ถึงเวลา “ปฏิรูป” WTO จัดระเบียบการค้าโลก

คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจ
โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

ระหว่างที่สหรัฐอเมริกาเปิดฉากทำสงครามการค้ากับจีนและอีกหลายประเทศ องค์กรระหว่างประเทศที่เงียบเชียบมากที่สุด คือองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ทั้งที่อยู่ในสถานะที่ควรจะเป็นผู้ออกมาให้ทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะพันธกิจสำคัญคือ กำกับดูแลการค้าโลกและดำเนินการเพื่อนำการค้าโลกให้เสรีมากที่สุด

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดับเบิลยูทีโอไม่เพียงเป็นเพราะสหรัฐชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกหันหลังให้เท่านั้น ยังใช้กลวิธีที่ทำ ให้ดับเบิลยูทีโอเสื่อมความน่าเชื่อถือลงอีกด้วย

ดังนั้นแคนาดาจึงเชื้อเชิญรัฐมนตรีการค้าจาก 12 เขตเศรษฐกิจที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมประชุมระหว่าง 24-25 ตุลาคมที่กรุงออตตาวา ก็เพื่อหารือถึงแนวทางเบื้องต้นว่าด้วยการ “ปฏิรูปดับเบิลยูทีโอ” กันเองในกลุ่มเล็ก ๆ

ในจำนวนผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมที่ออตตาวามีตัวแทนของสหภาพยุโรป แต่ไม่มีทั้งสหรัฐและจีน แม้ว่าตัวแทนทั้ง 13 ชาติที่เข้าร่วมประชุมตระหนักดีว่าการปฏิรูปใด ๆ ที่มีความหมายเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดหากปราศจากความเห็นชอบของตัวแทนทั้งสองชาติ

แต่ความพยายามครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกในการรวบรวมตัวแทนจากกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลาย แต่มีทรรศนะตรงกันและให้ความสำคัญต่อระบบการค้าพหุภาคีที่มีระเบียบจนเห็นว่าหนทางที่ดีที่สุดที่จะรักษาระบบนี้ให้อยู่ต่อไปได้ก็คือ การปฏิรูปเสียใหม่แล้วหวังว่าสมาชิกทั้ง 164 ประเทศหรืออย่างน้อยสมาชิกส่วนใหญ่ของดับเบิลยูทีโอจะเห็นพ้องกัน

การอยู่นิ่งเฉยมีแต่จะทำให้ดับเบิลยูทีโอที่อยบู่ นพืน้ ฐานของการเจรจาระดบั โลกตกเป็นอัมพาตและล้มหายตายจากไปในที่สุด

13 ตัวแทนที่เข้าร่วมอยู่ในการเจรจาครั้งนี้ นอกจากแคนาดาและสหภาพยุโรปแล้ว ยังมีออสเตรีย, บราซิล, ชิลี, ญี่ปุ่น,เคนยา, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์,สิงคโปร์, เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์

โดยมุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนจากกลมุ่ ประเทศ จี 20 เป็น เบื้องต้น ขณะที่อียูเองได้นำเสนอแนวความคิดในการปฏิรูปของตนสู่สาธารณะแล้ว เพื่อให้เกิดการถกเถียง หาข้อสรุปโดยหวังว่าจะมีการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมจี 20 ที่ประเทศอาร์เจนตินาในเดือนพฤศจิกายนนี้เช่นเดียวกัน

อันที่จริงแนวความคิดของแคนาดาและอียูตรงกันอยู่เป็นส่วนใหญ่ แรกสุดก็คือ ความพยายามเพื่อปฏิรูปกฎเกณฑ์ของดับเบิลยูทีโอให้ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก เริ่มตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอทีและเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหลาย รวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์ภายในของแต่ละประเทศ,บทบาทของวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ,การอุดหนุนในแวดวงอุตสาหกรรม และการบังคับให้ถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเจรจาเพื่อวางกฎเกณฑ์ให้ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้น จะเป็นไปไม่ได้หากไม่กำหนด “นิยาม” ให้ชัดเจนว่าประเทศใดเป็นประเทศ “กำลังพัฒนา”และประเทศใด “พัฒนาแล้ว” ที่ก่อให้เกิดปัญหากล่าวอ้างกันมาตลอด เพราะที่ผ่านมาปล่อยให้สมาชิกกำหนดสถานะประเทศของตนตามอำเภอใจ ผลก็คือ2 ใน 3 ของสมาชิกประกาศตัวเป็นชาติกำ ลังพัฒนาที่อยู่ในข่าย “ได้รับการปฏิบัติต่อเป็นพิเศษและแตกต่างจากทั่วไป”

ประเด็นสำคัญถัดมาที่ต้องปฏิรูปกันก็คือ กฎว่าด้วย “ฉันทามติ” ที่ทำให้ดับเบิลยูทีโอพิกลพิการไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้อยู่ในเวลานี้

อุทธาหรณ์ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ ความพยายามของสหรัฐในการขัดขวางไม่ให้มีการแต่งตั้ง “องค์กรอุทธรณ์” ซึ่งเทียบได้กับศาลสูงสุดของดับเบิลยูทีโอที่ประกอบด้วยองค์คณะรวม 7 คนทั้งหมดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทุกชาติโดยไม่มีการคัดค้านที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาคัดค้านการแต่งตั้งองค์คณะขององค์กรอุทธรณ์นี้มาตลอดจนบัดนี้เหลือองค์คณะเพียง 3 รายน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และ 2 คนในจำนวนนี้กำหนดจะหมดวาระการดำรงตำ แหน่งลงในปี 2019 นี้เท่านั้น

ประเด็นสุดท้ายที่ทั้งอียูและที่ประชุมในแคนาดาเห็นตรงกันว่าต้องปฏิรูปก็คือระบบการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิกด้วยกัน ซึ่งมีปัญหามากมาตลอดเช่นกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ก็คือ ถึงแม้จะมีประเทศเหล่านี้และอีกหลายประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมเห็นตรงกันว่าเหล่านี้คือประเด็นที่ต้องแก้ไข


แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าแก้อย่างไรและด้วยวิธีใดระบบของดับเบิลยูทีโอถึงสามารถทำงานได้และทำงานได้ดีกว่าเดิม