อัพเดต 1 ปี ESG Symposium เอสซีจีเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างไร

อัพเดต 1 ปี ESG Symposium เอสซีจีเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างไร

ครบรอบ 1 ปี ESG Symposium 2023 เอสซีจียืนยันมีการเดินหน้า ใช้วิธีปรับแนวคิด ทำงานแบบบูรณาการเป็นหัวใจหลัก วางเป้าหมายร่วมกัน-แบ่งปันสื่อสาร-ลงหน้างานจริง

วันที่ 20 กันยายน 2567 นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวถึงการดำเนินการของ ESG Symposium 2023 ว่า การเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำไม่เพียงช่วยบรรเทาความรุนแรงของวิกฤตโลกเดือด แต่ยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและประเทศ

โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจขาลง ตลาดแข่งขันสูงจากสินค้านำเข้าจากจีน การบังคับใช้มาตรการ CBAM ที่จะกระทบต่อภาคการผลิต นำเข้า และส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอน จึงต้องเร่งเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยวิธีการอื่น ๆ

จากการระดมสมองของผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 ชีวิตในปีที่ผ่านมา จึงได้ข้อสรุปวิธีการทำงาน คือ การเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำผ่านการปรับวิธีคิด ทำงานแบบบูรณาการ

3 หัวใจหลัก ปรับวิธีคิด ทำงานแบบบูรณาการ

1) เป้าหมายร่วมกัน (Same Goal) คือเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำตาม NDC Roadmap (แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ)

ADVERTISMENT

2) แบ่งปันสื่อสาร (Open Communication) พูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ตรงไปตรงมา เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ ที่พบระหว่างการทำงาน

3) ลงหน้างานจริง (Hands-on) ให้เข้าใจสถานการณ์ ข้อจำกัด และความต้องการของอีกฝ่าย แล้วนำมาปรับวิธีทำงานให้ตอบโจทย์เป้าหมายร่วมกันได้ดีที่สุด ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น

ADVERTISMENT

ในส่วนของความคืบหน้าของ ESG Symposium ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศให้เป็นปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

ส่งเสริมเกษตรกรมีอาชีพ-รายได้เพิ่มด้วยการปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน สนับสนุนการทำนาเปียกสลับแห้ง ลดใช้น้ำใช้ปุ๋ย และลดคาร์บอน ผลักดันการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านการขยายผลตาลเดี่ยวโมเดล

รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะ ถังขยะเปียกลดโลกร้อน เสริมแกร่งเครือข่ายป่าชุมชน 38 แห่ง แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตชุมชน ต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ติดตั้ง Solar Carport ที่ศูนย์ราชการ จ.สระบุรี ซึ่งจะขยายผลสู่หน่วยงานอื่นต่อไป ส่งเสริมความรู้ SMEs เปลี่ยนธุรกิจสู่คาร์บอนต่ำ ผ่านโครงการ Go Together

สำหรับบางโครงการแม้ยังมีข้อติดขัด แต่ก็เดินหน้าร่วมกันปลดล็อกให้การทำงานติดสปิดเร็วขึ้น อาทิ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) รองรับการเปิดเสรี ซื้อขายไฟฟ้าพลังงานสะอาด หรือการสนับสนุน SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน (Green Finance) ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ธรรมศักดิ์ได้กล่าวถึงการจัดงาน ESG Symposium 2024 ภายใต้ธีม Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส โดยนำข้อเสนอจากการหารือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 ด้านสำคัญ ได้แก่

1) Saraburi Sandbox โมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย

2) Circular Economy การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าสูงสุด

3) Just Transition การสนับสนุนทรัพยากรแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน

4) Technology for Decarbonization การพัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

5) Sustainable Packaging Value Chain การจัดการแพ็กเกจจิ้งทั้งระบบอย่างยั่งยืน มานำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อร่วม-เร่ง-เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เร็วขึ้นกว่าเดิม