AIS ปรับกลยุทธ์ทันสถานการณ์ พร้อมรับมือยุค New Normal

ในห้วงเวลาที่มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายภายใต้บททดสอบที่ชื่อว่า โควิด-19 ความสามารถในการปรับตัวได้ไวเท่าทันสถานการณ์เป็นหัวใจสำคัญที่จะให้สามารถก้าวข้ามผ่านบททดสอบนี้ไปได้ หนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่มีบทบาทไม่น้อยคือ “เทคโนโลยี” เพราะสำหรับยุคนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของวิถีชีวิตให้ต่างออกไปจากเดิม แต่การอุบัติขึ้นของโควิด-19 เหมือนเป็นอัตราเร่งที่ทำให้ผู้คนต้องปรับตัวให้รวดเร็วที่สุดท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว ภายใต้นิยาม “ความปกติใหม่ หรือ New Normal”

ไม่ต่างจากเอไอเอส องค์กรด้านโทรคมนาคมเบอร์หนึ่งของไทย ต้องปรับตัวภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างสรรค์บริการที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการให้กับลูกค้า และมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้ใช้บริการ

  • เสริมทัพดิจิทัลแพลตฟอร์มสร้างประสบการณ์บันเทิง

เปิดศักราชปี 2021 เอไอเอส จึงสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ให้กับคนไทยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ด้วยการฉลองรับ  ปีใหม่ในรูปแบบเสมือนจริง “AIS 5G The Future of Virtual Celebration 2021” เป็นครั้งแรก ปรับรูปแบบจัดเคานท์ดาวน์เข้าสู่ปีใหม่จากออฟไลน์สู่ออนไลน์ นำเอาเทคโนโลยีที่เอไอเอสมีรังสรรโชว์สุดพิเศษบนแพลตฟอร์ม AIS PLAY ให้ประสบการณ์เสมือนจริงจริง (Virtual)  โดยรับชมได้แบบ 360° ผ่านเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) เสมือนได้นั่งอยู่ในบรรยากาศของการเฉลิมฉลองเข้าปีใหม่พร้อมกับศิลปิน ดาราที่ขนการแสดงมาให้รับชมอย่างคับคั่ง ถือเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงบรรยากาศความรื่นเริงของการเฉลิมฉลองเข้าปีใหม่แต่ปลอดภัยเหมาะกับภาวะในปัจจุบัน

ทั้งนี้จากการประกาศว่าเอไอเอสจะผันตัวเป็น ผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ (Digital life Service Provider) สิ่งหนึ่งที่สำคัญและเอไอเอสมุ่งมั่นจะพัฒนาคือ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม อันจะเป็นรากฐานสำคัญให้เอไอเอสได้ต่อยอด พัฒนาบริการลูกค้าอย่างตรงใจ หนึ่งในนั้นคือเป็นผู้ให้บริการ “ดิจิทัลแพลตฟอร์มคอนเทนต์”

ทำไมดิจิทัลแพลตฟอร์มคอนเทนต์จึงน่าสนใจ? จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและสถาบันไอเอ็มซี ระบุว่า มูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์และบิ๊กดาต้าของไทยในปี 2561-2562 (แอนิเมชัน เกม คาแรคเตอร์ และบิ๊กดาต้า) มีมูลค่ารวม 31,080 ล้านบาท โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11.51% ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนได้ดีว่าตลาดคอนเทนต์มีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ 5G จะช่วยส่งเสริมอัตราการเติบโตของตลาดดิจิทัลคอนเทนต์

ด้วยความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายของเอไอเอสพร้อมให้บริการ 5G บนเครือข่ายมากที่สุดกว่า 1420 MHz ผสานด้วยแพลตฟอร์ม AIS PLAY เพื่อตอบรับโอกาสการเติบโตของตลาด สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปรับชมบริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งเพิ่มมากขึ้น ตอบสนองผู้บริโภคด้วยคอนเทนต์ที่หลากหลาย ครบทุกความบันเทิง ไม่ว่าจะหนัง     ซีรีส์ การ์ตูน สารคดี กีฬา นอกจากนี้เอไอเอสยังนำเสนอแอปพลิเคชัน AIS 5G Cloud games ที่สามารถเล่นเกมพีซีและคอนโซลกว่า 360 เกมในแอปเดียว เสริมกับพลังของ 5G จะทำให้เล่นเกมได้ลื่น ไว ไม่แลค  

