
เปิดขั้นตอนเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หลังโซเชียลแห่แชร์ “สมัครน้อย” พร้อมสะท้อนปัญหาชื่อซ้ำในสังคมไทย
วันที่ 21 มกราคม 2565 มติชนรายงานว่า มีการพบเด็กนักเรียนอายุ 11 ปี ใช้ชื่อและนามสกุล “สมัคร สุนทรเวช” เหมือนชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ล่วงลับ
โดยพ่อแม่ของเด็กเปิดเผยว่า ที่ตั้งชื่อลูกเหมือนชื่อของอดีตนายกฯ เนื่องจากช่วงที่ลูกชายเกิด นายสมัครได้เสียชีวิตไปแล้ว 2 ปี ด้วยความชื่นชอบจึงตั้งชื่อหลานชายว่า ด.ช.สมัคร สุนทรเวช และตั้งชื่อเล่นว่า ป๋า เผื่ออนาคต จะได้เป็น ป๋าหมัก เหมือนนายสมัคร สุนทรเวช
อย่างไรก็ตาม แม้ข่าวนี้จะดูเป็นข่าวสีสัน แต่ด้านหนึ่งการตั้งชื่อซ้ำกับคนดังก็กลายเป็นปัญหาที่นำความเดือดร้อนมาสู่คนที่ไม่รู้อิโหน่อิแหน่ในหลายกรณี เช่น
ย้อนไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 มติชนรายงานว่า นางสำลี ทองดี อายุ 73 ปี ถูกบุคคลนำหมาย-เอกสาร-โฉนดที่ดิน มาแสดงตนว่าเป็นเจ้าของบ้าน-ที่ดินรายใหม่ หลังได้ซื้อจากการประมูลจาก ยึดบ้านบนที่ดินนำไปขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ส่งผลให้ครอบครัวยายทั้ง 7 คนจะต้องย้ายออกไป
ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการพบบุคคลชื่อ-นามสกุลเดียวกัน อายุประมาณ 55-60 ปี แต่มีสำเนาทะเบียนบ้านอยู่ที่ ม.2 บ.หนองไผ่ ในตำบลเดียวกัน ได้ไปยืมเงินนายทุนที่ อ.คอนสาร จำนวน 40,000 บาท เพื่อไปทำไร่อ้อย ก่อนจะใช้หนี้คืนไป 10,000 บาท และไม่ได้ใช้หนี้อีกเลยและได้ย้ายไปทำงานที่ต่างจังหวัดกว่า 20 ปี
ซึ่งญาติของนางสำลีมองว่า ทางหน่วยงานราชการทางด้านกฎหมาย เกิดความผิดพลาดรุนแรงขนาดนี้ขึ้นมาได้อย่างไร ?
ที่ดินที่เป็นที่ของต้นตระกูล ที่เคยอาศัยอยู่กันมานับร้อยปี อย่างมีความสุข จะนำกลับคืนมาได้หรือไม่ จึงอยากขอร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยดำเนินการตรวจสอบให้ถูกต้องและให้ความเป็นธรรมแก่ครอบครัวคุณยายวัย 73 ปี ในครั้งนี้ด้วย
เปิดหลักตั้งชื่อตามกฎหมาย
หากเปิดดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อบุคคล พ.ร.บ.ชื่อบุคคล 2505 กำหนดไว้ว่า บุคคลสัญชาติไทย ต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล และอาจจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ โดยการตั้งชื่อใหม่มีกฎเกณฑ์อยู่ 4 ข้อ ได้แก่
1.ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
2.ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย
3.ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต
และ 4. ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็น ชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้
ส่วนนามสกุลมีหลักเกณฑ์การตั้งชื่อ ดังนี้
1.ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนาม ของพระราชินี
2.ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนามเว้นแต่ราชทินนาม ของตน ของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
3.ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือ ชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4.ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
และ 5.มีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนาม เป็นชื่อสกุล

เผยขั้นตอนเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
ส่วนขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการทะเบียนชื่อบุคคล 2551 ระบุถึงขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ดังนี้
การเปลี่ยนชื่อ
เอกสารที่ต้องใช้ 1.สำเนาทะเบียนบ้าน 2.บัตรประจำตัวประชาชน และกรณีเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
ขั้นตอนที่ต้องทำ
1.ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2.นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในกรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยน
ชื่อตัวชื่อรอง (แบบ ช.3) ให้เป็นหลักฐาน
3.กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อ
ประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียน ท้องที่
จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่า ธรรมเนียม 50 บาท
4.เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและ หลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
ส่วนนามสกุล
เอกสารที่ต้องใช้ 1.สำเนาทะเบียนบ้าน 2.บัตรประจำตัวประชาชน กรณีบุคคลต่างด้าวใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
ขั้นตอน
1.ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2.นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
3.กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบ