บลูมเบิร์ก เปิดลิสต์ตระกูลมั่งคั่งที่สุดในเอเชีย ‘เจียรวนนท์’ รองแชมป์ แนะวิธีรับมือทรัมป์

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group)

บลูมเบิร์ก (Bloomberg) เปิดเผยลิสต์ตระกูลร่ำรวยที่สุดในเอเชียจำนวน 20 ตระกูลประจำปี 2025 และความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐตั้งแต่อดีตที่น่าสนใจ ตลอดจนความเสี่ยงและวิธีรับมือโดยสังเขป

อันดับ 1 ตระกูล อัมบานี (Ambani) จากกลุ่ม Reliance Industries ความมั่งคั่ง 90.5 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 2 ตระกูล เจียรวนนท์ (Chearavanont) จากซีพี กรุ๊ป ความมั่งคั่ง 42.6 พันล้านดอลลาร์ (ราว 1.4 ล้านล้านบาท)

อันดับ 3 ตระกูล ฮาร์โตโน (Hartono) จากบริษัท Djarum, Bank Central Asia มูลค่าความมั่งคั่ง 42.2 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 4 ตระกูล Mistry จาก Shapoorji Pallonji Group มูลค่าความมั่งคั่ง 37.5 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 5 ตระกูล Kwok จากบริษัท Sun Hung Kai Properties ความมั่งคั่ง 35.6 พันล้านดอลลาร์

ADVERTISMENT

อันดับ 6 ตระกูล Tsai จากบริษัท Cathay Financial, Fubon Financial ความมั่งคั่ง 30.9 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 7 ตระกูล Jindal บริษัท OP Jindal Group มูลค่าความมั่งคั่ง 28.1 พันล้านดอลลาร์

ADVERTISMENT

อันดับ 8 ตระกูล อยู่วิทยา (Yoovidhya) จาก TCP Group มูลค่าความมั่งคั่ง 25.7 พันล้านดอลลาร์ (ราว 872,000 ล้านบาท)

อันดับ 9 ตระกูล Birla บริษัท Aditya Birla Group ความมั่งคั่ง 23.0 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 10 ตระกูลอี (Lee) จากซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ความมั่งคั่ง 22.7 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 11 ตระกูลจาง (Zhang) จากบริษัท China Hongqiao, Shandong Weiqiao Textile ความมั่งคั่ง 21.9 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 12 ตระกูล Cheng จากบริษัท New World Development, Chow Tai Fook ความมั่งคั่ง 21.8 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 13 ตระกูลบาจาจ (Bajaj) บริษัท Bajaj Group ความมั่งคั่ง 20.1 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 14 ตระกูล Pao / Woo จากบริษัท BW Group, Wheelock ความมั่งคั่ง 19.6 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 15 ตระกูล Kweks บริษัท Hong Leong Group ความมั่งคั่ง 17.9 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 16 ตระกูล Kadoorie จาก CLP Holdings ความมั่งคั่ง 17.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อันดับ 17  ตระกูล จิราธิวัฒน์ (Chirathivat) จากเซ็นทรัล กรุ๊ป (Central Group)
ความมั่งคั่ง 15.7 พันล้านดอลลาร์ (ราว 533,000 ล้านบาท)

อันดับ 18 ตระกูล Hinduja จาก Hinduja Group ความมั่งคั่ง 15.2 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 19  ตระกูล Sy จากบริษัท SM Investments ความมั่งคั่ง 15.1 พันล้านดอลลาร์

อันดับ 20 ตระกูลลี (Lee) จากบริษัท Lee Kum Kee ความมั่งคั่ง 15.0 พันล้านดอลลาร์

เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเป็นสมัยที่ 2 ทรัมป์ได้สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก ด้วยการโจมตีทางการทูต ภัยคุกคามจากภาษีศุลกากร และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งบ่งชี้ว่าทั้งวิธีการบริหารของเขาและผลที่ตามมายังคงมีพลังและคาดเดาไม่ได้เช่นเดิม

สิ่งเดียวที่ดูเหมือนจะแน่นอนคือ 4 ปีต่อจากนี้ไม่น่าจะผ่านไปอย่างเงียบ ๆ สำหรับครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย

“มันจะวุ่นวาย มันจะเอาแน่เอานอนไม่ได้ มันจะแปลกประหลาด” นิรมาลยา กุมาร ศาสตราจารย์ด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University) กล่าว

รายงานระบุถึงความสัมพันธ์ของตระกูลร่ำรวยและทรัมป์ ยกตัวอย่าง ครอบครัว Kwok จากฮ่องกง (อันดับ 5 ) และตระกูล Kweks จากสิงคโปร์และมาเลเซีย (อันดับ 15) ได้พบกับทรัมป์เมื่อเขาพยายามหาผู้ซื้อโรงแรม Plaza ในนิวยอร์กในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นหลายสิบปีก่อนที่ทรัมป์จะดำรงตำแหน่งวาระแรก ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด และเมื่อมองย้อนกลับไป ก็กลายเป็นเรื่องตลก ก่อนที่ตระกูล Kweks จะซื้อโรงแรมร่วมกับราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียในที่สุด

