จับตา รัฐพิธีพระราชดำรัสสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ 11 พ.ค.64

ภาพจากเฟซบุ๊ก The Royal Family

รัฐพิธีพระราชดำรัสสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ หนึ่งในพิธีที่ชาวอังกฤษรอคอยมากที่สุดในปฏิทินรัฐสภา โดยเฉพาะในปีนี้ ซึ่งเป็นอีกปีที่อังกฤษได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 

วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์บีบีซี รายงานว่า รัฐพิธีพระราชดำรัสสมเด็จพระราชินีนาถ หรือ Queen’s Speech จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2564 ตามเวลาในอังกฤษ โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะทรงมีพระราชดำรัสถึงทิศทางการบริหารประเทศของรัฐบาลอังกฤษในปีหน้า

รัฐพิธีพระราชดำรัสสมเด็จพระราชินีนาถคืออะไร?

รัฐพิธีพระราชดำรัสสมเด็จพระราชินีนาถเป็นหนึ่งในพิธีที่ชาวอังกฤษรอคอยมากที่สุดในปฏิทินรัฐสภา เนื่องจากเป็นพิธีที่ทำให้ชาวอังกฤษทราบว่ารัฐบาลมีแผนจะออกกฎหมายอะไรในปีหน้า รวมถึงอะไรเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการผลักดันเพื่อนำไปสู่การพิจารณาหารือเพิ่มเติมหรือยกเลิก

พระราชดำรัส ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะตรัสจากบัลลังก์ของสภาขุนนาง ถูกเขียนขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอังกฤษ และมักใช้เวลาประมาณ 10 นาที

ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของพิธี ที่แสดงถึงการเปิดสมัยประชุมสภาอังกฤษอย่างเป็นทางการ โดยสมัยประชุมปัจจุบันนั้นกินเวลานานกว่าปกติ 15 เดือน เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2019

ภาพจากเฟซบุ๊ก The Royal Family

โควิดส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

โดยปกติแล้วสมาชิกสภาสามัญชนและสภาขุนนางอังกฤษจะต้องเข้าร่วมในรัฐพิธีนี้ด้วย แต่ครั้งนี้จำเป็นต้องงดการเข้าร่วม เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด

โดยจะมีเพียง 74 คนเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้ประจำในตำแหน่งของสภาขุนนาง ขณะที่สมาชิกสภาสามัญชนอีก 34 คน และคนอื่น ๆ จะได้รับชมพิธีจากห้องรอยัลแกลอรีในรัฐสภา

ทุกคนที่เข้าร่วมรัฐพิธีจะต้องผ่านการตรวจเชื้อโควิดและต้องมีผลเป็นลบ พร้อมทั้งสวมหน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังไม่มีการเชิญทูตจากประเทศต่าง ๆ เหมือนในยามปกติ

ภาพจากเฟซบุ๊ก The Royal Family

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะเสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังบักกิงแฮมด้วยพระราชยานยนต์ยี่ห้อเบนท์ลีย์ ไม่ใช่รถม้าเหมือนในอดีต และครั้งนี้จะไม่มีทหารตั้งแถวเรียงรายตามถนนด้านนอก รวมถึงไม่มีทหารกองเกียรติยศแสดงความเคารพ เมื่อพระองค์เสด็จถึงมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์

ภาพจากเฟซบุ๊ก The Royal Family

“โรเบิร์ต บัคแลนด์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งปกติจะทำหน้าที่เป็นผู้ถวายคำประกาศแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฐานะประธานศาลสูง จะถูกแทนที่ด้วยการนำพระราชดำรัสวางไว้บนโต๊ะ

พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินีนาถจะเป็นอย่างไร?

สื่อหลายสำนักรายงานว่า พระราชดำรัสจะประกอบด้วยร่างกฎหมายมากกว่า 25 ฉบับ อีกทั้งยังมีร่างกฎหมายจากสมัยประชุมรัฐสภาปัจจุบัน ที่รัฐบาลยืนยันจะดำเนินการต่อไป

สิ่งเหล่านี้ยังรวมถึงร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องกฎในการอนุรักษ์ธรรมชาติหลังเบร็กซิท และร่างกฎหมายตำรวจ อาชญากรรม การตัดสินลงโทษและศาล ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่กำลังมีการถกเถียงและเป็นชนวนให้เกิดการประท้วงในหมู่สมาชิกสภา เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ภาพจากเฟซบุ๊ก The Royal Family

ส่วนร่างกฎหมายที่ประกาศใช้แล้วเมื่อปี 2019 แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ เช่น ร่างกฎหมายการจ้างงานเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานใหม่ อาจรวมอยู่ด้วย

ขณะที่ซันเดย์ไทม์สรายงานว่า ที่เหลือยังมีร่างกฎหมายทักษะและการศึกษาหลังอายุ 16 ปี ซึ่งจะมีการประกาศให้ครอบคลุมถึงทักษะตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรมสำหรับผู้ใหญ่

ร่างกฎหมายสัตว์ที่มีความรู้สึก ซึ่งจะทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังมี “สิทธิ” ที่จะรับรู้ถึงความรู้สึกของพวกมันในทางกฎหมาย ตามรายงานของซันเดย์เทเลกราฟ นอกจากนี้ยังจะห้ามการนำเข้าการล่าสัตว์เพื่อความบันเทิง และการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลี้ยง

ส่วนด้านอื่น ๆ ที่ต้องจับตาในวันอังคารนี้ ได้แก่

  • บริการดูแลผู้สูงอายุ
  • การปรับปรุงระเบียบลี้ภัย
  • ข้อบังคับการวางแผนที่อยู่อาศัย
  • วาระที่ตายตัวของรัฐสภา
  • การสร้างกฎความปลอดภัย