ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภา
อดีตนักการเมืองที่เคยมีอำนาจคุมกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)สธ.ออกมาโจมตีรัฐบาลว่าบริหารโครงการ
30บาทผิดพลาด ระบุว่างบแยะ คนไข้พุ่ง สุขภาพประชาชนแย่ เหมือนกับตนเองเท่านั้นที่บริหารโครงการได้ดี คนอื่นไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของโครงการ30บาท
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สวนทางกับสำนักข่าว Bloomberg ที่จัดอันดับสุขภาพของประเทศต่างๆในโลกเมื่อ19กย.2018ปีนี้เอง อันดับประเทศไทยปีเดียวสูงขึ้นถึง14อันดับ จากอันดับ41ขึ้นสู่อันดับ27 สูงกว่าประเทศมาเลเซียที่อยู่อันดับ29(ลดจาก22) สูงกว่าเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรียและสูงกว่าประเทศต้นแบบคืออังกฤษที่ประเทศไทยใช้เป็นแบบอย่างของโครงการ30บาทเสียอีก(อังกฤษมีอันดับที่35 ลดลง14อันดับจากปีก่อนที่อันดับ21) โดยมีฮ่องกงเป็นอันดับ1และสิงคโปร์ตามมาเป็นอันดับ2 โดยมียักษ์ใหญ่สหรัฐตามมาอันดับ54 เกือบสุดท้ายลดจากอันดับ50ในปีก่อน
การจัดอันดับคัดกรองจาก56ประเทศที่มีอายุประชากรเฉลี่ย70ปีขึ้นไป GDPper capita เกิน5,000USD และประชากรตั้งแต่5ล้านคนขึ้นไป การจัดอันดับใช้ตัวชี้วัดจากEfficiency score,Life expectancy, Relative cost(%)และAbsolute cost(USD)
ประเทศไทยมีอันดับก้าวกระโดดมากที่สุดในรอบปี โดยที่การใช้จ่ายต่อหัวลดลงถึงร้อยละ40 เหลือเพียง219USD ขณะที่อายุคาดการณ์หรือLife expectancyเพิ่มขึ้นเป็น75.1ปี Efficiency scoreเท่ากับ 51.9 และRelative costที่3.8%โดยที่Medical Tourismเป็นอุตสาหกรรมที่โตเร็วที่สุด
กมธ.สธ.ไปดูงานมาหลายประเทศ ทุกแห่งล้วนแต่กล่าวขวัญถึงประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะไม่สมบูรณ์แบบ100%
แม้จะมีการท้วงติงว่ารัฐบาลจัดสรรงบประมาณน้อยเกินไปสำหรับโครงการนี้ แต่รัฐบาลนี้ก็เพิ่มงบประมาณบัตรทองให้ทุกปี ปี2558 ได้ 2,895.09บาทต่อคนต่อปี เท่ากับปีงบประมาณ 57 ส่วนปี2559 ได้3,028.94 บาทต่อคนต่อปี ปี2560ได้3,109.87บาท ปี2561ได้3,197.32 บาท และปี2562ได้3,426.56บาทต่อคนต่อปี แม้รัฐบาลจะเห็นความสำคัญของโครงการบัตรทอง เพิ่มงบประมาณขึ้นทุกปี รวมทั้งการอนุมัติงบกลางปีที่สธ.เสนอขอไป แต่จากการที่ผู้ป่วยสูงอายุที่เพิ่มขึ้น การเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อหรือNCD ซึ่งเป็นปัญหาของทุกประเทศ อัตราเงินเฟ้อ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ จึงต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆโดยเฉพาะองค์การอนามัยโลกหรือสถาบันที่มีชื่อเสียง เช่น
Bloombergดังกล่าว(Sources: World Bank, World Health Organization, UN Population Division, International Monetary Fund, Hong Kong Department of Health, Taiwan Ministry of Health and Welfare
Notes: Total health expenditure generally includes preventive and curative health services, family planning, nutrition activities and emergency aid; Relative cost is measured by total health expenditure as a percentage of GDP and absolute cost is the simple per capita total health expenditure in nominal dollar terms; Data as of 2015 for all economies except for Hong Kong and Taiwan in which case 2014 data was used)
โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง เป็นโครงการที่ดี ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐฯโดยไม่เสี่ยงต่อการล้มละลายหรือหมดเนื้อหมดตัวเมื่อเจ็บป่วย แม้สากลจะถือเป็นการลงทุนไม่ใช่ภาระของรัฐฯแต่การควบคุมงบประมาณก็ยังมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืน แนวทางการปฏิรูประบบการเงินการคลังตามยุทธศาสตร์ชาติมีความชัดเจนว่าจะเป็นแบบขนมชั้น คือมีBasic packageและมีการร่วมจ่ายจากประชาชนที่จ่ายได้โดยไม่กระทบผู้ยากไร้ที่ได้รับความคุ้มครองตามรธน. สุขภาพของปชช.จะดีขึ้นได้ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งตัวปชช.เอง ความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพ การไม่ก่อมลพิษจากสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมป้องกันโรค และการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน ครับ