
กรมการแพทย์แนะการใช้ยาในผู้สูงอายุ ห้ามซื้อยากินเอง ยาทุกตัวที่กินควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยา ขณะที่แพทย์เองควรตรวจสอบยาทั้งหมดที่ผู้สูงอายุได้รับทุกแหล่ง ป้องกันฤทธิ์ยาตีกัน สร้างผลร้ายทำลายสุขภาพผู้สูงอายุ
“นายแพทย์ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์” ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มี “ความเสี่ยงสูงจากการใช้ยาและเกิดผลข้างเคียงได้ง่ายเนื่องจากผู้สูงอายุมีโรคร่วมหลายอย่างและมีโอกาสได้รับยาหลายชนิด”
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในผู้สูงอายุมีผลต่อการใช้ยา ทำให้การดูดซึมยาลดลง การกระจายตัวของยาไม่ค่อยดี อาจพบปริมาณยาที่ค้างในร่างกาย และพบว่าการกำจัดยาทางไตทำได้ลดลง ผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอีก หลายอย่างที่ส่งผลต่อการใช้ยา เช่น มีความไวต่อยาบางชนิดเพิ่มขึ้น ในขณะที่มีความไวต่อยาบางชนิดลดลง สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหากับการสั่งยาในผู้สูงอายุอย่างมาก
- เปิดประวัติ “ปลื้ม สุรบถ หลีกภัย” อดีตยูทูบเบอร์ ลูกชายคนเดียวของ “ชวน”
- “ปลื้ม” ตอบแล้ว ปมถูกฟ้องทำสูญเงิน 15 ล้าน ปัดตอบกระทบ “ชวน”
- ไทยพาณิชย์ แจ้งปิดปรับปรุงระบบ “SCB EASY App” ชั่วคราว 10 มิ.ย.นี้
ทั้งนี้ ผู้สูงอายุสามารถป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ด้วยการปฏิบัติดังนี้ คือ เมื่อพบแพทย์ ควรมีรายละเอียดของชื่อยาที่รับประทาน ชื่อโรค และประวัติการแพ้ยาติดตัวไปด้วย ,ในอาการผิดปกติที่ไม่ร้ายแรงควรเริ่มต้นการรักษาแบบไม่ใช้ยา แต่เน้นปรับพฤติกรรมแทน เช่น ท้องผูกควร ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง
ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและติดตามการรักษากับแพทย์เป็นระยะ อย่านำตัวอย่างยาเดิมไปซื้อมารับประทานเอง ,ควรนำยาทั้งหมดไม่ว่าจะได้รับจากที่ใดไปให้แพทย์ตรวจเช็คเป็นระยะ ,หลีกเลี่ยงการซื้อยาสมุนไพร ยาหม้อ และยาลูกกลอนมารับประทานเอง
เนื่องจากอาจมีผลเสียต่อร่างกาย , ควรตรวจดูวันหมดอายุ ของยา และอย่าเก็บยาที่เหลือไว้รับประทานครั้งต่อไป เนื่องจากยาอาจหมดอายุหรืออาจไม่ใช้ยาตัวเดิม ,ก่อนหยุดยาควรปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุที่จะหยุดยา ,ควรรับการรักษาและติดตามกับแพทย์คนเดิม
อย่างไรก็ดี หากต้องรักษากับแพทย์มากกว่า 1 คน ต้องนำประวัติเก่าและรายการยาที่ใช้อยู่มาแจ้งให้แพทย์ทราบ ด้านแพทย์ที่รักษาผู้สูงอายุต้องตรวจสอบยาทั้งหมดที่ผู้สูงอายุได้รับทุกแหล่ง และพิจารณายาที่อาจมีปฏิกิริยาต่อกันด้วย
ที่มา : กรมประชาสัมพันธ์