  • Digitalization drive the way of life

ดิจิทัลเข้ามาสั่นสะเทือนโลกใบเดิม ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนผันแปร รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้คนปรับไปตามโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ในโจทย์ท้าทายอย่างโควิด-19 ‘เทคโนโลยี’ ถูกยกให้เป็นผู้ช่วยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงาน นำเอาความสามารถของเทคโนโลยีมาปรับยุคใช้กับสถานการณ์ขณะนี้

สำหรับเอไอเอสได้เตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรด้วยแผนสำรองในการทำงาน (Business Continuity Plan หรือ BCP ซึ่งในยุค Digital Transformation ในจุดนี้มีส่วนอย่างมากที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร ให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ในช่วงโควิด-19 เสริมโครงสร้างด้าน ICT ของบริษัท สร้างความแข็งแกร่งของระบบการทำงาน ข้อมูลต่าง ๆ ซัพพอร์ตขึ้นบน Cloud ใช้ระบบ VPN สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงาน เชื่อมต่อแอปพลิเคชันภายในองค์กรทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง Internet Bandwidth สามารถปรับความรวดเร็วได้ตามความต้องการ Virtual workspace จำลองพื้นที่ทำงาน ที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดก็สามารถทำงานได้เสมือนในออฟฟิศ เป็นต้น เพื่อให้การทำงานของเอไอเอสนั้นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด พร้อมที่จะให้บริการลูกค้าเอไอเอสได้ทุกเมื่อไม่ขาดตอน

  • ผันตัวเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลไลฟ์ พร้อมขับเคลื่อน 5G

ภายใต้ความตั้งใจของ AIS ที่มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ (Digital life service provider) จึงเร่งพัฒนาความแข็งแกร่งของธุรกิจ ในการให้บริการด้านดิจิทัลได้อย่างตรงจุด ขับเคลื่อนและพัฒนาแสวงหาช่องทางใหม่ ๆ ในการให้บริการได้ตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ ปัจจุบันเอไอเอสได้ขับเคลื่อนบริการดิจิทัลเซอร์วิส ครอบคลุมทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร ทั้งหมด 5 ด้าน คือ ธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ (Mobile Money)  วิดีโอแพลตฟอร์ม (VDO Platform) คลาวด์สำหรับองค์กร (Business Cloud) บริการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (IoT) และบริการแพลตฟอร์มอื่น ๆ

ด้วยความคิดที่ว่า “ที่ 1 ดูแลด้วยใจ ให้ชีวิตดิจิทัล” เพิ่มช่องทางบริการทางออนไลน์ (Online Channel) ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน myAIS ทำให้ลูกค้าสามารถรับบริการของเอไอเอสได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ศูนย์บริการ สอดคล้องกับช่วงเวลาที่โรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด ช่วยลดความเสี่ยงให้กับลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังศูนย์บริการ ทั้งนี้เมื่อลูกค้าประสบกับปัญหาด้านการใช้บริการ นอกจากติดต่อเข้ามาที่คอลเซ็นเตอร์ 1175 แล้ว เอไอเอสยังมีช่องทาง Ask Aunjai ที่ผสานเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) แชตบอต รวมถึง Smart Knowledge Base มาใช้ตอบคำถามให้กับผู้ใช้บริการของเอไอเอสได้อุ่นใจเมื่อพบปัญหาที่เกิดจากการใช้งาน โดยมีตัวเลขผู้ใช้บริการ Ask Aunjai เพิ่มขึ้นถึง      3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยเอไอเอสยังมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนแอปพลิเคชัน my AIS ให้เป็น Everyday Application อันดับหนึ่งด้วย

ในยุคที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ประจำวัน AIS สร้างปรากฏการณ์จัดงาน AIS 5G Thailand Virtual Expo โดยได้ขนเอาสินค้าไอที สินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ อาหาร จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและร้านค้าต่าง ๆ 500 ร้าน จับจ่ายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช้อปได้ปลอดภัย มั่นใจไม่เสี่ยงโรค เปิดประสบการณ์ใหม่แห่งการช้อปปิ้งออนไลน์แบบเสมือนจริง (Virtual) มุมมอง 360 องศา เหมือนได้เดินเลือกซื้อสินค้าจริง ๆ ในงานเอ็กซ์โป โดยจัดไป 5 วัน มีผู้เยี่ยมชมงานกว่า 9.7 แสนคน จากทั่วประเทศ แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของงานแสดงสินค้ารูปแบบใหม่


ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันแปรไปของโลก เอไอเอส พร้อมที่จะปรับตัว เปลี่ยนองค์กรให้รวดเร็วเพื่อพร้อมรองรับในทุกสถานการณ์ พัฒนาช่องทางการให้บริการลูกค้า ตอบโจทย์ความต้องการเพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้มากกว่า