
หลังจากที่กลุ่มสมาคมสายการบินฯเปิดเวทีแถลงข่าวทวงถามความคืบหน้าเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน รวมถึงขอให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการช่วยเหลือจากผลกระทบคำสั่งห้ามสายการบินทำการบินเข้า-ออกพื้นที่สีแดงเข้ม ทุกหน่วยงานของรัฐต่างเร่งออกมาตรการช่วยเหลือออกมาทันที
โดยบริษัทท่าอากาศยานไทย (ทอท.) หรือ AOT ผู้ให้บริการสนามบินหลักจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ภูเก็ต หาดใหญ่ (สงขลา) เชียงใหม่ และแม่ฟ้าหลวง (เชียงราย) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมามีมติอนุมัติขยายมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากมาตรการเมื่อ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มใช้ 1 เม.ย.66 รับเงินคนละกี่บาทต่อเดือน เช็กที่นี่
- กรมอุตุนิยมวิทยาเตือน 28 จังหวัด พายุฤดูร้อนถล่ม-ฟ้าผ่า-ลูกเห็บตก
- โปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา กลับเข้าดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.
1.ขยายระยะเวลาการเลื่อนชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการการใช้บริการในอาคารค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวกที่ครบกำหนดชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2563 ออกไปอีก 5 เดือน รวมระยะเวลาการเลื่อนชำระเป็น 23 เดือน และขยายระยะเวลางวดที่ครบกำหนดชำระตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2563 ออกไปอีก 5 เดือน รวมระยะเวลาการเลื่อนชำระเป็น 17 เดือน
ขณะที่ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการการใช้บริการในอาคาร ค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวกนั้นได้ขยายระยะเวลางวดที่ครบกำหนดชำระตั้งแต่เดือนเมษายน-กรกฎาคม 2563 ออกไปอีก 5 เดือน รวมระยะเวลาการเลื่อนชำระเป็น 23 เดือน และขยายระยะเวลางวดที่ครบกำหนดชำระตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2563 ออกไปอีก 5 เดือน รวมระยะเวลาการเลื่อนชำระเป็น 17 เดือน
2.การแบ่งชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการการใช้บริการในอาคาร ค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวกสำหรับงวดที่ขยายระยะเวลาการเลื่อนชำระ โดยไม่ถือว่าเป็นการชำระล่าช้า
3.ผู้ประกอบการและสายการบินที่เคยได้รับสิทธิการเลื่อนชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ค่าเช่าพื้นที่ค่าบริการการใช้บริการในอาคาร ค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม หากประสงค์จะรับสิทธิการขยายระยะเวลาการเลื่อนชำระและการแบ่งชำระ จะต้องทำหนังสือขอการรับสิทธิฉบับใหม่ให้ ทอท.
และ 4.ทอท.จะสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือตามรายละเอียดข้างต้น ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือมีการเปิดน่านฟ้าก่อนการคาดการณ์ไว้
เช่นเดียวกับกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ผู้บริหารท่าอากาศยานรวม 28 แห่งทั่วประเทศไทยที่ระบุว่า ทย.ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการและสายการบิน โดยดำเนินการหามาตรการช่วยเหลือมาโดยตลอด ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่และระเบียบที่สามารถปฏิบัติได้
โดยมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลาย ๆ ประเด็น กล่าวคือ ในส่วนของผู้ประกอบการสายการบิน กรมท่าอากาศยานได้ลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน (landing charge) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (parking charge) ในอัตราร้อยละ 50 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563
และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยานร้อยละ 50 และยกเว้นการเก็บค่าบริการที่เก็บอากาศยานจนถึง 31 ธันวาคม 2564 ส่วนของค่าปรับที่เกิดจากการชำระล่าช้านั้นจะรับไปพิจารณาตามฐานอำนาจทางกฎหมาย
นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการร้านค้าภายในท่าอากาศยานก็ได้ลดอัตราค่าเช่าพื้นที่ (อัตราเก่า) ในอัตราร้อยละ 50 มาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 และในปีนี้กรมธนารักษ์ได้มีคำสั่งให้ ทย.จัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุในภูมิภาค โดยให้กำหนดอัตราค่าเช่าใหม่ ซึ่งก็ได้มีการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการเรียกเก็บอัตราค่าเช่าใหม่ในอัตราขั้นต่ำที่สุดที่สามารถทำได้ เบื้องต้นจะมีผลจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564
อย่างไรก็ตาม จะต้องประเมินสถานการณ์และพิจารณาแนวทางมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ส่วนบริษัทวิทยุการบินฯ หรือ บวท.ที่ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา บวท.ให้ความร่วมมือภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือสายการบินที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามมติคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ในหลาย ๆ ประเด็น
เช่น ยกเว้นค่าปรับจากการชำระล่าช้าของสายการบินตั้งแต่มีนาคม-กันยายน 2563 ปรับลดค่าบริการการเดินอากาศลง 50% สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และ 20% สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศช่วงเมษายน-ธันวาคม 2563 หรือตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 เรียกเก็บค่าบริการสำหรับเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศเต็มจำนวน โดยเรียกเก็บเพียง 50% ก่อน และขยายเวลาชำระหนี้ในส่วนที่เหลืออีก 50% ออกไปเป็นระยะเวลา 6 รอบบิล เป็นต้น
มาตรการทั้งหลายทั้งปวงนี้ทุกหน่วยงานล้วนมีเป้าหมายเพื่อให้สายการบินและผู้ประกอบการยังคงสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้