บอกลา “เลอกองกา” นักวิทย์ตั้งมาตรฐาน “กก.” ใหม่ใช้ค่าคงที่พลังค์

สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (บีไอพีเอ็ม) ประกาศนิยามของ “กิโลกรัม” จากค่าคงที่ตามกฎธรรมชาติที่มีความถูกต้องมากที่สุดแทนที่ “เลอกรองด์กา” โลหะทรงกระบอก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมาให้ 1 กิโลกรัมมีค่ากำหนดเป็น “ค่าคงที่พลังค์” ซึ่งหมายถึงค่าสัดส่วนของความถี่แสงหรือในอีกความหมายหนึ่งคือพลังงานควอนตัมของความถี่ดังกล่าว โดยกำหนดให้ 1 กิโลกรัมเท่ากับ 6.626 คูณ 10 ยกกำลัง -34 จูล/วินาที

การประกาศดังกล่าวที่มีขึ้นใน “วันมาตรวิทยาโลก” นับเป็นการเลิกใช้ “เลอกรองกา” โลหะแพลตินัม-อิริเดียม ที่เก็บรักษาไว้ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งใช้เป็นมาตรฐาน 1 กิโลกรัม มาเป็นเวลานานเกือบ 130 ปี ลงอย่างเป็นทางการ หลังจากนักวิทยาศาสตร์มีมติเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาให้สร้างมาตรฐานของค่าชั่งตวงวัดต่างๆ ในโลกขึ้นใหม่ โดยเฉพาะมาตรวัด “กิโลกรัม” ที่ยังคงเป็นมาตรวัดเดียวที่ยังคงมีการกำหนดความหมายกับวัตถุทางกายภาพอย่าง “เลอกรองด์กา” อยู่ โดยเหตุผลหนึ่งที่จำเป็นต้องนิยามมาตรฐานกิโลกรัมขึ้นใหม่เนื่องจาก “เลอกรองด์กา” นั้นมีน้ำหนักที่ผันผวนได้

ทั้งนี้ในวันเดียวกันบีไอพีเอ็ม ยังประกาศมาตรฐานใหม่ให้กับหน่วยวัดระดับกระแสไฟฟ้าอย่าง “แอมพ์” หน่วยวันอุณหภูมิอย่าง “เคลวิน” และหน่วยวัดปริมาณสารอย่าง “โมล” ขึ้นใหม่ด้วย อย่างไรก็ตามบีไอพีเอ็มระบุว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีขึ้นเพื่อความแน่นอนในการวัดผลละเอียดเช่นในอุสาหกรรมเภสัชกรรม หรือการทำวิจัยทางวิทยาศาตร์เท่านั้น แต่จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงที่รับรู้ได้ในชีวิตประจำวัน

 

 

ที่มา : มติชนออนไลน์