คิดแบบ “มอนเดลีซ” บริหารพนักงานด้วยความสุของค์กร

มอนเดลีซ

Harvard Business Review รายงานว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ไม่ประสบความสำเร็จมักเชื่อว่าการทำให้องค์กรของตนได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยมคือการโฟกัสไปที่การให้ผลประโยชน์ด้านการเงินกับพนักงานเท่านั้น

แต่ทว่าแนวคิดเช่นนี้คงใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะจากข้อมูลการศึกษาวิจัยของบริษัทที่ปรึกษาการ์ตเนอร์ระบุว่า ผลตอบแทนด้านตัวเงินไม่มีผลต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร เพราะพนักงานให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของตนต่อบริษัทมากกว่า

ดังนั้น กลยุทธ์ด้าน “คน” ที่ดีต้องมีความยืดหยุ่น และเน้นการสร้างความสุข ซึ่งเหมือนกับ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการผลิตขนม และของว่างชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งสร้างทีมให้เกิดความผูกพัน เชื่อมโยงกัน มีความหลากหลาย

ทั้งยังเน้นสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ขับเคลื่อนเสาหลัก Made the Right Way ในด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการพัฒนาความยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน

รางวัล

จากผลการดำเนินงานด้านคนของมอนเดลีซ จึงทำให้องค์กรคว้ารางวัลด้านเอชอาร์มากมาย ได้แก่ รางวัล Excellence in Workplace Wellbeing ระดับ Gold จากเวทีสากล HR Excellence Awards 2023, รางวัล Excellence in Diversity, Equity and Inclusion ระดับ Bronze จากเวทีสากล HR Excellence Awards 2023 และรางวัลสาขา Best Women Leadership Program จากเวที Employee Experience Awards 2023

ADVERTISMENT

บรรลุเป้าหมาย 3 ด้าน

นอกจากนั้น บริษัทยังบรรลุเป้าหมาย 3 ด้าน คือ หนึ่ง Quality & Dept of Talent สอง Women in Leadership และสาม Employee Engagement โดยคะแนนจากผลสำรวจความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมของพนักงานเพิ่มขึ้นจาก 79% ในปี 2564 เป็น 83% ในปี 2565

วศินี ฉัตรมานพ
วศินี ฉัตรมานพ

“วศินี ฉัตรมานพ” ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท มอนเดลีซอินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทมุ่งสร้างวัฒนธรรมที่พนักงานเป็นศูนย์กลาง และมีส่วนร่วม (engaged culture) พร้อมกับมุ่งสร้างองค์กรที่ก้าวทันสู่ยุคดิจิทัล (digitized enterprise) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมที่ดีในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อพนักงานแต่ละคนมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ADVERTISMENT

“มอนเดลีซจึงเน้นยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน โดยจัดตั้ง Smile Club ซึ่งเป็นทีมพิเศษที่มีตัวแทนจากทุกแผนกในองค์กรมาร่วมกันจัดกิจกรรมที่มุ่งสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และต้องเป็นกิจกรรมที่มาจากความต้องการของพนักงานจริง ๆ ทั้งยังต้องตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย”

ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ Smile Club จัดขึ้น จึงให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็น ได้แก่ ร่างกาย (body) จิตใจ (mind) และความสัมพันธ์ (connection) ซึ่งเรียกโดยรวมว่า The Right You ดังตัวอย่างต่อไปนี้

The Right Body-มุ่งดูแลความปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาพร่างกายของพนักงานให้แข็งแรง เช่น ช่วยออกค่าใช้จ่ายอุปกรณ์กีฬา ค่าสมาชิกของสถานออกกำลังกาย หรือแม้แต่เก้าอี้ทำงานที่บ้านต้องเหมาะสมกับสรีระร่างกาย พร้อมกับจัดคลาสโยคะ และการนวดไทยให้

The Right Mind-มุ่งสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจ และเชื่อมั่นในแนวคิด work-life harmony ผ่านการจัดกิจกรรม Mental Health Talk ที่มีผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้เรื่องเคล็ดลับการดูแลสุขภาพจิต วิธีการป้องกัน office syndrome อีกทั้งยังมี employee assistance program ซึ่งเป็นบริการสายด่วนปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่จำกัดเพียงพนักงาน แต่ครอบคลุมถึงสมาชิกภายในครอบครัวด้วย

The Right Connection-มุ่งสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานกับผู้คนรอบข้าง ผ่านกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เช่น กิจกรรมจิตอาสาร่วมปลูกต้นไม้ 300 ต้นในสวน 15 นาที ณ ชุมชนตลาดแสงจันทร์, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะอย่างถูกวิธีแก่เยาวชนในโครงการโรงเรียนรักษ์โลก, การแยกขยะลุ้นโชคกับมอนเดลีซ (Trash Right) ร่วมกับ กทม., กิจกรรม “ปันกัน” ด้วยการบริจาคของเพื่อประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น

ยืดหยุ่นในการทำงาน

“วศินี” กล่าวด้วยว่า บริษัทยังมอบความยืดหยุ่นในการทำงานแก่พนักงานมากขึ้น โดยสามารถเลือกทำงานที่บ้านถึง 2 วันต่อสัปดาห์ และสนับสนุนให้นัดประชุมในช่วงเวลางาน 09.00-18.00 น. นอกจากนั้น พนักงานไม่จำเป็นต้องตอบอีเมล์ในวันเดียวกัน หากได้รับอีเมล์หลังเวลาเลิกงาน ตั้งแต่ 18.00 น.เป็นต้นไป

และพนักงานจะได้รับเวลาชดเชยหากมีการขอความช่วยเหลือที่จำเป็นในช่วงนอกเวลางาน หรือต้องเข้าร่วมประชุมกับทีมงานประเทศอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างเรื่อง time zone

มอนเดลีซยังเชื่ออีกว่าการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กรคือ การให้พนักงานรู้สึกเป็นที่ยอมรับ มีส่วนร่วม จึงสนับสนุนความหลากหลาย และการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมครอบคลุมทุกระดับ จากระดับพนักงานหรือบุคคล ไปจนถึงระดับองค์กรและชุมชน ดังนี้

ระดับพนักงานในขั้นตอนการเลือกพนักงาน บริษัทมีการอบรม License to Hire-เวิร์กช็อปสำหรับพนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่าการสัมภาษณ์คัดเลือกบุคลากรจะเป็นไปอย่างไม่ใช้อคติ หรือความลำเอียง พร้อมมีการดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้สัมภาษณ์ และผู้สมัครงาน มีความหลากหลายทางเพศและภูมิหลัง

“และเมื่อพนักงานทุกคนร่วมงานกับเราแล้ว บริษัทจะทำให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนเรื่องการทำงาน และความก้าวหน้าอย่างเท่าเทียม พนักงานทุกท่านจะได้รับการสื่อสารเรื่อง career launch pad ซึ่งเป็นความรู้แบบองค์รวมว่าพนักงานจะต้องปฏิบัติงานอย่างไร และเพิ่มพูนทักษะส่วนใดบ้าง เพื่อความก้าวหน้าในงานหรือตำแหน่งที่สูงขึ้น”

ระดับหัวหน้างาน มี strategic talent review หรือการพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและความสำเร็จแก่พนักงานทุกคนในทีมของเขา เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานได้รับการประเมินประสิทธิภาพการทำงานจากศักยภาพและผลงานที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวกับเพศหรือพื้นเพภูมิหลังที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง และระดับองค์กร มีประเภทของวันลาที่สนับสนุนความหลากหลาย ลาคลอด การลาวันเกิด การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรและบุตรบุญธรรม รวมถึงให้สิทธิเดียวกันกับคู่รักเพศเดียวกันด้วย

ที่สำคัญ มอนเดลีซมี DE&I Committee กลุ่มผู้นำระดับภูมิภาคที่มุ่งส่งเสริมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความหลากหลาย และความเท่าเทียมภายในองค์กร ทางกลุ่มได้จัดกิจกรรมต่าง ๆเพื่อโปรโมตและเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องของความเท่าเทียม มีการเก็บข้อมูล และมุ่งให้องค์กรมีความหลากหลายทางเพศ รวมไปถึงสนับสนุนสื่อโฆษณาที่มีภาพประกอบของ same-sex partners เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมี women’s mentoring circle กิจกรรมให้ผู้นำหญิงที่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงขององค์กรมาพูดคุยกับพนักงานผู้หญิง เพื่อสร้างเครือข่ายในการพูดคุยให้คำปรึกษาที่พนักงานผู้หญิงสามารถสอบถามและได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดเรื่องการเติบโตก้าวหน้าในการทำงาน

“วศินี” กล่าวถึงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของมอนเดลีซ ในครึ่งปีหลังของ 2023 และ 2-3 ปีข้างหน้าว่า บริษัทจะเพิ่มแนวทางหลายด้าน ดังนี้

หนึ่ง deep & diverse talent with growth mindset : สร้างทีมงานที่มีทักษะที่เชี่ยวชาญ และหลากหลาย และมีทัศนคติที่ต้องการการพัฒนาและเติบโต โดยจะสนับสนุนการสร้างบุคลากรเหล่านี้ รวมไปถึงการสร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนรู้สึกเป็นฟันเฟืองหลักที่ขับเคลื่อนองค์กร

สอง future forward growth capabilities : สนับสนุนและสรรหาการอบรม องค์ความรู้ และสร้างทักษะใหม่ ๆ ที่จะรองรับการทำงานระบบต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัลและก้าวไปสู่อนาคต

สาม innovation & engaged workplace : สรรหาเครื่องมือการทำงานที่ช่วยให้มีประสิทธิภาพการทำงานดียิ่งขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยี VR (virtual reality) มาใช้ในการแนะนำบริษัทแก่พนักงานใหม่ หรือที่เรียกว่า VR onboarding เพื่อมอบประสบการณ์ทัวร์ออฟฟิศที่ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง โดยเราจะเริ่มให้พนักงานใหม่ทดลองใช้ในปี 2566 นี้

ณัฐณี เกษมรัฐกุล
ณัฐณี เกษมรัฐกุล

“ณัฐณี เกษมรัฐกุล” หัวหน้าฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า หนึ่งวัฒนธรรมที่เราภูมิใจคือ วัฒนธรรมการชื่นชม และขอบคุณ เรามี The Bravos ซึ่งเป็น eCard ในแพลตฟอร์มของบริษัทที่พนักงานของแต่ละท่านสามารถเขียนชื่นชม ขอบคุณเพื่อนร่วมงาน และ eCard นี้จะแสดงให้ทั้งหัวหน้างาน และเพื่อน ๆ ได้รับทราบไปพร้อมกัน โดยในระยะเวลาครึ่งปีที่ผ่านมา มีการส่ง eCard ผ่านโปรแกรม The Bravos ไปแล้วกว่า 100,000 ฉบับทั่วโลก

“นอกจากนั้น เรายังจัดให้มี Flexible Benefits Program โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งเพื่อให้พนักงานนำไปใช้จ่ายซื้อของตามความชอบหรือความสนใจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ตั๋วเครื่องบิน คอร์สออกกำลังกาย คลาสเรียนเต้น หรือประกันสำหรับลูกน้อย เป็นต้น”

ทั้งนี้เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวสะท้อนความเชื่อของมอนเดลีซว่า พนักงานคือทรัพยากรสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้