มีอะไรซ่อนอยู่ในใจกลาง…ทางช้างเผือก ?

ณ ศูนย์กลางของทางช้างเผือก ดาวฤกษ์อยู่รวมกันหนาแน่นกว่าในระบบสุริยะนับร้อยเท่า บนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ณ ศูนย์กลางกาแล็กซี่ ดาวฤกษ์นับแสนจะปรากฏให้เห็นบนขอบฟ้า

ใจกลางกาแล็กซี่เป็นสถานที่ดุเดือดยิ่ง คลื่นก๊าซยักษ์จากแรงระเบิดซูเปอร์โนวาโหมปะทะใส่กัน

สิ่งที่ซ้อนอยู่ในใจกลางอันมืดมิดของทางช้างเผือก ห่างจากดวงอาทิตย์ไป 27,000 ปีแสง ถูกห่อหุ้มอยู่ในเมฆฝุ่นคือซาจิททาเรียส เอ* (Sagittarius A*)

ซาจิททาเรียส เอ* คือหลุมดำขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 4.3 ล้านเท่า มันคือสุรกายม่ายดำที่กลืนกินก๊าซและทำลายดาวฤกษ์

ขอบฟ้าเหตุการณ์ของวซาจิททาเรียส เอ* หรือจุดที่สสารไม่สามารถหวนกลับเมื่อหลุดลอดเข้าไปกว้างราว 15 ล้านกิโลเมตร (1/10 ของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์)

ไม่มีใครรู้ต้นกำเนิดของซาจิททาเรียส เอ* แต่ดูเหมือนว่ากาแล็กซี่ส่วนใหญ่จะมีหลุมดำ “มวลยวดยิ่ง” (บ้างใหญ่กว่า 1,000 เท่า) ซ่อนอยู่ในศูนย์กลางแทบทั้งสิ้น

หลุมดำในจักรวาลมักจะเล็กเกินไป (มวลดวงดาว) หรือถ้ามีขนาดใหญ่มาก ก็ไกลเกินกว่าเราจะส่องเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ซาจิททาเรียส เอ* ซึ่งมีขนาดปานกลางและอยู่ไม่ไกลนัก คือหลุมดำหลุมเดียวที่เราพอจะมีโอกาสเก็บภาพไว้ได้

เวรี่ ลอง เบสไลน์ อินเตอร์เฟอโรเมทรี (วีแอลบีไอ) ซึ่งอาศัยจานวิทยุเพื่อให้ได้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่าโลก กำลังปรับขยายภาพซาจิททาเรียส เอ*ให้ไกลขึ้น

สมรรถนะของวีแอลบีไอทำให้ความหวังที่จะได้ “เห็น” ขอบฟ้าเหตุการณ์ของซาจิททาเรียส เอ*อยู่ไม่ไกลความจริง น่าจะเป็นจริงได้ในอีกไม่กี่ปีและพิสูจน์หลุมดำได้

 

ขอบคุณที่มาจากหนังสือ “ทวิตภพสยบจักรวาล  Tweeting the Universe” มาร์คัส โชวน์และโกเวิร์ท ชิลลิ่ง เขียน รุ่งกานต์ รุจิวรางกุล แปล จากสำนักพิมพ์มติชน  สั่งซื้อหนังสือส่งตรงถึงบ้านได้ที่ www.matichonbook.com