‘หมอธีระวัฒน์’ เปิดวิธีรับมือ ‘ฝุ่นพิษ’ แนะกลุ่มเสี่ยงใส่หน้ากาก N95

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” เรื่องหน้ากาก N 95 และฝุ่นพิษ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1)ก่อนออกนอกตัวอาคาร ตรวจสอบสภาพอากาศฝุ่นผิดจากแอพพลิเคชั่นที่สามารถระบุสถานที่พื้นที่ที่จะไป และระบุเวลาได้ เช่น Airvisual แต่เป็นภาษาอังกฤษ บอกได้ทั่วโลกรวมทั้งบอกอุณหภูมิความชื้นของอากาศและสภาพลม

2)ระดับความรุนแรงนั้นถ้าเป็นตั้งแต่ระดับสี่ขึ้นไปจะอันตรายโดยต้องเริ่มใส่หน้ากาก N95 โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคทางเดินหายใจ โรคปอด โรคหลอดลมภูมิแพ้หรือหอบหืด โรคหัวใจ นอกจากนั้นยังรวมถึงเด็กเล็กและผู้สูงอายุและคนท้อง

อย่างไรก็ดีผู้ที่จะต้องใส่หน้ากากเหล่านี้ จะเป็นคนที่ใส่แล้วอึดอัดที่สุด ดังนั้นต้องวางแผนให้ดีว่าจะออกอยู่นอกตัวอาคารนานเท่าไร และรีบกลับเข้าตัวอาคาร

3)ความรุนแรงในระดับที่สูงขึ้นคือห้าและหกจะกระทบคนทุกคน รวมกระทั่งถึงมีอาการระคายเคืองเยี่อบุตา จมูก ด้วย ซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้องแจ้งเตือนพื้นที่อันตราย

หน้ากาก N95 เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสั่งจากต่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายในการป้องกันเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กแต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ป้องกันตัวจากฝุ่นละอองขนาดจิ๋วเหล่านี้ได้ ยกตัวอย่างเช่นฝุ่นละอองจากภูเขาไฟระเบิด

ถึงแม้จะมีราคาแพงประมาณ 100 บาทแต่สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างน้อยถึง 14 วันทั้งนี้โดยต้องตรวจอุปกรณ์คือขดลวดบริเวณดั้งจมูกแรกที่ครอบบริเวณแก้มรวมกระทั่งถึงหน้ากากต้องคลุมมิดชิดหน้าและคางในกรณีที่หน้ากากไม่ฟิตกับใบหน้าอาจเสริมด้วยผ้าก๊อซบางจุดได้

ฝุ่นละอองจิ๋วเหล่านี้นำพาสารอันตรายเข้ามาสู่ร่างกายได้โดยตรงถึงกระแสเลือดดังนั้นก่อให้เกิดอันตรายรวมกระทั่งถึงมะเร็ง และต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยมีการใช้สารเคมีพิษฆ่าหญ้าฆ่าแมลงและสารกันบูดกันเสียอย่างรุนแรงจนกระทั่งปะปนเข้าไปในอาหารพืชผักผลไม้และน้ำ ดังนั้นไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมคนไทยถึงเป็นโรคกันมหาศาลทั้งโรคมะเร็งโรคตายและโรคสมอง