
ทีมนักวิจัยจีนค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์อีก สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ อายุราว 125 ล้านปี ระหว่างการตรวจสอบพื้นที่อำเภออูลาเท่อโฮ่ว ถิ่นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์
วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 สำนักข่าว ซินหัว รายงานว่า คณะนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเมืองปาเยี่ยนน่าวเอ่อร์ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของจีน พบฟอสซิลไดโเสาร์อีก เป็นชนิด อิกัวโนดอน
- โหน่ง วงศ์ทนง ลาออกรายการเจาะใจ #JSL เลิกจ้างพนักงานกะทันหัน
- ครม. อนุมัติจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุพิเศษ 100-250 บาท 4 เดือน
- นาฬิกาหรูระดับโลก ราคาร่วง-ยอดขายดิ่ง Rolex นำทีมเจ็บ ตามคริปโตขาลง
อำเภออูลาเท่อโฮ่วได้รับการขนานนามเป็น “บ้านเกิดไดโนเสาร์” ในจีน โดยปัจจุบันอำเภอแห่งนี้ค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์รวม 19 สายพันธุ์แล้ว

ไต้ รุ่ยหมิง เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ ระบุว่าผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสัณฐานวิทยากระดูกพบฟอสซิลดังกล่าวเป็นของอิกัวโนดอน (Iguanodon) หรือไดโนเสาร์กินพืชชนิดหนึ่ง ในยุคครีเทเชียสตอนต้น (Early Cretaceous) ไดโนเสาร์ตัวนี้มีขนาดใหญ่และอยู่ในช่วงใกล้โตเต็มวัย

ปัจจุบันคณะนักวิจัยกำลังทำความสะอาดและเสริมความแข็งแกร่งของโครงกระดูก และจะใช้มาตรการคุ้มครองตามจำนวนฟอสซิลที่พบ
โดยกระดูกฟอสซิลเหล่านี้จะถูกศึกษาเพิ่มเติมว่าเป็นของไดโนเสาร์ตัวเดียวหรือไม่ และจะมีการพิจารณาสร้างพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่เดิม หากค้นพบฟอสซิลสภาพสมบูรณ์เพิ่มอีกมาก
ยุคครีเทเชียส ตรงกับช่วง 137-65 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคสุดท้ายที่ไดโนเสาร์ครองโลก โดยฟอสซิลจากยุคดังกล่าวมอบหลักฐานสำหรับการศึกษาวิวัฒนาการ สภาพความเป็นอยู่ และการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
