เฌอปราง เปิดตัว ‘Soft Power’ แฟนคลับแห่ให้กำลังใจแน่นมหกรรมหนังสือ

“เฌอปราง” กัปตันวง BNK48 เปิดตัวหนังสือ ‘Soft Power’ แฟนคลับแห่ให้กำลังใจแน่นมหกรรมหนังสือ

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 10 ตุลาคม ที่อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮออล์ 2 เมืองทองธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เวทีกลาง งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 25 สำนักพิมพ์มติชน จัดกิจกรรมบุ๊คทอล์ก เปิดตัวหนังสือ “Soft Power” ซึ่งเขียนโดย นายสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ หรือ นิ้วกลม นักเขียนชื่อดัง และ เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 มีแฟนคลับถือป้ายไฟ มาให้กำลังใจและยืนรอฟังการสนทนาของศิลปินในดวงใจ แน่นรอบเวที

เฌอปราง กล่าวว่า ดีใจที่หนังสือออกมาแล้ว ตอนเริ่มทำ คาดว่าจะได้ออกตอนต้นปี แต่มีโควิด ช่วงนี้ก็ออกมาให้อ่านแล้ว รู้สึกแปลกเพราะไม่เคยคิดว่าเรื่องของเราจะกลายเป็นหนังสือสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนได้อ่าน ตอนที่เริ่มคือ งง ตอนที่ออกมาแล้วก็สบายใจ พี่เอกเขียนเต็มที่เราได้อ่านอยู่เรื่อยๆ ตอนที่ต้นฉบับปรับแก้ เป็นการกินข้าวไปสัมภาษณ์ไป รู้สึกสนุก เป็นคนที่ต่อคิวเอาลายเซ็นมาก่อน ไม่เคยคิดว่าจะได้เขียน สนุกกง่าที่คิด เหมือนได้เล่นตอนเด็กๆแฟนๆ เยอะมาก ขอบคุณในวันนี้ที่มาหา และเอาหนังสือมาให้เฌอแสตมป์กัน ซึ่งถ้าให้เซ็นอาจจะนานกว่านี้

“หลังจากหนังสือออกไปได้อ่านฟีดแบ๊ก จากแฟนๆ ส่วนตัวสบายใจที่ทุกคนเข้าใจในความเป็นเรา และเห็นด้วยในบางหัวข้อบอกว่าจะเอาไปปรับใช้ในชีวิต ดีใจที่ทุกคนจะได้เต็มที่กับการใช้ชีวิต ที่ประทับใจมากๆ คือตอนที่มีคนมาพูดว่าเขาได้เห็นความเป็นเราตั้งแต่แรกๆ ว่าโตมาอย่างไร เข้าวงการแล้วผ่านไปเป็นอย่างไร อยู่กับเฌอตั้งแต่แรกจริงๆ อาจจะไม่เคยเห็นภาพตอนเป็นเด็กน้อย เป็นเชียร์ลีดเดอร์ ก็ไปค้นมา ดีใจที่แฟนๆ ชื่นชอบกัน ในเล่มนี้มีภาพลับที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ซึ่งบางภาพก็ยังไม่เคยเห็น คุณแม่คนมาให้ คิดว่าน่าจะยังเล่าไม่หมดมานั่งย้อนคิดว่ายังมีเรื่องอื่นๆ ในหัวให้คิดเยอะมาก หรืออาจจะตอบได้ภาษาที่ดีกว่านี้ ชีวิตเรามีอีกหลายด้านให้มอง แต่คือจริง ณ ขณะนั้น เราเป็นอย่างนั้น ได้สะท้อนอะไรหลายๆมุมเพราะ ไม่ได้พูดอยู่คนเดียว พี่เอ๋ก็คุยกลับมาเหมือนกัน” เฌอปราง กล่าว

เมื่อถามว่าในอนาคตอยากทำอะไรออกมาเป็นหนังสือ

เฌอปราง กล่าวว่า อยากทำบันทึก ถ้าทั้งหมดนี้คืออดีต คงเป็นบทอื่นที่อยากเขียน หลายๆคนก็บอกว่าบันทึกไว้นะเดี๋ยวมาทำหนังสือกัน ก็จะพยายามลองดู

“ส่วนตัวเปลี่ยนไปเยอะหลังจากออกหนังสือ 1 ปีได้ ในบริบทนั้น อาจตอบครบแล้ว แต่ถ้าตอบตอนนี้ก็อาจจะได้ดีกว่านี้ เพราะภาษาเขียนของเรา เราชอบเขียนแล้ว แก้อีก ส่วนบทแฟนมีตติ้งก็แก้ เลยเขียนส่งไปก่อนรวดเดียว เขียนก่อนหน้าคืนแสดง และหลังจบการแสดงเป็นอย่างไร ตอนทำเหมือนผ่านการทำงานกับวงมาพอสมควร เราไม่ได้ตื่นเต้นขนาดนั้น จะตื่นเต้นแค่ตอนเริ่มต้น แต่อยู่บนเวทีจะโฟลว์ ความตื่นเต้นหายไป และสนุกกับตรงนั้นมากกว่า

“กว่าจะมาเป็นเฌอ เพิ่งรู้ว่ามันเยอะก็ตอนที่ทุกคนบอก ตอนนั้นเราได้ยินชื่อเสียงเรื่องการเดินธรรมยาตรา ซึ่งเป็นกิจกรรมของโรงเรียน ที่รู้แค่ว่าบังคับ ต้องไปในฐานะเด็กห้องวิทย์ ตอนนั้นเราแบกเป้เดินเอง นอนป่า เปลี่ยนที่นอนทุกคืน แดดก็ร้อน ตอนนั้นอยู่ ประมาณ ม.4-5 ก็เดินเต็มที่ถ้าขาไม่แพลงก็เดินต่อไป จะมาถึงจุดที่ขาระบมพอเดินวันละ 20 กว่ากิโล เจ็บทุกก้าวที่เดิน นั่งแล้วขาชา ไม่รู้สึกถึงขา แล้วเริ่มเดินในวันถัดไปต่อ พอเดินข้ามจุดที่ทรมานมากๆ ก็ไม่ได้กังวลเรื่องขา เดินไปได้เรื่อยๆ จนถึงจุดหมาย โดยไม่ได้รู้สึกแย่

ก่อนหน้านี้จะบอก ‘ถึงสักที เมื่อไหร่จะถึง’ พอวันท้ายๆ เราไม่คิดกับมัน ‘อ้าวถึงแล้วหรอ ดีจังได้พักแล้ว’ เรื่องต่างๆ ในชีวิตก็คล้ายๆ กันหรือป่าว ทำให้ความคิดตกตะกอน มองโลกอีกแบบ รวมถึงได้คุยกับพระอาจารย์ จำเรื่องที่สอนไม่ได้ แต่รู้สึกเย็นไปหมด ด้วยความเป็นเด็ก ตอนนั้นไม่เข้าใจว่าเดินไปทำไม ต้องไปทำจริง ถึงจะรู้ว่าการก้าวผ่านความยากลำบากเป็นอย่างไร อย่าง การที่ซ้อมกับทุกวันก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ทรมาน รู้ว่าคือหน้าที่ ไม่ได้รู้สึกเหนื่อยกับมัน กลับรู้สึกสนุกที่ได้ ครีเอตอะไรใหม่ๆได้ทวนท่าเต้น”

เฌอปรางเปิดเผยด้วยว่า จังหวัดที่ท้อ ไม่อยากทำอะไร เฌออาจจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงมาก ว่าฉันต้องทำ ถ้าไม่ทำคนอื่นเดือดร้อน ก็ต้องทำ ต้องไปต่อ เวลาท้อก็พัก สิ่งที่ทำได้คือนั่งเฉยๆ อยู่ในสภาวะนิ่งๆ ว่างเปล่า ถ้าอารมณ์ดิ่งก็ร้องไห้บ้าง แต่ทุกอารมณ์ที่เหวี่ยง จับได้หมด มีสติ ว่าขณะนี้ร่างกายไม่ไหว อารมณ์เป็นอย่างนี้ เราก็ตัดออก มัธยมทำอย่างนั้น

“พอได้เรียนการแสดง มันไม่ผิดที่เราเหนื่อย เพราะเราทำมาขนาดนี้ ไม่เป็นไรกับตัวเองได้ง่ายขึ้น บางทีไม่คิดมากแล้วนอน แต่เข้าใจคนที่ติดมากไม่ได้นอน งั้นก็คิดไป แล้วอีกวันเธอก็ง่วงนอน’ (หัวเราะ) บางทีเราทำอะไรเพลินๆ จนลืมเวลา เวลาทำไม่เหนื่อย แต่จะเหนื่อยตอนเสร็จแล้ว ตอนทำโฟกัสอยู่ แต่บางทีอาจจะมีความหงุดหงิด แต่ความเหนื่อยจะรู้สึกตัวเมื่อมีคำว่า คัท หรือ เบรก

ด้วยความที่ทำงานเยอะ ทั้งมัธยมและมหาวิทยาลัย ตอนแรกจะไม่ไปทำงานส่วนกลาง แต่เพื่อนเป็นประธานรุ่น เพื่อนบอก ‘เฌอไปทำงานกันเถอะ ‘ได้เพื่อน’ เคมีตรงกัน ไม่มีคนทำงานเลยไปช่วยก็ได้ คือหนึ่งในเฮดที่ทำงานด้วยกันจนจบปี 4”

“เป็นคนขี้ถาม ใช้เวลาให้คุ้ม เป็นคนคอยวางตารางงานตลอดชีวิต หรือนั่งรอว่า พร้อมยัง เราจะเป็นคนไปถาม หนูอยู่เฉยๆ ไม่ได้ อยู่เฉยๆ กลับหงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจ ก็จะใช้วิธีการคุยกัน ทำงานในวงค่อนข้างง่าย เล่นกันจนเข้าใจว่าจังหวะไหนโอเค” เฌอปรางกล่าว

เมื่อถามว่า พูดถึง ‘ซอฟต์ พาวเวอร์’ นึกถึงอะไร

เฌอปรางกล่าวว่า คืออิทธิพลทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อคน ซึ่งเป็นคำที่ดูใหญ่ พลังงานนุ่มนิ่ม พลังซอฟต์ คือการเป็นแรงบันดาลใจ ส่วนตัวโตมากับการ์ตูน ที่ทำให้ค่อยๆ เรียนภาษาญี่ปุ่น รับผิดชอบเพราะอยากดูการ์ตูนตอนเข้า ต้องซักถุงเท้าก่อน แค่นั้นเลย มันคือเด็กที่โตมาด้วยวัฒนธรรมญี่ปุ่น และได้รู้จักไอดอลผ่านการ์ตูน สนใจหุ่นยนต์ จินตนาการ จึงอยากไปญี่ปุ่น เพราะซอฟต์ พาวเวอร์ ที่อยู่รอบๆ ตลอด ทำให้เราเรียนรู้ว่าที่นี่เป็นอย่างไร วัฒนธรรมเป็นอย่างไร ส่วนตัวไม่ได้รู้สึกว่าส่งอะไรออกไป แต่รู้สึกมีความสุขกับการทำงานทดลองเป็นไอดอล มีคนที่ชอบ ความสุขคือฟีดแบ็กที่กลับมา ถึงรู้ว่าเขาได้

เมื่อถามว่าวันที่มาแสตมป์หนังสือ ต่างกับการจับมืออย่างไร

เฌอปรางกล่าวว่า วันที่มาสแตมป์ ต่างตรงที่ไม่ได้สัมผัสมือ วันจับมืออาจะมีหลากหลายอารมณ์และมึนหัวเพราะคนนี้มาร้องไห้ คนนี้มาตลก ปรับอารมณ์ไม่ทัน ถ้าเอ๋อไม่ต้องแปลกใจ แต่ทุกคนอยากได้พลังบวก เฌอพร้อม ณ ขณะนั้นในวันจับมือ ขอบคุณที่อยู่รอกันนานมาก และสแตมป์สนุกมาก ไม่ต้องรับเรื่อง สแตมป์อย่างเดียว วันนี้มีลายใหม่ ไม่เหมือนเดิมด้วย

“ต้องยกเครดิตให้พี่เอ๋ นิ้วกลม และให้ทีมงาน เฌอแค่ ‘แม่คะ ค้นอัลบั้มให้น้อย’ ขอบคุณทั้งพี่โลเล ที่วาดรูป พี่มานี มีใจ ที่ถ่ายภาพ ขอบคุณการขายอย่างสนุกสนานของสำนักพิมพ์มติชนและการตอบทวิตเตอร์แฟนๆ ทำงานกับพี่เอ๋ สนุกมากๆ ด้วยความที่ได้ยินชื่อนิ้วกลมมาตลอด มีหนังสือส่งมาที่บ้าน และรู้จักมานานมากพอสมควร ไม่รู้ว่าวันหนึ่งจะได้รู้จัก และเขียนเรื่องราว คุยสนุกมาก พี่เอ๋ เปิดรับฟัง และสะท้อนมุมมอง ทำให้รู้ว่ามีหลายมุมเมื่อได้แลกเปลี่ยนกับคนละเจน

