นักวิจัยเคมบริดจ์ใช้ สาหร่าย เป็นแหล่งพลังงานให้คอมพิวเตอร์

สาหร่าย
UNIVERSITY OF CAMBRIDGE

นักวิจัยอังกฤษ ม.เคมบริดจ์ เผยผลการวิจัยที่ค้นพบว่าสาหร่ายเป็นแหล่งพลังงานให้กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องนานนับปี

วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 บีบีซี รายงานว่า นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษกล่าวว่า ระบบนี้คล้ายกับแบตเตอรี่ขนาด AA และมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ไม่มีพิษชื่อว่า synechocystis ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

สาหร่าย

นักวิจัยเชื่อว่าระบบนี้มีศักยภาพในการสร้างพลังงานที่มีความเสถียรและหมุนเวียนให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก จึงเป็นระบบที่ทำได้ทั่วไป ไม่แพงและใช้วัตถุรีไซเคิลได้เป็นส่วนใหญ่

อีกทั้งทำซ้ำได้หลายแสนครั้งด้วยวิธีง่าย ๆ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กใน Internet of Things (IOT) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต

ทำงานต่อเนื่อง

IOT เป็นเครือข่ายอุปกรณ์อิเล็กทอรนิกส์ที่ใหญ่มากและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้พลังงานน้อยมากจากการรวบรวมและแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น สมาร์ทวอตช์

กระแสไฟฟ้าจากพืชเกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงกับปฏิกิริยากับอิเล็กโทรดอะลูมิเนียมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานให้หน่วยประมวลผล (ไมโครโปรเซสเซอร์)

ADVERTISMENT
สองนักวิจัยเคมบริดจ์

คริสโตเฟอร์ ฮาว แห่งภาควิชาชีวเคมีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า อุปกรณ์สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ขับเคลื่อนพลังงานเช่นเดียวกับแบตเตอรี่ เพราะใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานอย่างต่อเนื่อง

ในการทดลองอุปกรณ์นี้ใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับ Arm Cortex M0+ ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ IOT

ADVERTISMENT
UNIVERSITY OF CAMBRIDGE

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Arm ออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์กับคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

เปาโล บอมเบลลี แห่งภาควิชาชีวเคมีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า ประทับใจกับระบบการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทั้งที่คิดว่าอาจจะหยุดทำงานหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ แต่ระบบก็ยังคงดำเนินต่อไป