อาฮุย แผ่นดินใหญ่ – เรื่อง
ข่าวล่าสุด
อาฮุย แผ่นดินใหญ่ – เรื่อง
ภายใต้การบริหารงานของ “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ช้างศึกมี มิโลวาน ราเยวัช เข้ามาทำงาน ต่อจาก “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หลังจากผลงานในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย รอบ 12 ทีมสุดท้ายออกมาย่ำแย่ แต่ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดที่มีเป้าหมายเพื่อไปไกลกว่าเพดาน “เบอร์หนึ่ง” ของอาเซียน จะล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มรายการฟุตบอลระดับทวีป เมื่อดูจากผลงานในรายการระดับภูมิภาคอาเซียนที่ตกรอบตัดเชือก
ถึงทัพช้างศึกจะตกรอบโดยมีสถิติไม่แพ้คู่แข่งตลอดทัวร์นาเมนต์ แต่ถ้าดูฟอร์มการเล่นแล้วจะเห็นว่า แนวทางของมิโลวาน ราเยวัช กุนซือชาวเซอร์เบีย ซึ่งมาตามสไตล์ดั้งเดิมแบบยุโรปที่เน้นเกมรับเหนียวแน่นเป็นหลัก ไม่ถูกอกถูกใจแฟนบอลกลุ่มหนึ่ง และยังขัดสถานะ “เบอร์หนึ่ง” ของอาเซียน จนกลายเป็นวลีแซวว่า “รถบัสอาเซียน” ท้ายที่สุดสิ่งที่ชี้วัดความคิดเห็นข้างต้นก็คือ ผลลัพธ์จากทัวร์นาเมนต์อย่างเป็นทางการที่จบด้วยความผิดหวัง
ฟุตบอลสไตล์ยุโรปที่เน้นเกมรับเหนียวแน่นและความแข็งแกร่งทางกายภาพเป็นหลัก ถูกท้าทายหลังจากปี 2008 เป็นต้นมา แนวคิดจากบุคลากรแดนกระทิงดุในสโมสร หรือการเล่นของทีมชาติสเปน ทำให้เห็นว่าฟุตบอลสไตล์เดิมของยุโรปนั้นอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับความสำเร็จในยุคนี้ และมีแนวทางอื่นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน (หากประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม)
จริงอยู่ว่าฟุตบอลยุค 90s เต็มไปด้วยแนวคิดเล่นเกมรับ ยูโร 1992 ที่เดนมาร์กเป็นแชมป์เทพนิยาย มีประตูเกิดขึ้นรวมแล้วแค่ 32 ลูก จาก 15 นัด (ครั้งสุดท้ายที่ยูโรรอบสุดท้ายมีแค่ 8 ทีม) เดนมาร์กที่เล่นด้วยแนวคิดใหม่ เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนทีมเวิร์กเหนียวแน่น และมั่นคง เค้นประสิทธิภาพของทรัพยากรได้ถึงขีดสุด เสียแค่ 4 ประตูตลอดรายการ จนทีมมีประสิทธิภาพสามารถล้มเยอรมนีได้
หรือกรีซ แชมป์ยูโร 2004 ที่โดนโปรตุเกสแขวะว่า เสียดายที่ทีมซึ่งเล่นแต่เกมรับจะได้แชมป์ไป แน่นอนว่าประวัติศาสตร์จารึกถึงทีมที่ประสบความสำเร็จกับแนวคิด
