‘โดเรียน’ ถล่ม ‘สหรัฐ-บาฮามาส’ สะเทือน ‘ธุรกิจประกัน-ท่องเที่ยว’

In this image released by US Customs and Border Protection, Air and Marine Operations agents conduct search and rescue operations in Abaco Island and Marsh Harbour, Bahamas, on September 5, 2019. - The final death toll from Hurricane Dorian in the Bahamas could be "staggering," a government minister has said as the storm lashed North Carolina in the US Friday with torrential rain and fierce wind. Bahamian Prime Minister Hubert Minnis told CNN Thursday that at least 30 people were killed in the storm, which caused what he called "generational devastation." (Photo by Kris Grogan / US Customs and Border Protection / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE - MANDATORY CREDIT "AFP PHOTO / US Customs and Border Protection / Kris Grogan" - NO MARKETING NO ADVERTISING CAMPAIGNS - DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS

ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะบาฮามาส ต้องเผชิญกับพายุเฮอริเคน โดเรียน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 เท่าที่เคยมีมาในมหาสมุทรแอตแลนติก

พายุเฮอริเคนโดเรียนได้พัดถล่มบาฮามาสด้วยกำลังแรงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงสูงสุดที่มีความเร็วสูงถึง 140 ไมล์ต่อชั่วโมง ส่งผลให้พื้นที่ 70% ของบาฮามาสตกอยู่ในภาวะน้ำท่วม ก่อนที่จะพัดเข้าสู่ชายฝั่งของรัฐฟลอริดา เซาท์แคโรไลนา และจอร์เจียของสหรัฐ ส่งผลให้ทางการต้องเร่งอพยพผู้คนกว่าล้านคนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย

ซีเอ็นบีซี รายงานคาดการณ์ความเสียหายจากเฮอริเคนโดเรียน โดยนักวิเคราะห์ของ ยูบีเอส ธนาคารเพื่อการลงทุนข้ามชาติของสวิตเซอร์แลนด์ ประเมินว่า เฮอริเคนนี้เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 โดยภาคอุตสาหกรรมประกันภัยอาจต้องจ่ายชดเชยความเสียหายสูงถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่สูงมากในความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต่อภาคอุตสาหกรรมประกันภัยตลอดทั้งปี 2019 รวมประมาณ 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ยูบีเอสระบุว่า หลังเหตุการณ์เฮอริเคน มาเรีย ในปี 2017 ซึ่งสร้างความเสียหายแก่กลุ่มอุตสาหกรรมประกันภัยมาก แต่ธุรกิจประกันภัยก็ได้รับอานิสงส์จากที่มีผู้เข้ามาซื้อประกันภัยเพิ่มมากขึ้นโดยที่
ไม่ได้เกิดภัยพิบัติใหญ่ ส่งผลให้เงินกองทุนของอุตสาหกรรมประกันภัยเพิ่มสูงขึ้นถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ผลกระทบจากเฮอริเคนโดเรียนในครั้งนี้ทำให้ธุรกิจประกันภัยหลายแห่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะทำให้เงินกองทุนตามกฎหมายลดลงจำนวนมาก จากการที่ต้องจ่ายเงินเยียวยาให้แก่ผู้เอาประกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องทำให้บริษัทประกันภัยต้องปรับค่าเบี้ยประกันภัยขึ้นด้วย

ขณะที่ ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักถึง 60% ของเศรษฐกิจบาฮามาสก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะเกาะทางตอนเหนืออย่างเกาะอะบากอส และเกาะแกรนด์บาฮามา

ริก นิวตัน ผู้ร่วมก่อตั้ง “Resort Capital Partners” บริษัทลงทุนอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ระบุว่า เฮอริเคนโดเรียนที่เข้าพัดถล่มทั้ง 2 เกาะ ทำให้ที่พักอาศัยและอาคารธุรกิจจำนวนมากเสียหายอย่างหนัก

โดยทั้ง 2 เกาะมีโรงแรมราว 2,250 ห้องที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของทั้ง 2 เกาะอาจต้องใช้เวลายาวนานถึง 1-2 ฤดูกาลจึงจะกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง