หมอหมู เปิดผลวิจัยใหม่ เลิกสูบบุหรี่ นานแค่ไหน ร่างกายถึงจะกลับมาปกติ

บุหรี่

หมอหมู วีระศักดิ์ เปิดผลการศึกษาวิจัยใหม่ล่าสุด หลังเลิกสูบบุหรี่นานแค่ไหน ร่างกายถึงจะกลับมาเป็นปกติ

รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โพสต์ข้อความผ่านเพจ หมอหมู วีระศักดิ์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระบุว่า หลังเลิกสูบบุหรี่ นานแค่ไหน ร่างกายถึงจะกลับมาเป็นปกติ

การศึกษาวิจัยใหม่ล่าสุด โดยนักวิจัยในเกาหลีใต้ ชี้ให้เห็นว่า อาจต้องใช้เวลามากกว่า 25 ปี ที่ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจจะลดลงเหลือเท่ากับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เลย

ADVERTISMENT

ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษายังเผยให้เห็นว่า ผู้ที่เลิกบุหรี่จัดซึ่งสูบมาเป็นเวลานานกว่า 8 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเช่นเดียวกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่

ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA นักวิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลสุขภาพของอดีตผู้สูบบุหรี่มากกว่า 100,000 ราย และผู้ไม่เคยสูบบุหรี่มากกว่า 4 ล้านราย โดยผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ถูกติดตาม 10 ปี การศึกษาพบว่า

1.ความเชื่อมโยงระหว่างการสูบบุหรี่ และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นอยู่กับปริมาณของการสูบบุหรี่ ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เพียงเล็กน้อยจะพบว่าความเสี่ยงลดลงค่อนข้างเร็วหลังจากเลิกสูบบุหรี่

ADVERTISMENT

2.ผู้ที่เคยสูบบุหรี่จัด ซึ่งสูบบุหรี่มาอย่างน้อย 8 ปี นักวิจัยสรุปว่า อาจต้องใช้เวลาถึง 25 ปี จึงจะลดลงเหลือเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย

สารเคมี 7,000 ชนิดในบุหรี่ รวมทั้งทาร์และสารอื่น ๆ สามารถทำลายหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังหัวใจ ในขณะที่นิโคติน ซึ่งเป็นสารพิษที่ทำให้เสพติดได้ง่าย มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นอันตราย นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำให้ปริมาณออกซิเจนที่เราได้รับลดลง

ADVERTISMENT

อ้างอิงข้อมูลจาก : Gallucci G, Tartarone A, Lerose R, Lalinga AV, Capobianco AM. Cardiovascular risk of smoking and benefits of smoking cessation. J Thorac Dis. 2020 Jul;12(7):3866-3876. doi: 10.21037/jtd.2020.02.47. PMID: 32802468; PMCID: PMC7399440.

เรียบเรียงโดย : รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี #หมอหมูวีระศักดิ์ #ตีแผ่ทุกความจริงด้วยวิทยาศาสตร์

ปล. ข้อมูลทั้งหมดที่ผมนำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และผมได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ ดังนั้นจึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของผม และควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้งด้วยนะครับ