สปส. แจงสิทธิผู้ประกันตนที่ประสบอันตราย-ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจงสิทธิช่วยเหลือผู้ประกันตนทุกมาตราที่ประสบอันตรายหรือได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยมีกองทุนเงินทดแทนพร้อมดูแล กรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน และกองทุนประกันสังคมพร้อมให้การดูแล ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 เช็กได้ที่นี่

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในหลายพื้นที่ของประเทศไทย สำนักงานประกันสังคม พร้อมช่วยเหลือผู้ประกันตนทุกมาตราที่ประสบอันตรายหรือได้รับผลกระทบ โดยแจงรายละเอียด ดังนี้

กรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน

มีกองทุนเงินทดแทนพร้อมดูแล

กรณีบาดเจ็บ

ค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 65,000 บาท กรณี รพ.รัฐจ่ายตามความจำเป็นจนสิ้นสุดการรักษากรณี รพ.เอกชนสูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท

ค่าทดแทนรายเดือน กรณีที่ต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์จ่ายไม่เกินหนึ่งปี ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน

กรณีสูญเสียอวัยวะ/สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 10 ปี

ADVERTISMENT

กรณีทุพพลภาพ

ได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดชีวิต

กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

ภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

ADVERTISMENT

กรณีตายหรือสูญหาย 

ค่าทดแทน ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน ให้กับผู้มีสิทธิเป็นระยะเวลา 10 ปี

ค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท

เงินบำเหน็จ กรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

มีกองทุนประกันสังคมพร้อมให้การดูแล

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ภายใน 72 ชั่วโมง อัตราตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์

กรณีตาย ค่าทำศพ 50,000 บาทเงินสงเคราะห์กรณีตาย

– จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ได้รับอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง 4 เดือน

– จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ได้รับอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง 12 เดือน

– บำเหน็จชราภาพ

กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้

– กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต

– กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด

กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (เฉพาะผู้ประกันตน ม.33)

ผู้ประกันตนที่ถูกสั่งให้หยุดงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เนื่องจากนายจ้าง สั่งปิดสถานที่จากเหตุแผ่นดินไหว (นายจ้างมีหนังสือรับรองการให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง) ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วัน

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ประสบอันตราย หรือได้รับผลกระทบ

กองทุนประกันสังคมพร้อมให้การดูแล โดยมี 3 ทางเลือก

กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย

– นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

– ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 30 วันต่อปี)

– นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

และ

– นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

– ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 30 วันต่อปี)

– นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

หรือ 

– ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 90 วันต่อปี)

กรณีทุพพลภาพ

– ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน 500 – 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 15 ปี

– ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน 500 – 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 15 ปี

– ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน 500 – 1,000 บาท ตลอดชีวิต

กรณีตาย

– ได้รับเงินทำศพ 25,000 บาท (รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต)

– ได้รับเงินทำศพ 25,000 บาท (รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบ ครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต) รับบำเหน็จชราภาพ

– ได้รับเงินทำศพ 50,000 บาท รับบำเหน็จชราภาพ

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 โทรฟรี (24 ชั่วโมง) และศูนย์ประสานงานการให้ความช่วยเหลือฯ สปส. หมายเลข 02-956 2923-27 รวมทั้งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ จังหวัด และสาขาทั่วประเทศ