
อธิบกรมอนามัย ห่วงวัยรุ่น แนะเลี่ยงการลดน้ำหนักด้วย IF รับประทานอาหารเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน และงดกินอีก 23 ชั่วโมง อาจขาดสารอาหาร
วันที่ 25 มีนาคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เด็กสาวอายุ 14 ปี ลดน้ำหนักด้วยการทำ Intermittent Fasting หรือไอเอฟ (IF) ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดระยะเวลาการกิน เพื่อลดน้ำหนัก โดยรับประทานอาหารเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน และงดกินอีก 23 ชั่วโมง ร่วมกับการกินแป้ง คาร์โบไฮเดรตต่ำ จนเกิดผลกระทบที่แสดงให้เห็นในค่าเลือดและการทำงานของร่ายกายหลายระบบ ว่า ที่ผ่านมาประชาชนหลายคนเลือกช่วงเวลาการอดอาหารไม่เหมาะสม ทำให้ร่างกายเกิดความหิว
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- กรุงไทย-ออมสิน ระเบิดโปรฯ เงินฝาก “ดอกเบี้ยพิเศษ” เช็กเงื่อนไขที่นี่
ดังนั้นแนะนำให้เลือกช่วงเวลาให้เหมาะสม เช่น ช่วงเวลาที่ร่างกายยังไม่ต้องการสารอาหาร และให้ประเมินสภาพร่างกายของตนเองว่า มีโรคประจำตัวหรือไม่ รวมถึงต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำ IF เช่น เพื่อลดน้ำหนัก หรือ ควบคุมอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า การทำ IF เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพัก เพิ่มให้มีช่วงเวลาการเผาผลาญที่ยาวนานนั้น เหมือนกับการนอนหลับ การทำต้องทำอย่างสมดุล ไม่ใช่ให้เกิดความทุกข์ทรมาน ต้องมีการประเมินร่างกายก่อนด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI หากเป็นช่วงวัยรุ่นที่กำลังมีการเจริญเติบโต ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ควบคู่ไปด้วย จากนั้นประเมินสมดุลของร่างกาย เป็นระยะ หากมีความผิดปกติ รู้สึกไม่สบาย ควรเลิกทำ การทำต้องมีคุณภาพและสมดุลควบคู่กันไปเสมอ