“Reserve Your Ambition” ดึง 3 หนุ่ม 3 คาแรกเตอร์เสวนาขายคอนโดหรูค่ายพฤกษาฯ The Reserve พหลฯ-ประดิพัทธ์

นางอรนุช อิติโกศิน กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพรีเมียมแนวสูง บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดเวทีเสวนาในธีม Reserve Your Ambition ในอีเวนต์แกรนด์โอเพนนิ่งคอนโดมิเนียมแบรนด์ “เดอะ รีเซิร์ฟ พหลฯ-ประดิพัทธ์” เมื่อหัวค่ำวันที่ 26 สิงหาคม 2560 ว่า โครงการนี้มีการสื่อโดยใช้เสือหิมะเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างแรงบันดาลใจ

ทั้งนี้ เสือหิมะมีคาแรกเตอร์เฉพาะ มีสัญชาตญาณนักล่า ตัวไม่ใหญ่แต่ปราดเปรียวว่องไว มีความมุ่งมั่น พยายาม บางครั้งในการออกล่าเหยื่อสามารถเดินทาง 7 กม.ต่อวัน จึงเป็นสัญลักษณ์ที่มี Ambition เสือไม่ได้หมายถึงโครงการเดอะรีเซิร์ฟ แต่หมายถึงคนที่มีจิตวิญญาณเสือในตัว มีความมุ่งมั่น มี ambition

เดอะรีเซิร์ฟ เป็นคอนโดที่มีไว้เพื่อคนกลุ่มนี้ที่ต้องการมีแรงบันดาลใจ แรงขับเคลื่อน ที่นี่ไม่ใช่เพียงที่อยู่อาศัยธรรมดา แต่ให้สามารถใช้ไลฟ์สไตล์ในแบบตนเอง

เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ Film Director นักเขียนบทและผู้กำกับ ผลงานรถไฟฟ้ามาหานะเธอ แม่นาคพระโขนง รัก 7 ปีดี 7 หน ฯลฯ กล่าวว่า การเป็นผู้กำกับต้องตื่นตี 4 เพื่อไปถ่ายหนัง ทำหนังหนึ่งเรื่องใช้เวลา 6 เดือน กินชีวิตไปหนึ่งปี ถ้าหากทำหนังยาว ฯลฯ คำถามคือทำไมยังทำอาชีพนี้อยู่ ส่วนหนึ่งคำตอบคือสนุก

“ชีวิต ทั้งร่างกายและจิตใจ เรื่องบ้านก็สำคัญสำหรับชีวิต เริ่มมองหาโลเกชั่น ทำเลประดิพัทธ์มองหาตั้งแต่ซอย 1-20 กว่า สิ่งที่ค้นพบ ในซอยธรรมดาได้เจอบ้านทรงแปลกๆ ที่ไม่คิดว่าจะเจอในประเทศไทย เจอชุมชนญี่ปุ่นที่มาตั้งรกราก หรือเกาหลี ทำให้เรารู้สึกว่ากรุงเทพฯมี variation มากมาย กรุงเทพฯ ยังมีอีกหลายซอกมุม ข้อดีคือพอเราบอกว่าจะทำหนัง เราสามารถไปที่ไหนก็ได้ ไปบ้านใครก็ได้ (ยิ้ม) ทำให้รู้สึกว่าเราใช้หนังบังหน้าในการเข้าไปดูบ้านผู้คน ได้เห็นการใช้ชีวิตในแบบต่างๆ บางอย่างก็เจอแปลกๆ เคยเข้าโรงแรมม่านรูดมากมาย ได้เห็นหลังบ้าน …หนุกดีคับ”

การพบปะผู้คน บางครั้งมีคำคมพูดออกมา ได้เจอคนอื่นๆ ที่คิดไม่เหมือนเรา เพราะบางครั้งเราคิดในมุมเรา โอเคแล้ว ดีแล้ว แต่เจอคนคิดต่างทำให้เราเปลี่ยนความคิด มีมุมน่าสนใจ ทำให้เรายอมรับในความแตกต่างมากขึ้น ในอาชีพการเขียนบทจะโชว์อีกมุมหนึ่ง ถ้าเราทำให้หนังเรามีหลายแง่มุมก็ช่วยทำให้เปลี่ยนความคิดได้ การได้เข้าไปเรียนรู้คนอื่นกลับทำให้กลายเป็นว่าเปลี่ยนมุมคิดเราด้วย

อย่างตอนทำหนัง “ฟรีแลนซ์” ในหนึ่งปีครึ่ง-สองปีที่เราเขียนบท เปิดโอกาสให้เราได้รู้ว่า เราทำงานหนักเหมือนกัน ซึ่งโซลูชันที่ตัวละครใช้แก้ไขปัญหามันก็คือโซลูชันที่เราใช้แก้ปัญหาในชีวิตเหมือนกัน หลายครั้งเพื่อนมาบอกว่าขอบคุณที่ทำหนังเรื่องนี้ ทำให้รู้ว่าหนังมีผลต่อผู้คนไม่ใช่แค่ความบันเทิง เราต้องสรรหาเรื่องใหม่ๆ มาให้เขา คิดว่าเป็นหน้าที่ต้องนำเสนอสิ่งใหม่ๆ

การทำหนังร้อยล้านมันไม่มีสูตรอยู่แล้ว เพราะถ้ามีจริงคนก็ทำหนังร้อยล้านเยอะแยะไปหมดแล้ว แต่จากการที่ได้ทำสิ่งใหม่ เป็นการ challenge ไม่หยุดนิ่ง เป็นนักเรียนตลอดเวลา

เชฟยีสต์-นกุล วินรัตน์ Head Chef The Never Ending Summer กล่าวว่า ทำมาหลายอาชีพ เริ่มมีเงินเก็บแต่ก็เบื่อเพราะงานซ้ำซาก จนกระทั่งมีอาการสะอึกติดต่อกันเป็นเดือนๆ หาหมอรักษาไม่หาย จนพบหมอคนหนึ่งบอกว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่ ทำ 3 เดือนห้ามแตะต้องเครื่องดื่มมึนเมา อยากหายก็เลยลองดู ซื้อวัตถุดิบทำเองที่บ้าน ทำไม่เสร็จสักทีแต่กลับไม่รู้สึกเบื่อ สนุกกับมันโดยไม่รู้ตัว

“ผมต้องกินอาหารรักษาสะอึกให้หมด ไม่อร่อย ทำมาครึ่งทางอาการดีขึ้น แข็งใจทำจนจบ 3 เดือน อาการสะอึกหายเลย สิ่งที่ได้มาคือเราชอบทำอาหาร เปิดยูทูบซื้อของมาทำกินที่บ้าน จากปกติเกลียดการช็อปปิ้งมากๆ เดิมต้องล็อกเป้าไม่มีการแวะที่อื่น ตอนนี้เดินได้ทั้งวันไปซื้ออุปกรณ์วัตถุดิบไปทำอาหารที่บ้าน”

ต่อมา เพื่อนๆ รวมหุ้นเปิดคาเฟ่ ขายอาหารและเครื่องดื่ม ไปลงทุนด้วย สักพักเริ่มรู้ตัวว่าความรู้น้อย จึงไปเรียน แต่ตอนแรกก็ฟังครูสอนไม่เข้าใจ ต้องดิ้นรนสักอย่าง จึงเริ่มต้นไปขอทำงานตามร้านอาหาร ตอนนั้นถือวีซ่านักเรียน จนไปเจอร้านอาหารเวียดนาม อยากทำงานครัว ทำให้ฟรีด้วย ได้งานทำ เราทำคล่องขึ้น ไวขึ้น จนครูที่สอนแปลกใจเรียกไปถาม

กระทั่งเรียนจบ รวบรวมความกล้าขอเข้าไปฝึกงานในร้านอาหารมิชลิน ค่าแรงที่ได้รับแค่พอประทังชีวิต แต่ผมก็นำเงินไปตระเวนกินตามร้านมิชลิน ถ่ายรูปทำอาหารแล้วจดโน้ตว่ามีวัตถุดิบอะไรบ้าง ว่า ร้านพวกนี้มักจะมีการใช้วัตถุดิบที่เหมือนกันในเวลาเดียวกัน ทำให้รู้ว่ามี seasonal

ฝึกงานครึ่งปี วีซ่าหมด ต้องกลับประเทศไทย ขอทำต่อจนได้เลื่อนขั้น โดยลักษณะงานเครียด กดดัน ลำบาก โหดร้าย แต่เรากลับชอบมาก อยากอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างนี้

วันหนึ่ง กลับมาเมืองไทย ติดต่อขอเข้าไปฝึกงานร้านซัมเมอร์ มีเวลา 2-3 สัปดาห์ ได้เรียนรู้อะไรเยอะแยะไปหมด ทั้งที่เรากินมาตั้งแต่เด็ก ตัดสินใจอยู่เมืองไทย เริ่มทำงานที่ร้านซัมเมอร์ ใช้ประสบการณ์ ความรู้ มีคำวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำอาหารไทยฟิวชัน อาหารไทยรสชาติฝรั่ง ต้องฝึกทำ ลองทำให้เจ้าของร้านชิมก่อนกว่าจะออกมาเป็นเมนูได้ ผมทำถึงขนาด ban วัตถุดิบนำเข้าเพราะต้องการใช้ของไทยแท้ ผมเป๋มากตอนนั้น ใครพูดอะไรผมเปลี่ยนตาม จนเมาหมัดไม่มีทิศทาง เรารู้สึกไขว้เขวมากๆ

“เราต้องการอะไร”

ผมอยากเข้ามาทำอาหาร แต่มีบางสิ่งเข้ามารบกวนสมาธิเรา ถามว่าอาหารไทยแท้ๆ เป็นยังไง ผมตอบไม่ได้ เทียบกับสมัยคุณพ่อยังเด็กก็ไม่เหมือนกัน อีก 10-20 ปีหน้าก็จะไม่เหมือนกัน เปลียนตามสมัย รสนิยม สิ่งที่มีในตอนนั้น เช่น มะนาวตอนนี้กับอนาคตสิบ-ยี่สิบปีหน้าอาจรสเปลี่ยนก็ได้ เพราะเราไปตั้งกำแพงขึ้นมาเอง

เวลาไปเจอวัตถุดิบยากๆ อยากลองทำอาหารให้คนได้กิน ผมตั้งใจทำอาหารไทยในแบบที่ทำให้แขกที่บ้านผมกิน เท่านั้นเอง ส่วนกินแล้วจะชอบหรือไม่ชอบ …

คำว่าเชฟ เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ชีพ บอส หรือหัวหน้า งานต้องรวมทุกอย่างตั้งแต่ครัว เทรนนิ่ง แก้ไขปัญหา ดูแลต้นทุน ควบคุมคุณภาพ ติดต่อซัพพลายเออร์ ติดต่อประสานงานมากมายก่ายกอง เป็นงานที่ค่อนข้างเครียดและกดดัน เหมือนเราต้องแบกรับความรับผิดชอบ

ผมเชื่อในพรสวรรค์ สำคัญในการทำงาน แต่ไม่ได้มีทุกคน อาชีพนี้พรสวรรค์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมี passion เป็นแรง drive ให้เราพัฒนา ถ้าผมไม่มีแพสชัน ผมท้อ เพราะเจอปัญหามาสารพัดอย่าง

สุดท้าย ชีวิตคนเราเหมือนการทำอาหาร เช่น อยากกินต้มยำกุ้ง กุ้งแม่น้ำ ก็เดินออกไปซื้อ อยากกินรสชาติแบบไหนก็ปรุงแบบนั้น ผมเลือกได้เพราะผมเป็นคนทำ

“ชีวิตคนเราก็เหมือนกัน อยากกินอาหารแบบไหนก็ปรุงอาหารในแบบที่ชีวิตต้องการ ไม่มีผิดมีถูก แล้วคุณจะเป็นเชฟด้วยตัวคุณเอง ขอบคุณครับ”