นี้อยู่ด้วย แต่ต้องยอมรับว่าความสำเร็จเหล่านี้ถูกเรียกชื่อกันเสมอว่า “เทพนิยาย” หรือ “ปาฏิหาริย์” นัยหนึ่งย่อมหมายความว่า เป็นเรื่อง “เหนือจริง” ทั้งในแง่ความเป็นไปได้ (ในสถานการณ์ปกติทั่วไป) หรือในเชิงสถิติที่บ่งชี้ว่า “ปาฏิหาริย์” ไม่ใช่เรื่องเกิดขึ้นบ่อย และย่อมยากจะเกิดซ้ำสอง หากเกิดได้บ่อยคงไม่เรียกว่าปาฏิหาริย์แล้ว
ไม่มีใครเถียงว่าเกมรับที่เหนียวแน่นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับทีมฟุตบอล แต่หากจะบอกว่าในแง่แท็กติก ทีมที่เน้นเล่นเกมรับเป็นหลัก จะรุกเมื่อมีโอกาสให้ทำมากกว่าให้ทีมสร้างโอกาสขึ้นเองจากการเล่นเกมรุกคุมบอลไปเข้าทำ จะสามารถประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งในยุคนี้ได้ตลอดรอดฝั่ง คงมีคนที่พร้อมพิสูจน์ พร้อมท้าทายแนวคิดนี้เสมอ
แค่ในอาเซียนอย่างมาเลเซีย (ฟอร์มชุดล่าสุด) หรือเวียดนาม ก็เล่นสไตล์ฟุตบอลที่ไหลลื่นกันมาสักพักแล้ว หรือฟิลิปปินส์ ที่เพิ่งได้โค้ชใหม่ก็มีทรงไปในทิศทางเชิงทำเกมมากกว่าเน้นตั้งรับก่อนแล้วค่อยหาโอกาสบุก
หากบอกว่าแนวคิดเกมรับแบบยุโรปดั้งเดิมนี้เตรียมพร้อมสำหรับแก้โจทย์เจอทีมใหญ่ระดับเอเชียที่ทีมไทยมักแพ้ยับเยิน สิ่งที่พิสูจน์ได้ชัดว่าแนวคิดนี้อาจช่วยเอาตัวรอดได้เป็นครั้งคราว แต่ไม่อาจพาไปถึงความสำเร็จจริงจัง คือวลีว่า “ตกรอบโดยไม่แพ้ใคร” เป็นผลลัพธ์ที่อธิบายแนวคิดตัวเองได้ครบถ้วน แถมยังเป็นผลจากการเล่นระดับภูมิภาคใกล้เคียง โดยที่ยังไม่ต้องไปถึงระดับทวีปเอเชีย
ความรวบรัดเรียบง่ายที่เอาชนะความพลิกแพลงแพรวพราว แบบที่เดนมาร์กทำได้ (จากทรัพยากรที่เหมาะเจาะและเต็มประสิทธิภาพ) ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกแล้ว ทุกวันนี้แนวคิดแบบเป๊ป กวาร์ดิโอล่า ที่ไม่เคยแม้แต่สอนลูกทีมถึงวิธีเข้าปะทะ
แต่สอนวิธีทำเกม ควบคุมเกม นำบอลไปเข้าทำ กลายเป็นต้นแบบที่ทั่วโลกโหยหา
แต่ความขมขื่นสำหรับหลายคนจนไม่อาจทำใจได้ คือระยะเวลาที่ใช้วางรากฐานกับทรัพยากรที่ใช้ เป๊ปใช้เวลาสร้างทีมตามปรัชญาของตัวเอง (กรณีแมนฯซิตี้) 1 ฤดูกาลเต็ม ด้วยทรัพยากรที่เหมาะเจาะ ซึ่งกรณีสโมสรสามารถใช้งบประมาณได้
แต่หากเป็นทีมชาติ สิ่งที่ต้องการนอกเหนือจากเวลา คือ ระบบสร้างและบริหารจัดการทรัพยากรตั้งแต่ฐานราก ญี่ปุ่น หรือเยอรมนีทำให้เห็นแล้ว ญี่ปุ่น (หรือเกาหลีใต้ก็ตาม) ที่เคยห่างชั้น หรือเยอรมนี ที่เคยตกรอบรายการใหญ่แบบขายหน้า ก็กลับมาได้ด้วยเวลาและรากฐานที่มั่นคง จากแนวคิดเชิงก้าวหน้า