโกศ พระยานมาศสามลำคาน และพระมหาพิชัยราชรถ ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พื้นหลังเป็นภาพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทที่ประดิษฐานพระบรมศพ รวม 3 ดวง ๆละ 3 บาท และแผ่นที่ 3 เป็นภาพพระเมรุมาศ 1 ดวง ชนิดราคา 9 บาท ประกอบภาพพสกนิกรร่วมกันจุดเทียนถวายความอาลัย” ผู้จัดการฝ่ายการตลาดตราไปรษณียากร กล่าว

ภายในงานยังมีแสตมป์ต่างๆ ที่หาได้ยากหรือที่เคยออกจำหน่ายมาแล้วแต่มีประชาชนหาซื้อไม่ทัน ทางไปรณีย์ก็ได้นำออกมาจำหน่ายให้ประชาชนได้จับจองเป็นของที่ระลึกอีกด้วย

วีรดา ศิริพงษ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ แบรนด์ carpenter กล่าวต่อว่า ได้นำเศษไม้เหลือใช้ที่มาจากงานประตู หน้าต่าง ซึ่งปกติแล้วจะนำไปทำฟืน แต่ทางเราได้นำมาดีไซน์เป็นของที่อยู่ได้ยั่งยืนแบบที่พระองค์ท่านสอน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการทำที่คั่นหนังสือ ซึ่งความเป็นไม้และเชือกหนังทำให้ใช้แล้วมีความรู้สึกของการสัมผัส ความนุ่มนวล ภาพที่นำมาใส่ในที่คั่นหนังสือทั้ง 3 ภาพนี้เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็นอยู่แล้ว เป็นภาพพระหัตย์ของพระองค์ทำให้มีความรู้สึกเหมือนพระองค์ยังคอยโอบอุ้มเราอยู่

ภาพแรกเป็นภาพที่พระองค์โบกมือทักทายประชาชน บ่งบอกถึงความสามัคคี แบบที่2 ทรงงานแต่นำเอาเฉพาะพระหัตย์ ซึ่งเห็นแล้วว่าท่านทรงเป็นพระองค์ที่งานหนักที่สุดในโลก แบบที่ 3 ภาพที่ท่านน้อมรับดอกไม้จากยายท่านหนึ่งที่นำเอาดอกบัวเหี่ยวๆมาทรงยื่นให้ท่าน ทั้ง 3 แบบนี้ ด้านหลังจะมีเลข ๙ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และมีพระราชดำรัชของในหลวง รัชกาลที่ 9 อยู่ที่แพ็กเกจของทุกรูปแบบ ทั้งนี้ได้จัดทำออกมาจำนวน 9,999 ชิ้นเท่านั้น ราคา 99 บาท จำหน่ายภายในงานเท่านั้น

ด้านนายปิติ อัมระวงศ์ นักออกแบบอิสระ แห่งสตูดิโอ o-d-a กล่าวเสริมว่า ของที่ระลึก ที่คั่นหนังสือ ซึ่งทำมาจากโลหะ ชื่องาน “ความทรงจำ” เวลาที่ต้องใช้ที่คั่นหนังสือก็เพราะเพื่อที่จะจำได้ว่า ได้อ่านถึงหน้าไหน จึงคิดว่าทำที่คั่นหนังสือน่าจะเหมาะเพราะเป็นมหกรรมหนังสืออยู่แล้ว และรูปทรงที่เป็นไอคอนทุกคนจะคุ้นเคยอยู่แล้วเกี่ยวกับในหลวง ซึ่งได้นำ กล้องที่พระองค์ทรงใช้ถ่ายเวลาทำงาน สุนัขทรงเลี้ยง และรถยนต์ของท่าน จึงได้เสนองานออกมาเป็น 3 รูปแบบ วิธีใช้งานก็เพียงแค่เหน็บเข้าไปเพียงเท่านั้น ทางด้านหลังจะมีพระราชดำรัชของในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกด้วย

นอกเหนือจากที่กล่าวมาเเล้ว ภายในงานยังมีสำนักพิมพ์ที่ทำเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกมากมาย และผู้เข้าชมจะได้ร่วมรับฟังเสวนาในหัวข้อ “๙ วัน ๙ ความทรงจำ ธ สถิตอยู่ในใจไทยนิรันดร์” โดยผู้มีชื่อเสียงในสาขาต่างๆ จะมาร่วมพูดคุยบนเวทีเอเทรียม ทุกวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. พร้อมร่วมสนับสนุนของที่ระลึก ที่คั่นหนังสือ ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายจะมอบให้กับ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อสมทบทุนอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา