เอ็ด วูดวาร์ด ตัวการทำผีแดงล้มเหลวในตลาดนักเตะ?

Manchester United's executive vice-chairman Ed Woodward (C) takes his seat for the English Premier League football match between Everton and Manchester United at Goodison Park in Liverpool, north west England on April 21, 2019. (Photo by Oli SCARFF / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE. No use with unauthorized audio, video, data, fixture lists, club/league logos or 'live' services. Online in-match use limited to 120 images. An additional 40 images may be used in extra time. No video emulation. Social media in-match use limited to 120 images. An additional 40 images may be used in extra time. No use in betting publications, games or single club/league/player publications. /

เวลาที่คอบอลรอคอยเริ่มต้นขึ้นแล้ว พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เปิดฤดูกาล 2019-2020 อย่างคึกคักเช่นเคย แต่สำหรับแฟนบอลบางทีม คำว่าคึกคักในที่นี้อาจไม่ได้หมายความถึงเชิงบวก แต่เป็นคึกคักในเชิงความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกผิดหวัง สับสน ในบรรยากาศวุ่นวายภายในทีม อย่างกรณีถิ่นโอลด์ แทรฟฟอร์ด ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

ก่อนหน้าเสียงนกหวีดเริ่มต้นเกมแรกของพรีเมียร์ลีกฤดูกาลใหม่ แต่ละทีมพยายามดึงนักเตะเข้ามาเสริมทีมแบบสุดชีวิต ทีมปีศาจแดงก็เช่นกัน ตลาดนักเตะฤดูร้อนของ

พวกเขาปีนี้เป็นปีที่ยุ่งเหยิงที่สุดอีกปีก็ว่าได้ แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะล้มเหลวในมุมของแฟนบอล ถึงจะดึงกองหลังอย่างแฮร์รี่ แม็คไกวร์ ด้วยค่าตัว 80 ล้านปอนด์ เป็นกองหลังที่แพงสุดในโลก และยังมี แอรอน วาน-บินซากา แบ็กริมเส้น มาเสริมแผงหลังกราบขวาด้วยค่าตัว 45 ล้านปอนด์ และยังมี แดเนียล เจมส์ ปีกความเร็วสูงค่าตัว 15 ล้านปอนด์ เสริมแนวรุก แต่สิ่งที่พวกเขาขาดไปคือกองหน้า ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่แฟนบอลมองว่าควรแก้ไขมาตลอด

ปีศาจแดงเสีย โรเมลู ลูคาคู หัวหอก (ตัวหลัก) ให้อินเตอร์ มิลาน แม้จะขายได้มากถึง 70 ล้านปอนด์ แต่ทีมกลับไม่สามารถหานักเตะมาแทน หลงเหลือผู้เล่นให้ใช้งานอย่าง มาร์คัส แรชฟอร์ด หรือแนวรุกที่ไม่ใช่กองหน้าธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดคำถามมากมาย

แฟนบอลจำนวนมากเห็นว่าทีมต้องการผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าที่จบสกอร์เฉียบคม เล่นได้หลากหลายทั้งลูกกลางอากาศและต่อบอลบนพื้น ตัวเลือกที่เคยเป็นข่าวและแฟนบอลบางกลุ่มก็เห็นว่า ทีมควรมีผู้เล่นอย่าง เปาโล ดิบาลา ดาวยิงจากยูเวนตุส หรืออย่างน้อยก็เป็น มาริโอ มันด์ซูคิช เอาไว้จบสกอร์ ขณะที่มิดฟีลด์ตัวสร้างสรรค์เกมที่จะควรมาเสริมเขี้ยวเล็บในเกมรุกเติมช่องว่างหลังเสีย อันเดร์ เอร์เรร่า อย่าง บรูโน เฟร์นันเดส จากสปอร์ติ้ง ลิสบอน หรือ คริสเตียน เอริกเซ่น จากสเปอร์ส ก็พลาดอีกเช่นกัน

Manchester United’s English forward Marcus Rashford (L), Manchester United’s English midfielder Jesse Lingard (2L), Manchester United’s English defender Chris Smalling (2R) and Manchester United’s Brazilian midfielder Fred react after conceding a goal during the English Premier League football match between Manchester United and Manchester City at Old Trafford in Manchester, north west England, on April 24, 2019. (Photo by Oli SCARFF / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE. No use with unauthorized audio, video, data, fixture lists, club/league logos or ‘live’ services. Online in-match use limited to 120 images. An additional 40 images may be used in extra time. No video emulation. Social media in-match use limited to 120 images. An additional 40 images may be used in extra time. No use in betting publications, games or single club/league/player publications. /

ผลลัพธ์ในตลาดซื้อ-ขายนักเตะรอบนี้มาตกกับ เอ็ด วูดวาร์ด รองประธานสโมสร ที่เป็นเป้าโจมตีจากแฟนบอลมาอย่างยาวนานอีกครั้ง คราวนี้กลายเป็นกระแสในโลกออนไลน์ แฮชแท็กไล่วูดวาร์ด แถมยังลามมาถึงตระกูลเกลเซอร์ เจ้าของสโมสรที่เป็นเป้าโจมตีของแฟนบอลว่อนสื่อสังคมออนไลน์ในหมู่แฟนบอล และครั้งนี้ก็ไม่ใช่หนแรกที่แฟนบอลวิจารณ์การทำงานของผู้บริหารสโมสร

