
โครงการ “การให้รหัสประจำตัวเพื่อการพัฒนา” หรือไอดีโฟร์ดี ของธนาคารโลก เปิดเผยรายงานเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา เตือนว่ามีประชากรโลกจำนวนถึง 1,100 ล้านคนที่ไม่มีตัวตนใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีเลขประจำตัวอยู่ในระบบข้อมูลของรัฐ
รายงานระบุว่าในบรรดาประชากรโลกจำนวนดังกล่าว ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย และมากกว่า 1 ใน 3 เป็นเด็กที่ไม่ได้แจ้งเกิดและเสี่ยงเผชิญต่อความรุนแรง ส่งผลให้ถูกตัดขาดจากระบบบริการสุขภาพและการศึกษา โดยปัญหาดังกล่าวรุนแรงขึ้นในพื้นที่ซึ่งเผชิญกับความยากจน การแบ่งแยก พื้นที่ระบาดของโรคหรือพื้นที่ซึ่งมีการสู้รบ
- อนุทินอัพเดตทรัพย์สินภรรยาคนที่ 3 “วธนนนท์” ค้างค่าหย่าภรรยาคนที่ 2
- คดีทักษิณ-ขออภัยโทษ
- STARK สะเทือนตลาดหุ้นกู้ นักลงทุนเกือบ 5 พันรายช็อกเจอเบี้ยวหนี้
หัวหน้าโครงการไอดีโฟร์ดี ระบุว่า ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัย ในจำนวนนี้เป็นระยะทางระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐนับเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างเช่นพื้นที่ป่าอเมซอนในประเทศเปรู ประชาชนต้องใช้เวลาเดินทางโดยเรือหลายต่อถึง 5 วันที่จะเดินทางถึงหน่วยงานของรัฐ ขณะที่อีกปัญหาคือครอบครัวไม่ให้ความสำคัญกับการแจ้งเกิด ซึ่งส่งผลให้เด็กถูกปฏิเสธที่จะได้รับสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ไอดีโฟร์ดี พยายามทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อระบุตัวตนกลุ่มคนเหล่านี้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วย
ที่มา มติชนออนไลน์