SMEs เชิงสร้างสรรค์ ปลุก “นักออกแบบ” สร้างผลิตภัณฑ์ เติบโตด้วย Designer Creation 4D

SMEs เชิงสร้างสรรค์ ปลุก “นักสร้าง-นักออกแบบ” สร้างผลิตภัณฑ์เติบโตด้วย Designer Creation 4D

5 มี.ค. 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการสร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2561” เพื่อเป็นการสร้างปัจจัยเอื้อต่อการกระตุ้นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลด้านการออกแบบ พร้อมเดินหน้าผนึกกำลังพันธมิตรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านโครงการพัฒนาผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมสร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design) , กิจกรรมการสร้างนักออกแบบ Co-Design เพื่อพัฒนาแบรนด์สู่สากล กิจกรรมการสร้างนักออกแบบในอุตสาหกรรมแฟชั่น และกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพนักออกแบบผลิตภัณฑ์สู่สากลในรูปแบบ Academy

นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่า ให้กับประเทศสูงถึง 1.61 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กสอ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างเสริมประสิทธิภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย โดยร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำของประเทศมาผนึกกำลัง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสถาบันพัฒนา , อุตสาหกรรมสิ่งทอ, สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม , บริษัทกันตนากรุ๊ปจำกัด(มหาชน)

โดยกิจกรรมการสร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์หรือ Designer Creationได้ถูกออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิด Designer Creation 4D ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบในทุกมิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพทั้งเชิงการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย และความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ รองรับความต้องการของอุตสาหกรรม อันประกอบด้วย

-Design ได้แก่การสร้างสรรค์ “งานออกแบบที่ดี”(Quality design) มีคุณภาพ

-Differentiation ได้แก่การสร้างความโดดเด่นและแตกต่างอย่างด้วยนวัตกรรม

-Disruption ได้แก่การพลิกโฉมธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ และ

-Digital ได้แก่การปรับเปลี่ยนกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ให้ก้าวทันยุคดิจิตอล

จากนั้นเหล่ากูรู ได้มาให้ความรู้และเข้าร่วมโครงการในเสวนาพิเศษ Designer Creation 4D หลักการทำ SMEs เชิงสร้างสรรค์ให้ประสบความสำเร็จ

“บัญชา ชูดวง” ผู้เชี่ยวชาญด้านดีไซน์ กล่าวถึงนิยามของคำว่า ดีไซน์ว่า คือความสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ โดยมีหัวใจสำคัญจะมีด้วยกัน 3 ประการ ไอเดีย ตัวตนและตลาด โดยการดีไซน์ไม่มีคำว่าถูกผิด โดยในปัจจุบันโลกแคบลง เเละเร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยี จึงทำให้เกิดคู่แข่งขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งทำให้เราต้องเก่งขึ้นตาม โดยเชื่อว่าคนไทยเรามีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านการดีไซน์ออกแบบไม่แพ้ใครในโลก เพียงแต่ว่าเราขาดการสนับสนุนจากองค์กรใหญ่ๆที่จะเข้ามาผลักดัน

ด้าน “เพ็ชร ประภากิตติกุล” ผู้เชี่ยวชาญด้านบ่มเพาะการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจ ระบุว่า Disruption เป็นการสร้างควาามเชื่อมโยงทั้งหมด ซึ่งตัวนี้เป็นตัวที่ยากที่สุดของ 4D สำหรับกระบวนการทำ Disruption เราต้องเข้าใจว่าในตอนนี้เราต้องการอะไร ต้องมี business Model อย่างไร เเละต้องใส่เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปในตัวผลิตภัณฑ์ ทำผลิตภัณฑ์ให้เป็นตัวของตัวเรา ในขณะเดียวกันต้องรู้จักตลาดด้วย

ดร. ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสิ่งทอและแฟชั่น กล่าวถึง Differentiation
การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ว่าเราควรหยิบวัสดุที่มีในบ้านเรามาประยุกต์ใช้ในการผลิต ซึ่งจะแตกต่างกับของคนอื่น โดยเริ่มต้นตั้งแต่ต้นทางคือวัตถุดิบที่แตกต่าง เช่นใยสัปรด ใยไหมและใยกันชง ถ้าเราทำแบบนี้แล้วเราก็จะสามารถสร้างความแตกต่างได้โดยที่เราไม่ต้องแข่งขันทางด้านราคา และผลิตภัณฑ์ยังมีความเป็นตัวเรา

ด้าน Digital “ไกรวิน วัฒนรัตน์” ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเชิงนวัตกรรมการตลาดออนไลน์
กล่าวว่า เราต้องมองให้กว้างกว่าการตลาด ต้องเชื่อมประสบการณ์ระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน แล้วมองว่าลูกค้าที่แท้จริงของเรานั้นเป็นใคร หากลุ่มเป้าหมายของเราให้เจอแล้วทำให้กลุ่มๆนั้นมีส่วนร่วมกับเราให้ได้ เช่นการออกแบบ การแสดงความคิดเห็นและสิ่งที่สำคัญทำให้เขามาหาเราโดยยังคงสินค้าที่มีความเป็นตัวของตัวเรา

ทั้งนี้ ภายในงานมีนิทรรศการมีชีวิตจำลองจากแบรนด์เสื้อผ้าต่างๆ เช่น แบรนด์ Fulame, แบรนด์ hammer away at,แบรนด์ VANILLA GATE-GALA เเละ Mini Fashion show จากศิลปิน นักแสดง