
รายงานข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ประชุมบอร์ดการบินไทย มีมติเห็นชอบให้ปรับระบบการจ่ายเบี้ยเลี้ยงบินต่างประเทศ และค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ของนักบินให้เป็นระบบเพย์เพอร์บล็อค (Payperblock) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล เพื่อแก้ไขปัญหานักบินลาออก ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2562 เป็นต้นไป
โดยระบบใหม่ จะทำให้ค่าตอบแทนนักบินเกิดความเป็นธรรม และสอดคล้องกับเวลาการปฏิบัติงานมากขึ้น
- “ทรู-ดีแทค” ถล่มโปร “คืนค่าเครื่อง” ย้ำรวมกันได้มากกว่า
- หวั่น EV ไทย…ซ้ำรอยจีน
- กรมอุตุฯเตือน 21-27 ก.ย. กทม.-ภาคกลาง-ตอ. ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง
ข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันมีนักบินประมาณ 1,200 ราย กำลังทยอยลาออกอย่างต่อเนื่อง เพราะอัตราผลตอบแทนหรือรายได้ ของนักบินการบินไทย ต่ำกว่าสายการบินคู่แข่งอื่นๆ และยังไม่เป็นธรรมมีความเหลื่อมล้ำกันมาก
โดยในปี 2561 มีนักบินลาออกแล้วประมาณ 50 คน และในปี 2562 มีแผนที่จะลาออกเพิ่มเติมอีก ซึ่งส่วนใหญ่ลาออกไปทำงานที่สายการบินคู่แข่งซึ่งมีค่าตอบแทนที่สูงกว่า โดยเฉพาะในสายการบินต้นทุนต่ำ ที่มีการขยายเส้นทางบิน และจัดซื้อเครื่องบินใหม่เป็นจำนวนมาก
“นักบินการบินไทย เริ่มลาออกตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบันรวม 8 ปีลาออกไปแล้ว 400 ราย โดยช่วงปี 2559-60 มีการลาออกมากถึง 130 คน ส่วนปีนี้ คาดว่าจะลาออก ราว 50 คน และปีหน้าก็เตรียมที่จะลาออกเพิ่ม
รายงานข่าวจาก บริษัทการบินไทย แจ้งว่า ที่ประชุมบอร์ด ยังไม่ได้มีการหารือเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ เนื่องจากประธานบอร์ดระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการนำเสนอแผน ซึ่งที่ผ่านมา ได้เสนอแนะให้ปรับแก้แผนบ้าง ขณะที่บอร์ดการบินไทย เห็นว่าต้องพิจารณาให้รอบคอบ
“คาดว่า จะนำเสนอแผนเข้าที่ประชุมบอร์ดได้ในเดือน ม.ค.2562 ซึ่งขั้นตอนการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ ต้องใช้เวลา 6-9 เดือน คัดเลือกและพิจารณา ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องปริมาณการความต้องการ และจำนวนสายการบินที่ให้บริการในตลาดด้วย
ที่มา ข่าวสดออนไลน์