“วิกฤตพม่า” ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ยึดยาบ้า “นิวไฮ” กบฏชาติพันธุ์หาเงินทำสงคราม

เจ้าหน้าที่ยืนอยู่บริเวณด้านหน้ากองยาผิดกฎหมายที่กำลังถูกไฟเผาไหม้ในระหว่างพิธีทำลายยาเสพติด ในโอกาสวันต่อต้านการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบขนยาเสพติดโลก ในนครย่างกุ้ง เมื่อ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา (AFP)

ผลจากสงครามกลางเมืองในเมียนมาเลวร้ายลง สถานการณ์การระบาดของเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้ารุนแรงขึ้น หลังเจ้าหน้าที่ยึดของกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปีที่แล้วสูงทุบสถิติ และกำลังเดินหน้าทำลายสถิติเก่าอีกครั้งในปี 2024 

วันที่ 23 กรกฎาคม 2024 นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า การแพร่กระจายของยาผิดกฎหมายในเอเชียกำลังรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งในเมียนมาทำให้การกระจายของยาผิดกฎหมายข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ยาเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้าที่เจ้าหน้าที่ยึดได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปีที่แล้วสูงทุบสถิติ

เหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาชายแดนกับผู้ลักลอบค้ายาเสพติดในจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบยากระตุ้นประสาท 3.2 ล้านเม็ดในรถบรรทุกที่ถูกทิ้งไว้ หลังจากผู้ลักลอบค้ายาหลบหนีเจ้าหน้าที่ ซึ่งสื่อหลายสำนักรายงานว่า การจับกุมยาดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นปกติในประเทศไทย ซึ่งมีเครือข่ายระบบขนส่งที่พัฒนาแล้วอย่างดี ทำให้ไทยกลายเป็นฐานแรกสำหรับการลักลอบขนยาผิดกฎหมาย

ยาถูกขนไปยังชาติอาเซียนอื่น ๆ และชาติพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ผ่านทางท่าเรือขนสินค้าระหว่างประเทศที่แหลมฉบัง ทางตะวันออกของประเทศ รวมถึงขนผ่านชายแดนมาเลเซียและกัมพูชา

จากรายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา (United Nations Office on Drugs and Crime) ระบุว่า เมทแอมเฟตามีนราว 190 ตันถูกยึดได้ในภูมิภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2023 เพิ่มขึ้นราว 30% เมื่อเทียบกับปี 2022 และนับว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มทุบสถิติมาเรื่อย ๆ ในปี 2002

สงครามกลางเมืองเมียนมาเลวร้ายลงอยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นอย่างมาก กลุ่มชาติพันธุ์อาวุธสู้รบกับกองทัพพม่า ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลนางออง ซาน ซู จี ในปี 2021 ใช้เงินที่ได้จากการขายเครื่องดื่มหรือยากระตุ้นประสาทและยาเสพติดไปทำสงคราม รัฐบาลทหารยังสูญเสียการควบคุมในบางพื้นที่ด้วย

Advertisment

ขณะที่ประมาณการปริมาณผลิตฝิ่นของเมียนมาเกิน 1,000 ล้านตันในปี 2023 มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001

สามเหลี่ยมทองคำ พื้นที่พรมแดนไทย เมียนมา และ สปป.ลาว เป็นฐานการผลิตใหญ่สำหรับยากระตุ้นประสาทและยาเสพติด สามประเทศรวมกันยึดเมทแอมเฟตามีนได้มากกว่า 70% ของจำนวนเมทแอมเฟตามีนที่ยึดได้ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปีที่แล้ว

Advertisment

“จำนวนเมทแอมเฟตามีนที่กำลังถูกผลิตในเมียนมาและลักลอบส่งออกจากรัฐฉานของเมียนมาในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำนับเป็นปรากฏการณ์อย่างแท้จริง และจำนวนที่ผลิตและลักลอบขนยาในปี 2024 ดูเหมือนเข้าใกล้ทุบสถิติอีกครั้ง” เจอรามี ดักลาส ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติกล่าว

สำหรับประเทศไทย ในความพยายามที่จะปราบปราม ได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีน ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดสำหรับการครอบครองที่มีความผิดทางอาญาจาก 5 เม็ดเป็น 1 เม็ด อีกทั้งกฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้ทำโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ซื้อและขายเมทแอมเฟตามีน แต่ผู้ใช้ที่ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษามากกว่าที่จะเป็นอาชญากร ทำให้กำแพงหรืออุปสรรคในเชิงจิตวิทยาที่จะได้รับยาลดต่ำลง

ราคาขายปลีกในไทยลดลงโดยทั่วไป เนื่องจากมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น โดย 1 เม็ดราคา 1.44 ถึง 2.80 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 50-100 บาท ในปี 2022 แต่ราคาร่วงลงไปสู่เม็ดละ 81 เซนต์ หรือราว 0.21 สตางค์ ไปจนถึง 2.70 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 97 บาท

ไทยยังเผชิญกับความยากลำยากเกี่ยวกับประเด็นการใช้กัญชา ซึ่งรัฐบาลกำหนดไม่ให้ความผิดทางอาญาอย่างเต็มที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดการณ์ว่าตลาดกัญชาในประเทศจะมีมูลค่าถึง 42,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 50% จาก 28,100 ล้านบาท

กระทรวงสาธารณสุขไทยกล่าวว่า จำนวนคนที่ร้องเรียนถึงอาการของการเสพกัญชา เช่น สติปัญญาที่เปลี่ยนไป เนื่องจากการสูบกัญชาเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า โดยเฉลี่ยรายเดือนเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการยกเลิกความผิดทางอาญา กระทรวงสาธารณสุขไทยยังกล่าวอีกว่า กัญชาอาจเป็นประตูสู่ยาที่ทำให้คนหันไปใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงมากขึ้นอย่างเมทแอมเฟตามีน และทำให้การใช้ยาดังกล่าวแพร่หลาย

นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการบริหารศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า การใช้กัญชาเสี่ยงทำให้ป่วยทางจิต