“ตอนที่เห็นภาพประกอบรู้สึกว่า เท่ จัง ทำให้หนังสือมีความหลากหลาย ตอนนั้นตัดผมด้วย คือลุคพิเศษจะไม่ได้เห็นแล้ว ได้เจอ พี่นามี มีใจ หลายครั้ง ปีแรกๆ ก็ถ่ายกับพี่มานี สบายๆ เป็นตัวเอง พี่บอก ‘เล่นอะไร เล่นเลย’ เฌอก็ ‘อะ กินขนม กินจริง กินหมดด้วย เล่นนู่นเล่นนี่ พี่มานีบอกให้ทำตัวเหมือนอยู่บ้าน เราก็นอน กลิ้ง เวลาอยู่บ้านคือภาพในหนังสือเลย ชอบนอนเลื้อยไปเลื้อยมา สบายดี เป็นแบบนั้นเวลาพักผ่อน มีครั้งนึงนอนเล่มเกมใต้ผ้าห่ม น้องเข้ามา เราคลานไปหา น้องเรียกพะยูน ไม่ฝันว่าจะมีคนชอบในลุคสบายๆ แบบนั้น เฌอเป็นคนธรรมดาจริงๆ มีหลากหลายมุม เหมือนทุกคนที่เราเห็นตามสื่อ อยู่ที่ว่าเราจะได้เห็นเขาในมุมไหนมากกว่า”

“เฌอไม่เคยจับมือไอดอลมาก่อน แต่เปิดเพลงฟังทุกวัน ทำให้รู้สึกล้าก้าวต่อไป ถึงหรือไม่ถึงปลายทาง ข้างๆ คือสิ่งที่ได้ ด้วยความที่ชอบไอดอลรูปลักษณ์แบบนี้ จึงเริ่มต้นตอนเช้าด้วยอะไรที่ดีๆ ช่วงแรกที่ออกจากบ้านไปอยู่หอ ได้ใช้ชีวิตเองจริงๆ ต้องพยายาม ท้อเหนื่อยกับการเรียนบ้าง เพราะวิชายาก แต่เป็นความอยากรู้ เฌออาจะไม่คิดมากเกินไป จบวันนี้ วันต่อไปเริ่มใหม่ อยากให้ทุกคนมีขุมพลังในการฮึดสู้ได้ทุกวัน ถ้าคิดว่าเฌอเป็นหนึ่งในนั้น ก็ดีใจ หาของตัวเองให้เจอ หวังว่าจะก้าวต่อไปอย่างเต็มที่ และมีความสุขในสิ่งที่ทำ ไม่มีอะไรหวังมาก แค่ดำเนินชีวิตแต่ละวันให้ดีที่สุด ถ้าช่วยสังคม ข่วยโลกได้ก็ดี แต่ทำในขอบเขตของเราให้ดีที่สุดก่อน” เฌอปรางกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในตอนท้าย สำนักพิมพ์มติชน เปิดโอกาศให้ผู้โชคดี 5 ท่าน ที่มีคำว่า go go อยู่ตรงที่นั่ง ถามเฌอปรางได้ 1 คำถาม ทั้งนี้ เฌอปรางบอกว่าจำหน้าแฟนคลับ จำได้ว่าติดตามตั้งแต่ซิงเกิ้ลแรกๆ แต่ขออภัยที่จำชื่อใครไม่ได้

โดยแฟนคลับคนแรกถามว่า จากที่ร่วมงานกับพี่นิ้วกลมคำถามไหนที่ไม่ถูกคาดคิดว่าจะถูกถามบ้าง

เฌอปรางกล่าวว่า ลืมไปแล้ว ตอนนั้นคงจะเอ๊ะ แล้วตอบไปเรียบร้อย คงจะเป็นคำถามแรกที่ว่า ข้อเสียของเราคืออะไร ไม่คิดว่าจะเปิดด้วยคำถามนี้ ไม่เหมือนการที่เราได้รับเสียงสะท้อนมาจากเพื่อนๆ มัธยมและมหาวิทยาลัย