ตระกูล Cheng (อันดับ 12) เคยช่วยทรัมป์ให้พ้นจากปัญหาทางการเงินด้วยการซื้อที่ดินริมฝั่งแม่น้ำฮัดสันของแมนฮัตตันร่วมกับนักลงทุนที่ร่ำรวยรายอื่น ๆ ปัจจุบัน ตระกูล Cheng ซึ่งเป็นตระกูลที่ควบคุมอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของฮ่องกง กำลังประสบปัญหาความเชื่อมั่น ซึ่งบริษัทนิวเวิลด์ ดีเวลอปเมนท์ (New World Development Co.) ของตระกูลกำลังเผชิญกับปัญหาการปรับโครงสร้างหนี้และราคาพันธบัตรที่ร่วงลงอย่างหนัก

คำถามใหญ่ที่สุดที่ค้างคาใจคนรวยในเอเชียคือ ภาษีศุลกากรของทรัมป์กินเวลานานและครอบคลุมแค่ไหน รวมถึงภาษีตอบโต้ที่รัฐบาลชาติอื่น ๆ กำหนดไว้จะเป็นอย่างไร ตระกูลจาง (อันดับ 11) ผู้ก่อตั้งบริษัทไชน่า หงเฉียว กรุ๊ป (China Hongqiao Group) ผู้ผลิตอะลูมิเนียม และตระกูลอี (อันดับ 10) ของบริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ (Samsung Electronics) ของเกาหลีใต้ อาจมีความเสี่ยงหากมาตรการเหล่านี้ยืดเยื้อต่อไป

ภาษีศุลกากรจะช่วยเร่งกระแส “จีนบวกหนึ่ง” โดยเปลี่ยนทิศทางการลงทุนจากต่างประเทศมาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามข้อมูลของบริษัทวิเคราะห์หลักทรัพย์ เมย์ แบงก์ ซีเคียวริตี้ (Maybank Securities) ซึ่งระบุว่า แผนกการผลิตอาหารของซีพี กรุ๊ป (CP Group) ซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลเจียรวนนท์ของไทย (อันดับ 2) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีโอกาสชนะมากที่สุด

ศาสตราจารย์กุมารมองเห็นความเสี่ยงอื่น ๆ ในอนาคตอีก กล่าวคือภาษีศุลกากรอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัว ซึ่งอาจทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจของทรัมป์อาจกระตุ้นให้ประเทศอื่น ๆ ลดการพึ่งพาจีนและประเทศอื่น ๆ และสำหรับในแง่ดี กลุ่มบริษัทในเอเชียมีแนวโน้มที่จะกระจายความเสี่ยงและถือหุ้นจำนวนมาก ซึ่งช่วยป้องกันความผันผวนของตลาดได้

บรรดามหาเศรษฐีชาวอินเดียหลายคนมีความหวังที่เดิมพันว่า ทัศนคติที่ไม่ไว้วางใจของทรัมป์ที่มีต่อจีน และความสัมพันธ์อันอบอุ่นกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี จะเป็นดั่งพรแก่พวกเขา หลายคนออกแถลงการณ์แสดงความยินดีไม่นานหลังจากมีการประกาศผลการเลือกตั้ง

“เราขอแสดงความยินดีกับประธานาธิบดีทรัมป์ที่ได้รับชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์” กุมาร เบอร์ลา (อันดับ 9) ประธานกลุ่มอดิตยา เบอร์ลา (Aditya Birla) ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายในการผลิตปูนซีเมนต์ แร่เหล็ก และอะลูมิเนียมกล่าวในแถลงการณ์

เกาตัม อดานี ประธานกลุ่มอดานี (Adani) ซึ่งกำลังถูกกล่าวหาจากสหรัฐในข้อกล่าวหาทุจริต เรียกทรัมป์ว่า “เป็นศูนย์รวมของความดื้อรั้นที่ไม่ท้อถอย ความอดทนที่ไม่สั่นคลอน และความมุ่งมั่นที่ไม่ลดละ” (อดานี มหาเศรษฐีรุ่นแรกที่ไม่ได้ติดอันดับตระกูลร่ำรวยของบลูมเบิร์ก ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวของสหรัฐ)

ขณะเดียวกัน มูเกช อัมบานี (อันดับ 1) และนิตา ภรรยาเข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งของทรัมป์

เศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชียควรเตรียมตัวอย่างไรสำหรับวาระที่สองของทรัมป์ กุมารกล่าวตอบว่า ใครสักคนที่สามารถแยกแยะนโยบายจากการคุยโวโอ้อวดได้

“คุณต้องมองเข้าไปในใจของทรัมป์” ศาสตรจารย์กุมารกล่าว ซึ่งเห็นได้จากมหาเศรษฐีจำนวนมากที่เดินทางไปรัฐฟลอริดาเพื่อพบกับประธานาธิบดีทรัมป์ “ผมแนะนำให้พวกเขาเดินทางไปมาร์อาลาโกคลับ (เมืองปาล์ม บีช) และจองห้องพักเสีย” ศาสตราจารย์กุมารกล่าวทิ้งท้าย