นพ-พงศธร ธนบดีภัทร COO & Co-Funder REFINN เปิดประเด็นว่า อายุ 23 ปี คนที่บอกว่าตัวเองไม่ได้วางแผนการเงินแสดงว่าวางแผนไว้แล้วว่าจะอยุ่ตามมีตามเกิด ผมสนใจการเงินตั้งแต่เด็ก คุณพ่อเป็นนักเศรษฐศาสตร์สอนเรื่องเงินเฟ้อเงินฝืดตั้งแต่ผมอยู่ ป.3 ตอนเรียนวิศวะก็บรรยายสรุปให้เพื่อนว่าจะซื้อกองทุนไหนดี นานเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้แม่บ้าน พนักงาน รปภ.เรื่องจะบริหารหนี้ยังไง ทำให้เจอว่าเมืองไทยมีปัญหาเยอะ เรื่องความเหลื่อมล้ำ

“คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้วางแผนการเงินเลย บางคนมีที่ปรึกษา Wealth Management Consult คนไทยมีหนี้เยอะมาก และไม่รู้จะทำยังไงให้หนี้หมดไป มีใครรู้ไหมทำยังไงให้หนี้สินหมดเร็ว มีวิธีเยอะแยะ เช่น รีไฟแนนซ์ ทำให้อยากออกมาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ ให้คนได้แก้ปัญหาตัวเองโดยไม่ต้องจบไฟแนนซ์”

แต่ทำแล้วรู้ว่ายากมาก ตอนทำแรกๆ ก่อนเป็นรีฟินน์ เราอยากเห็นคนไทยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในเรื่องการเงิน เราทำแพลตฟอร์มเพื่อให้คนไทยเรียนรู้การวางแผนการเงินมากขึ้น แต่เอาเข้าจริง คนรวยไม่ต้องทำอะไรก็รวยและมีแต่คนแบบนี้เข้ามาเรียน หน้าเดิมๆ คนที่มีปัญหาการเงินพูดให้ตายก็ไม่มาเพราะไม่คิดจะวางแผนอยุ่แล้ว จึงเ็นนห้าที่เราต้องศึกษาให้ลึกถึงหัวใจเขา

อะไรคือปัญหาที่ทำให้เขาไม่สามารถเดินหน้าต่อไปในชีวิต ไม่ง่ายแค่สัมภาษณ์แล้วเขาจะบอก สิ่งท้าทายเรากำลังแก้ปัญหาบางอย่างให้คนหนึ่งคนโดยเขาไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามีปัญหา เราเปลียนมุมมอง เปลียนโจทย์ …พี่ ผมจะมาทำให้พี่เลิกจน หมดหนี้หมดสิน เปลีย่นแค่คำถามเดียวแต่ความหมายเหมือนเดิม แต่ความรู้สึกคนมันต่างกัน

เราจึงตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาด้วยโจทย์ข้อเดียวคือ “รีฟินน์” มีคนหนึ่งได้และมีคนหนึ่งเสีย สิ่งที่จะได้คือประเทศไทย ถ้าคนไทยมีหนี้น้อยลงก็มีกำลังซื้อมากขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จะดีขึ้น ปัจจุบันมีคนรีไฟแนนซ์หลักพันล้านบาท

“ผมเคยโทรหาลูกค้าท่านหนึ่ง เริ่มต้นด้วยประโยคเดิมๆ ผมเห็นพี่รีไฟแนนซ์แล้ว เป็นยังไงบ้าง เขาไม่ตอบผมเลย ปรากฏว่าพี่เขาร้องไห้เหมือนเด็ก เล่าให้ฟังว่าหลังจากรีไฟแนนซ์มีเงินเหลือในกระเป๋าเดือนละหลายพันบาท รวมเป็นเงินหลายแสน กะจะเอาเงินไปล้างหนี้ให้คุณแม่ นี่คือครั้งแรกที่ผมรู้สึกว่าผมซื้อความสุขให้คนได้”

ถ้าถามว่าชีวิตผมกำลังไล่ล่าหาอะไรอยู่ ผมกำลังไล่ล่าหาความฝัน จากการที่เราส่งมอบบางอย่างแล้วทำให้คนหนึ่งคนมีความสุข

“ความฝันของคุณอยู่ที่คุณจะไล่ล่าอะไรแล้วทำให้คุณมีความสุข ขอบคุณครับ”