“แบงก์เวียดนาม” รุก ตปท. รับมือธุรกิจขยายลงทุน

เวียดนาม กำลังเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้รุกตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการเงินการธนาคาร เพื่อรองรับการเปดิ ตลาดลงทนุ ของนักธุรกิจเวียดนามที่แสวงหาผลประโยชน์จาก FTA หรือข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศมากขึ้น

เวียดนามนิวส์รายงานว่า ธนาคารเวียดนามหลายแห่งกำลังเร่งขยายกิจการในต่างแดน สัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารเพื่อการค้าต่างประเทศของเวียดนามหรือ “เวียดคอมแบงก์” เปิดสาขาในนครหลวงเวียงจันทน์ ของ สปป.ลาว

ทำให้ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ของเวียดนาม 6 แห่ง ที่เปิดสาขาใน สปป.ลาวได้แก่ ธนาคารทหารเวียดนาม (MB),เวียดคอมแบงก์, ไซ่ง่อน-ฮานอยแบงก์(SHB), ธนาคารเพื่อการลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม (BIDV), ธนาคารเพื่ออตุ สาหกรรมและการคา้ เวยี ดนาม(Vietinbank) และไซ่ง่อนเทืองตินแบงก์(Sacombank)

รายงานระบุว่า “สปป.ลาว” คือจุดหมายปลายทางการลงทุนอันดับหนึ่งของเวียดนามในตลาดอาเซียน ซึ่งกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เผยว่าในปี 2017สปป.ลาวให้ใบอนุญาตลงทุน 423 โครงการแก่นักลงทุนเวียดนาม ด้วยมูลค่ากว่า5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นโปรเจ็กต์โรงไฟฟ้าพลังงาน้ำ,อุตสาหกรรมเหมืองแร่, ระบบการขนส่ง,สวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน และธุรกิจบริการ

“ฟาม มานห์ แถ่ง” รองผู้อำนวยการเวียดคอมแบงก์ กล่าวว่าแนวโน้มที่นักธุรกิจเวียดนามจะเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว มีมากขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเวียดคอมแบงก์จะเน้นบริการสำหรับนักธุรกิจที่ต้องการเข้าไปเจาะตลาด สปป.ลาว

นอกจากนี้ เวียดคอมแบงก์ยังมีสำนักงานและสาขาให้บริการในกรุงปารีส,มอสโก และสิงคโปร์ ทั้งวางแผนจะเปิดสาขาในออสเตรเลีย และสำนักงานตัวแทนในสหรัฐอเมริกาภายในสิ้นปีนี้

สำหรับธนาคารเพื่อการลงทุนและพัฒนาเวียดนาม (BIDV) ปัจจุบันมีสาขาและสำนักงานตัวแทนในกัมพูชา เมียนมาสปป.ลาว สาธารณรัฐเช็ก ไต้หวันและรัสเซีย ขณะที่ “เวียดอินแบงก์” นอกจากสาขาใน สปป.ลาว, สำ นักงานตัวแทนในเมียนมา ก็มีสาขาในเยอรมนี

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการธนาคาร “คันวัน ลัก” กล่าวว่า สปป.ลาวและกัมพูชาเป็น 2 อันดับแรกประเทศจุดหมายปลายทางของนักลงทุนเวียดนาม โดยปีก่อนเวียดนามเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาวรวมทั้งสิ้น 95.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐผลการศึกษาจากหลายสถาบันยืนยันว่าตั้งแตปี่ 2015 จนถึงปัจจุบัน เวียดนามเป็นกล่มุ นักลงทุนที่มีบทบาทมากในสองประเทศดังกล่าว และพยายามเข้าชิงส่วนแบ่งตลาดจากเจ้าแห่งการลงทุนอย่าง จีน เกาหลีใต้ และยุโรป

ข้อมูลของสำนักงานการลงทุนต่างประเทศของเวียดนามยังระบุว่า ในช่วง8 เดือนแรกของปีนี้ ภาคการเงินและการธนาคารของเวียดนาม เป็นกลุ่มที่เข้าไปลงทุนในต่างแดนมากที่สุดมูลค่ารวม 105.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐคิดเป็น 33.7% ของการลงทุนทั้งหมดในต่างประเทศ

นักวิเคราะห์ด้านการธนาคารอีกหนึ่งรายกล่าวว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ของเวียดนามหลายฉบับ โดยเฉพาะ FTA เวียดนาม-สหภาพยุโรป(EU) และข้อตกลง CPTPP ที่แยกตัวมาจาก TPP ฉบับเก่ามีความครอบคลุมมากขึ้น คาดว่าจะยิ่งทำให้เวียดนามรุกหนักเข้าไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นนั่นหมายถึงเปิดโอกาสให้กับภาคธนาคารเวียดนามแข็งแกร่งมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ขณะที่สถานะของธนาคารพาณิชย์เวียดนามแข็งแกร่งมากขึ้น โดยเดือน ส.ค.“มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส” ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์เวียดนาม 14 แห่ง พร้อมปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือเงินฝากสกุลต่างประเทศและในประเทศระยะยาวของธนาคารเวียดนาม 8 แห่ง ทั้งยังประเมินว่า ในปี 2019 การลงทุนในตลาดต่างประเทศของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าจากปัจจุบัน โดยเฉพาะใน สปป.ลาวและกัมพูชา

ทั้งนี้ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี เหงียนซวน ฟุก ประกาศยุทธศาสตร์ 2025 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เวียดนาม 2030” ในช่วงแรกที่เข้ารับตำแหน่งว่า จะปฏิรูประบบธนาคารเวียดนาม และตั้งเป้าให้ธนาคารของเวียดนามติด “ท็อป 100 แห่งธนาคารเอเชีย” และมีเป้าหมายให้ธนาคารเวียดนาม 3-5 แห่ง เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศด้วย