ชมดวงจันทร์เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี คืนวันสงกรานต์ 13 เมษายน

ดวงจันทร์
ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

คืนวันสงกรานต์ 13 เมษายน 2568 ชมปรากฏการณ์ไมโครฟูลมูนดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Astronomical Research Institute of Thailand : NARIT) ระบุว่า วันที่ 13 เมษายน 2568 จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปีหรือไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon)

โดยผู้ที่สนใจสามารถเริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.48 . บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์จะโคจรห่างจากโลกออกไปประมาณ 406,000 กิโลเมตร ส่งผลให้ดวงจันทร์เต็มดวงในคืนนั้นมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย และชมได้จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 เมษายน 2568

ทั้งนี้ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่าเปริจี” (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่าอะโปจี” (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร

การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้หรือไกลโลกมีขนาดที่แตกต่างกัน นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุด หรือใกล้โลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงก็ได้ แต่ในวันที่ 13 เมษายน 2568 เป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงอยู่ในระยะทางที่ไกลโลกมากที่สุดพอดี

ADVERTISMENT

สำหรับปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปีหรือซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2568 ซึ่งดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย

ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ADVERTISMENT