ผู้ผลิตรถยนต์เร่งอัพเกรดซอฟต์เเวร์ “เครื่องยนต์ดีเซล” หลังวิกฤติ “โฟล์คสวาเกน” หวังกู้ชื่อเสียงกลับคืน

สื่อต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงการคลังของเยอรมันกล่าวถึง เรื่องอื้อฉาวในการปล่อยมลพิษ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ในเยอรมันอาจได้รับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในยุโรป ซึ่งในขณะนี้ยังหาตัวเลขของผลกระทบไม่ได้

ในรายงานประจำเดือน กระทรวงระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อน หลังจากที่ “โฟล์คสวาเกน” บิดเบือนมาตรวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรถยนต์ที่จำหน่ายในสหรัฐ ถือว่าสร้างผลกระทบสะเทือนวงการอุตสาหกรรมเยอรมนี และยิ่งทำให้เกิดความกังวลต่อภาพลักษณ์สินค้าเยอรมัน ภายใต้ตราประทับ “Made In Germany” อย่างมาก

อีกทั้งปัญหาดังกล่าวมาพร้อมกับการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร เเละนโยบายการค้า การกีดกันโดยรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์นับเป็นส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเยอรมัน เเละมีงานในส่วนนี้กว่า 800,000 ตำเเหน่ง

ทางด้านกระทรวงความมั่นคงกล่าวว่า ความเสี่ยงดังกล่าวเชื่อมโยงกับ Brexit อีกทั้งวิกฤติเกี่ยวกับน้ำมันดีเซลนับเป็นความเสี่ยงใหม่ต่อเศรษฐกิจเยอรมัน เเม้ว่าผลกระทบดังกล่าวจะยังไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขความเสียหายได้

สำหรับการใช้จ่ายของครัวเรือนเเละของรัฐที่เเข็งเเกร่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเยอรมันในไตรมาส 2 มีการเติบโตที่ 0.6% ส่วนการค้าในต่างประเทศที่อ่อนค่าลงส่งผลให้การส่งออกมีการเติบโตน้อยกว่าการนำเข้า คาดการณ์ว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 วัดได้จากคำสั่งซื้อ เเละตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เเข็งเเกร่งมากขึ้น

นักการเมืองเยอรมันและกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ได้ตกลงกันในเดือนสิงหาคมก่อนหน้านี้ เพื่อยกเครื่องซอฟต์เเวร์เครื่องยนต์ดีเซล (ซอฟต์แวร์ควบคุมระดับมลพิษของเครื่องยนต์ดีเซล) กว่า 5.3 ล้านคัน เพื่อลดมลพิษ เเละพยายามกอบกู้ชื่อเสียงจากเรื่องอื้อฉาวของอุสาหกรรมยานยนต์