วิกฤติ! น้ำแข็งทวีปแอนตาร์กติกาละลายต่อเนื่อง! 25 ปี ละลายไปแล้วกว่า 3 ล้านล้านตัน

Reuters/Alexandre Meneghini/File Photo

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาละลายลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลโลกเพิ่มขึ้นเกือบร้อยเซนติเมตร นับตั้งเเต่ช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งทีมนักวิทยาศาตร์นานาชาติ ระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าว อาจมีความเสี่ยงต่อชายฝั่งหมู่เกาะแปซิฟิกไปยังฟลอริด้า

ทวีปแอนตาร์กติกามีน้ำแข็งมากพอที่จะยกระดับน้ำทะเลได้ถึง 58 เมตร (190 ฟุต) เเละหากละลายไปจนหมด ความไม่เเน่นอนเเละผลกระทบอาจส่งผลไปตั้งเเต่ เกาะกรีนแลนด์ ไปยังเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นวิกฤติที่ใหญ่ที่สุดท่ามกลางภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์กว่า 84 คน กล่าวถึงวิกฤติดังกล่าว ว่า น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาละลายไปเกือบ 3 ล้านล้านตัน ตั้งเเต่ปี 1992-2017 ทั้งนี้ในวารสาร Nature ระบุว่า การละลายตามข้อมูลจากดาวเทียมและการวัดอื่นๆ มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลขึ้น 0.76 ซม. ตั้งแต่ปี 1992 การละลายของน้ำเเข็งที่รวดเร็วนั้นเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ

ตั้งเเต่ปี 2012 น้ำเเข็งละลายไปแล้วกว่า 219 พันล้านตัน จาก 76 พันล้านปีก่อน โดยศาสตราจารย์ แอนดริว สตีฟเพิร์ด จาก University of Leeds และหัวหน้ารายงานกล่าวกับรอยเตอร์ส ว่า การเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเป็นเรื่องน่าแปลกใจอย่างมาก

REUTERS/Alexandre Meneghini/File Photo

อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเพียง 360 มิลลิเมตร เทียบเท่ากับ 360 พันล้านตันของน้ำแข็งที่ละลาย หรือ เทียบเท่าน้ำเเข็งยาวขนาด 7 กิโลเมตร

โดยรวมแล้วระดับน้ำทะเลในโลกได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20 เซนติเมตร ในศตวรรษที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวของน้ำที่มีอยู่แล้วในมหาสมุทร เเละความอุ่นในพื้นที่ ซึ่งการประเมินจากสหประชาชาติในปี 2014 กล่าวว่า ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มสูงขึ้นในศตวรรษนี้กว่า 30 เซนติเมตร เเละเกือบ 1 เมตร

สตีฟเพิร์ด กล่าวว่า ขณะนี้ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นสถานที่เดียวที่เพิ่มระดับน้ำทะเลโลก ประมาณ 15 เซนติเมตรในปี 2100 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เเม้จะฟังดูเล็กน้อย เเต่ผลกระทบเวลาฝนตกจะทำให้น้ำท่วมชายฝั่ง เเละอาจคุกคามไปถึงนิวยอร์ก เซี่ยงไฮ้ เเละประเทศที่อยู่ต่ำจากมหาสมุทรเเปซิฟิกไปยังเนเธอเเลนด์

Michiel van den Broeke ศาสตราจารย์อุตุนิยมวิทยาขั้วโลกที่มหาวิทยาลัย Utrecht ในประเทศเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า เรากำลังเฝ้าดูรายงานเหล่านี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะเป็นเเนวทางในการปกป้องชายฝั่งเนเธอร์เเลนด์

ภายใต้ข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศของกรุงปารีสเมื่อปี 2015 รัฐบาลเกือบ 200 แห่งได้ตั้งเป้าหมายที่จะยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในศตวรรษนี้ เพื่อจำกัดความร้อน ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีแผนจะดึงข้อตกลงออกไปและมุ่งเน้นไปที่ถ่านหินในสหรัฐฯ