
ดัชนีผู้บริโภคสหรัฐในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี 6 เดือน ไปเน้นย้ำสารของธนาคารกลาง (เฟด) ว่ายังคงไม่รีบเร่งที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้
รอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่า ดัชนีผู้บริโภคในเดือนมกราคมของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง โดยชาวอเมริกันต้องเผชิญกับราคาสินค้าและบริการหลายประเภทที่สูงขึ้น ตอกย้ำสารจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ว่าไม่รีบเร่งที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้นในเศรษฐกิจสหรัฐ
นับเป็นเงินเฟ้อที่ร้อนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ตามรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากธุรกิจต่าง ๆ ที่ปรับขึ้นราคาสินค้าในช่วงต้นปี ซึ่งเห็นได้จากราคายาตามใบสั่งแพทย์ที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์และการเพิ่มขึ้นของค่าประกันภัยรถยนต์
ดัชนีผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม 2025 พุ่งสูงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี 6 เดือน โดยเพิ่มขึ้น 0.5% นับว่าเพิ่มมากที่สุดเมื่อเทียบกับดัชนีผู้บริโภคของเดือนสิงหาคม 2023 และหลังจากตัวเลข CPI ของเดือนธันวาคม 2024 เพิ่ม 0.4%
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการที่ภาคธุรกิจปรับขึ้นราคาสินค้าตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของปี ทำให้เกิดแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ววัน
นอกจากราคายารักษาโรคและเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้วนั้น ค่าที่พักรวมถึงโรงแรมพุ่ง 0.4% คิดเป็นเกือบ 30% ของการเพิ่มขึ้นของ CPI ในขณะเดียวกัน ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 0.4% จากตัวเลข 0.3% เมื่อเดือนธันวาคม 2023
อีกทั้งราคาสินค้าในร้านขายของชำพุ่งขึ้น 0.5% โดยเฉพาะราคาไข่ที่สูงขึ้นถึง 15.2% เป็นตัวเลขที่มากที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2015 ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาไข่ไก่ขาดแคลน หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
ราคาของสินค้าเนื้อ ไก่ ปลา เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงสินค้าประเภทนมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนั้น ราคาน้ำมันเบนซินตลอดจนก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นกว่าเดิม 1.8% โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า CPI จะเพิ่มขึ้น 0.3% และสูงขึ้น 2.9% เมื่อเทียบเป็นปีต่อปี
ปัญหาเงินเฟ้อสูงจะเป็นปัจจัยท้าทายต่อนโยบายลดค่าครองชีพและปรับลดภาษี ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้หาเสียงไว้ นอกจากนั้น นโยบายผู้อพยพจะทำให้เกิดปัญหาแรงงานขาดแคลน และส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน อาทิ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
“ภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งเราเห็นในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้วนั้นไม่ปรากฏให้เห็นอีกต่อไปแล้ว” สก็อตต์ แอนเดอร์สัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำสหรัฐจากบริษัทวาณิชธนกิจ BMO Capital Markets กล่าว และยังระบุอีกว่า ปัญหาสำหรับเฟดก็คือ เหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเดือนเดียว แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน
นอกจากนี้ ในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนมกราคม ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 3.0% (YOY) ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2024 เทียบกับ 2.9% ในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้า และมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ 2.9% (YOY) ซึ่งการเพิ่มขึ้นเกินคาดของเงินเฟ้อและสารของธนาคารกลางสหรัฐย้ำว่ายังไม่รีบเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้