คนที่ 2 ถามว่า ตอนที่เขียนหนังสือเล่มนี้ อายุ 23 ปี บวกไปอีก 23 ปีข้างหน้า มองว่าตัวเองจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

เฌอปรางกล่าวว่า ไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ แต่คาดว่าน่าจะได้ทำอะไรอีกเยอะมาก เพราะมีอะไรอยากทำ สบายใจกับน้องที่โตแล้ว แต่มีเรื่องที่อยากทำคือ อยากทำงานไปด้วยเที่ยวไปด้วย เพราะมีแรงบันดาลใจ ชั้นคือครูสอนภาษาอังกฤษ ที่สอนจน ม.6 เขาชอบประเทศไทย และเป็นประเทศสุดท้ายที่มาอยู่ พูดได้ 7 ภาษาเป็นอะไรก็ได้ที่เขาอยากเป็น

“อีก 23 ปี ตอนนั้นอาจจะเที่ยวจนสะใจ ประเทศละ 2-3ปี และกลับมาสร้างบ้านที่อยากอยู่ยาวๆ ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ หวังว่า จะออกกำลังกาย แข็งแรงไว้ก่อนเป็นยอดดี”

คนที่ 3 ถามว่า เวลาที่รู้สึกผิดหวัง มีวิธีดึงพลัง ปลุกไฟ เติมแพชชั่นอย่างไร

เฌอปรางกล่าวว่า ตอนที่ได้เกียรตินิยมอันดับสองก็เซ็ง ม.ปลาย อยากได้ 3.8 ก็ได้ 3.6 มหาวิทยาลัย ขาดไป 0.04 นิดเดียว จะได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ก็แค่คิดว่า แล้วยังไงต่อ จะเป็นอย่างเดิมไหม ดูแล้วปัจจัยอะไรที่เราควบคุมได้ แล้วทำเต็มที่หรือยังปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ผ่านมาแล้ว แล้วต่อไปจะทำอย่างไร จะผิดหวังซ้ำไหม หรือหาทางไปต่อ

คนที่ 4 ถามว่า อยากรู้ว่าคนทั่วไปจะได้อะไรจากการอ่านหนังสือ Soft Power

เฌอปรางกล่าวว่า ได้รู้จักเฌอ และอาจจะมีแฟนคลับเพิ่มก็ได้ ได้เห็นมุมที่ไม่เห็น ถ้าอ่านทั้งหมดหวังว่าจะเข้าใจแนวคิดในสิ่งที่เฌอเป็นมากขึ้น ว่าไม่ได้มีเจตนาร้ายกับใคร

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คนที่ 5 ไม่ได้ถามคำถาม แต่ขอบคุณที่เฌอปรางได้ถ่ายทอดเรื่องราว ถึงอ่านมา ก็ยังชอบอยู่

โดย เฌอปรางกล่าวว่า พี่ต้อม BNK48 คิดว่าเฌอต้องมีหนังสือ และติดต่อกับทางมติชน ได้พี่เอ๋มาเขียน ตอนแรกคิดว่าเอาเรื่องหนูมาเขียนแล้วจะได้อะไร เพราะเป็นเรื่องของคนธรรมดา แต่ถ้าได้อ่านแล้วมีพลัง ก็ดีใจ ขอบคุณทุกคนที่ทำให้เล่มนี้เกิดขึ้นมา

“ถ้าได้อ่านจะเข้าใจกันมากขึ้นว่าภาพที่เห็นตามโฆษณาเป็นมาอย่างไร โตมาอย่างไร ขอบคุณที่ที่บ้านไม่ปิดกั้นและยอมรับกับสิ่งที่เป็น สู้กับเฌอมาตลอด เพราะเป็นเด็กดื้อ ถ้าได้มีโอกาสหวังว่าจะได้อะไรกลับไป เป็นกำลังใจให้น้องๆที่ใช้ชีวิตอยู่ สู้ๆไว้ สิ่งที่ดีไว้ไม่ไปยุ่งกับอะไรที่ไม่ควรยุ่ง หรือการทำให้คนเดือดร้อน ก้าวผ่านสิ่งที่กระทบไปได้อย่างดี สู้ๆ เป็นกำลังใจให้ ขอบคุณที่ให้เป็น Soft Power ของทุกคน” เฌอปรางกล่าว

ข้อมูล มติชน