ช่วงเวลา 6 ปีที่วูดวาร์ดเข้ามาบริหารทีม แฟนบอลมองว่าการลงทุนและการบริหารงานทรัพยากรในทีมไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ติด 4 อันดับแรกในตารางพรีเมียร์ลีกแค่ 2 ครั้งในช่วง 6 ปี สิ่งที่เป็นเป้ามากที่สุด คือ การเจรจาดีลของปีศาจแดง แม้จะมีดีลใหญ่ที่เกิดขึ้นจริง แต่โดยรวมแล้วก็เป็นส่วนน้อย ดีล (ใหญ่) ที่แฟนบอลต้องการกลับพลาดไปเสียหมด

เมื่อดูงบประมาณการลงทุนของทีมในแง่นักเตะ ช่วงหลังยุค เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ที่ทีมต้องใช้เวลาส่งไม้ต่อในการเปลี่ยนผ่าน บางปีที่ผลงานทีมต้องการเสริมจุดที่มีปัญหา แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทีมงานก็ไม่สามารถนำนักเตะมาอุดรอยรั่วที่ทีมต้องการ เช่นเดียวกับปีนี้

นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกับกระแสขับไล่วูดวาร์ดในครั้งนี้ แต่ไม่เห็นด้วยกับการโยงไปถึงเจ้าของสโมสร ตระกูลเกลเซอร์เป็นเจ้าของสโมสรสไตล์ไม่ก้าวก่ายกับงานบริหาร (ตราบใดที่ตัวเลขยังดีอยู่) และปล่อยให้กลุ่มงานบริหารระดับรองลงมาจากพวกเขาดูแลงาน กลุ่มงานบริหารที่ว่าก็นำมาโดยเอ็ด วูดวาร์ด ซึ่งเลื่อนขึ้นมาแทนที่เดวิด กิลล์ เมื่อปี 2013

เดิมทีแล้ววูดวาร์ด มีพื้นฐานความเชี่ยวชาญในด้านการเงินเช่นเดียวกับกิลล์ และเชื่อกันว่าเขามีส่วนใกล้ชิดกับดีลที่ทำให้ตระกูลเกลเซอร์เข้ามาเทกโอเวอร์สโมสร แต่หลังจากเข้ามาทำงานแล้ว โมเดลธุรกิจของสโมสรก็ถูกวิจารณ์เรื่อยมา โดยเฉพาะประเด็นเรื่องตำแหน่งประธานฝ่ายเทคนิค อีกหนึ่งตำแหน่งที่ทีมยังตามหาคนมาช่วยอยู่ ตั้งแต่ก่อนหน้าแต่งตั้งกุนซือที่มารับงานแทน โจเซ่ มูรินโญ่แล้ว หลังตลาดซื้อ-ขายนักเตะหน้าร้อนผ่านไปก็น่าจะกลับมาเดินหน้าอีกครั้ง

แม้วูดวาร์ดมักถูกมองว่า เป็น “แรงขับเคลื่อน” ของผลงานในแง่การดันรายได้ทางการค้าต่าง ๆ จาก 118 ล้านปอนด์ ในฤดูกาล 2008-2009 มาถึง 276 ล้านปอนด์ ในฤดูกาล 2017-2018 แต่ในแง่การนำรายได้มาบริหารจัดการแล้ว วูดวาร์ดน่าจะล้มเหลวในด้านนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

เมื่อมาถึงเหตุการณ์ในปีนี้ ยิ่งเหมือนขีดเส้นใต้ย้ำเรื่องการทำงานของวูดวาร์ด ที่เสมือนผู้นำทีมในแง่การบริหาร เมื่อ 12 เดือนก่อนในช่วงที่มูรินโญ่คุมทีมอยู่ก็เกิดสถานการณ์ใกล้เคียงกัน ไม่เพียงแค่เรื่องความสามารถในทางการเงิน อีกหนึ่งสิ่งที่แฟนบอลไม่ค่อยปลื้มในตัววูดวาร์ด คือ แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการค้าและผลงานในสนาม ซึ่งวูดวาร์ด (ที่เดิมทีก็ไม่ค่อยให้สัมภาษณ์มากนัก) เคยเอ่ยว่า “ผลงานในสนามไม่ค่อยมีผลต่อสิ่งที่ทีมสามารถดำเนินงานแง่การค้าในธุรกิจของสโมสรมากนัก”

ไม่ว่าผลจากการรณรงค์ครั้งนี้จะออกมาแบบไหนก็ตาม สาวกปีศาจแดงคงต้องลุ้นกับผลงานของทีมภายใต้ทรัพยากรชุดล่าสุดที่พวกเขาเพิ่งปรับเปลี่ยน ถึงจะเรียกได้ว่าหนักอกหนักใจไม่แพ้ปีก่อน ๆ แต่อย่างน้อยทีมก็

ไม่ได้ถึงขนาดย่ำแย่ พวกเขาสามารถแก้โจทย์ในแง่เกมรับได้น่าพอใจ ที่เหลือไปลุ้นกับการจัดการในแดนหน้า อันเป็นหน้าที่ของโอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์ ที่จะใช้ทรัพยากรแนวรุกซึ่งผสมผสานระหว่างดาวรุ่งอนาคตไกลกับผู้เล่นมากประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด