
สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่าศาลสูงสุดอินเดียได้ตัดสินว่าธรรมเนียมการขอหย่าร้างทันที (Instant Divorce) ของชาวมุสลิมถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามศาสนบัญญัติ โดยผู้พิพากษาตัดสินชี้ขาดด้วยคะแนน 3-2 ถือเป็นชัยชนะสำคัญสำหรับนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรี
ก่อนหน้านี้ อินเดียยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชากรชายชาวมุสลิมสามารถขอหย่ากับภรรยาภายในเวลาไม่ถึงนาที ด้วยการกล่าวคำว่า “talaq” (ขอหย่า) 3 ครั้ง การกระทำดังกล่าวถือเป็นธรรมเนียมที่สืบต่อกันมาหลายทศวรรษ
- วิกฤตหรือไม่วิกฤต คำตอบผู้ว่าการ ธปท.
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- พระราชินี ทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
จึงทำให้สตรีมุสลิมในอินเดียหลายรายถูกสามีขอหย่าโดยกล่าวคำว่า talaq 3 ครั้ง ผ่านคำพูด เมสเสจ จดหมาย หรือโทรศัพท์ แม้ว่าธรรมเนียมการขอหย่าดังกล่าวจะไม่ปรากฎทั้งในกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) หรือในคัมภีร์อัลกุรอ่านก็ตาม
ผู้สันทัดกรณีด้านศาสนาอิสลามชี้ว่า อัลกุอานได้ระบุวิธีการหย่าร้างตามศาสนาอย่างชัดเจนว่า ต้องให้เวลาคู่สามี-ภรรยา 3 เดือนเพื่อทบทวนและประนีประนอม
การตัดสินของศาลเกิดขึ้นภายหลังได้รับการเรียกร้องจากมุสลิมะห์ 5 คน ที่ถูกสามีขอหย่าด้วยวิธีการดังกล่าว รวมถึงกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิอีก 2 กลุ่ม
เสียงจากสังคมส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกันว่า นี่เป็นชัยชนะครั้งสำคัญของผู้หญิง เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ ขณะที่หลายเสียงกล่าวว่า แม้ว่าจะเป็นเรื่องน่าดีใจ แต่ยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับสิทธิสตรีอีกมากมายที่จะต้องต่อสู้ต่อไป
ทั้งนี้ ธรรมเนียมการขอหย่าด้วยการกล่าว talaq 3 ครั้ง (triple talaq) ดังกล่าว ได้ถูกแบนแล้วก่อนหน้านี้ทั้งในปากีสถานและบังคลาเทศ แต่ยังคงมีอยู่ในอินเดีย ทำให้สตรีมุสลิมที่ถูกขอหย่าด้วยวิธีดังกล่าว โดยเฉพาะที่มาจากครอบครัวยากจน ถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่จะไป หรือถูกบังคับให้กลับไปอยู่บ้านพ่อหรือแม่ของตนเอง