ผลศึกษาวิจัยชี้ วัยกลางคน-ผู้สูงวัย นอนวันละ 7 ชั่วโมง กำลังดี ต่อทั้งกายและใจ

มหัศจรรย์เลข 7 เหมาะกับชั่วโมงการนอน ผลศึกษาล่าสุดของทีมนักวิจัยจีน ชี้ส่งผลต่อความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การให้ความสนใจ การประมวลผลข้อมูลข่าวสาร และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

วันที่ 14 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรายงานของสำนักข่าว ซินหัว และเว็บไซต์ เอฟวรีเดย์เฮลท์ ที่สรุปผลงานศึกษาวิจัยของทีมนักวิจัยจีนจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น พบว่าการนอน 7 ชั่วโมงส่งผลดีที่สุดต่อคนที่อยู่ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ เอจจิง (Nature Aging) เมื่อไม่นานนี้ เผยการค้นพบว่าระยะเวลานอนประมาณ 7 ชั่วโมงเหมาะสมสำหรับกลุ่มวัยกลางคนและวัยสูงอายุ

Nature Aging

ทีมนักวิจัยจีนจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ใช้ตัวอย่างการวิจัยเป็นกลุ่มคนอายุ 38-73 ปี จำนวนราว 500,000 คน จากยูเค ไบโอแบงก์ (UK Biobank) ฐานข้อมูลชีวการแพทย์และทรัพยากรการวิจัยของสหราชอาณาจักร และพบความสัมพันธ์แบบไม่ใช่เส้นตรงระหว่างระยะเวลานอน การรับรู้ และสุขภาพจิต

นักวิจัยสอบถามพฤติกรรมการนอนหลับ  สุขภาพจิตและสุขภาวะที่ดี รวมทั้งทำแบบทดสอบความถนัดทางปัญญาเพื่อประเมินการทำงานของสมองของกลุ่มตัวอย่างทุกคน

Xinhua

ส่วนกลุ่มย่อยประมาณ 40,000 คนต้องสแกนสมองและทดสอบในห้องแล็บเพื่อเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม

ผลการวิจัยพบว่าคนที่นอนหลับ 7 ชั่วโมงต่อคืนจะมีการคิดที่ดีกว่า ส่วนคนที่นอนหลับมากกว่าหรือน้อยกว่า 7 ชั่วโมงจะมีความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การให้ความสนใจ การประมวลผลสารสนเทศและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลดลง

ดังนั้น การนอนหลับคืนละ 7 ชั่วโมงจึงดีต่อสุขภาพจิต ขณะที่คนที่นอนน้อยหรือมากกว่านั้นจะเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกงวล รวมทั้ง สุขภาวะที่แย่กว่าโดยรวม

วิเคราะห์จากโครงสร้างสมอง

ด้านเฝิง เจี้ยนเฟิง หนึ่งในนักวิจัยของทีม ระบุว่าผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการนอน 7 ชั่วโมงเป็นประจำสามารถพัฒนาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของกลุ่มวัยกลางคนและวัยสูงอายุได้

แต่ยังเราสรุปไม่ได้อย่างชัดเจนว่าการนอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไปทำให้เกิดปัญหาด้านการคิดและนักวิจัยกำลังวิเคราะห์คนที่นอนกว่านี้เพื่อสนับสุนนแนวคิดนี้ 

การวิเคราะห์โครงสร้างสมอง เทียบเวลาการนอน / Nature Aging

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนหลับยากมีหลายปัจจัยซึ่งซับซ้อนซึ่งเกิดจากการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางพันธุกรรมและโครงสร้างของสมอง

ส่วนการสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าผู้ที่นอนหลับประมาณ 7 ชั่วโมงในแต่ละคืน โครงสร้างสมองที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลทางปัญญาและความจำมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่นอนหลับน้อยเกินไปหรือมากเกินไป

นอกจากนี้ ผู้ร่วมทำวิจัยที่นอนคืนละ 7 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอมีการทำงานด้านความคิดและสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่มีรูปแบบการนอนหลากหลายหรือผู้ที่นอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไป

นอนอย่างมีคุณภาพสำคัญต่อสมอง

การนอนหลับมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการที่สมองใช้ในการรับข้อมูลและตัดสินใจ รวมทั้ง สุขภาพจิตที่ดี เพราะช่วยให้สมองแข็งแรงด้วยการขจัดสิ่งที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

เมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีปัญหาการนอน ทั้งนอนหลับยากและหลับไม่ถึงเช้า การนอนลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ

xinhua

การวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าคนวัยกลางคนและและผู้สูงอายุที่เป็นโรคนอนไม่หลับหรือปัญหาการนอนหลับอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดความบกพร่องทางสติปัญญา

ส่วนการศึกษาที่แล้วมายังพบด้วยว่าคนที่พยายามนอนหรือนนอหลับไม่พอหรือนอนไม่มีคุณภาพจะมีแนวโน้มที่จะมีความสามารถทางความคิดความเข้าใจด้อยลงและภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนที่หัวถึงหมอนแล้วหลับสบายตลอดคืน

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ ระบุว่าผู้ใหญ่ต้องการการนอนหลับอย่างน้อยเจ็ดชั่วโมงในแต่ละคืนเพื่อสุขภาพที่ดีและสุขภาวะที่ดี แต่ผู้ใหญ่มากกว่า 1 ใน 3 นอนไม่ถึง 7 ชั่วโมงซึ่งสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ทั้งโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคเบาหวาน และภาวะซึมเศร้า

ด้านบาร์บารา ซาฮาเคียน จากแผนกจิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่าการนอนหลับดีตอนกลางคืนมีความสำคัญกับทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น การค้นหาวิธีปรับปรุงการนอนสำหรับผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สุขภาพจิตและสุขภาวะดี และหลีกเลี่ยงความสามารถในการคิดและเข้าใจ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตเวชและภาวะสมองเสื่อม