เปิด 10 อันดับ อากาศเมืองไทย ช่วงฤดูร้อน เคยร้อนสุดเท่าไร

อากาศร้อน อุณหภูมิ ฤดูร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิด 10 อันดับอากาศเมืองไทย ช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิเคยสูงสุดช่วงไหน เท่าไร

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ใกล้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งจะเป็นช่วงที่กรมอุตุนิยมวิทยา มีการคาดหมายว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะช้ากว่าปกติประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม

โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ลักษณะอากาศว่า จะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงที่สุด 43.0-44.5 องศาเซลเซียส ส่วนมากช่วงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางช่วง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้

และล่าสุด มีการเปิดเผย 10 อันดับ ช่วงที่ประเทศไทย เคยมีอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน

“ประชาชาติธุรกิจ” ชวนสำรวจอุณหภูมิเมืองไทยในฤดูร้อนที่ผ่าน ๆ มา ว่าเคยอุณหภูมิสูงสุดถึงไหน

TOP 10 อุณหภูมิฤดูร้อนเมืองไทย

ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเก็บมาตั้งแต่ปี 2494 จนถึงปัจจุบัน สรุป 10 อันดับอุณหภูมิประเทศไทย ที่เคยสูงสุดในช่วงฤดูร้อน ดังนี้

ADVERTISMENT

อันดับ 1 : อุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส

  • อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน (28 เม.ย. 2559)
  • อ.เมือง จ.ตาก (15 เม.ย. 2566)

อันดับ 2 : อุณหภูมิ 44.5 องศาเซลเซียส

ADVERTISMENT
  • จ.อุตรดิตถ์ (27 เม.ย. 2503)
  • จ.สุโขทัย (11 พ.ค. 2559)

อันดับ 3 : อุณหภูมิ 44.3 องศาเซลเซียส

  • จ.สุโขทัย (12 เม.ย. 2559)

อันดับ 4 : อุณหภูมิ 44.2 องศาเซลเซียส

  • อ.เถิน จ.ลำปาง (18 เม.ย. 2562)

อันดับ 5 : อุณหภูมิ 44.1 องศาเซลเซียส

  • อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน (25 เม.ย. 2501)
  • จ.น่าน (12 เม.ย. 2502)
  • จ.สุโขทัย (13 พ.ค. 2559)
  • จ.อุดรธานี (7 พ.ค. 2566)

อันดับ 6 : อุณหภูมิ 44.0 องศาเซลเซียส

  • จ.ตาก (25 เม.ย. 2550)
  • จ.แม่ฮ่องสอน (15 พ.ค. 2553)
  • จ.กำแพงเพชร (26 เม.ย. 2559)
  • จ.สุโขทัย (7 พ.ค. 2559)
  • จ.ลำพูน (12 พ.ค. 2559)

อันดับ 7 : อุณหภูมิ 43.9 องศาเซลเซียส

  • จ.อุดรธานี (28 เม.ย. 2503)
  • เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (27 เม.ย. และ 11 พ.ค. 2559, 18 เม.ย. 2562)
  • จ.สุโขทัย (10 พ.ค. 2559)

อันดับ 8 : อุณหภูมิ 43.8 องศาเซลเซียส

  • อ.เถิน จ.ลำปาง (11 เม.ย. 2559)
  • จ.ตาก (11 พ.ค. 2559)
  • จ.ลำพูน (11 พ.ค. 2559)

อันดับ 9 : อุณหภูมิ 43.7 องศาเซลเซียส

  • เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (26 เม.ย. 2541)
  • จ.ตาก (17 เม.ย. 2559)
  • จ.สุโขทัย (17 เม.ย. 2559)
  • จ.นครสวรรค์ (7 พ.ค. 2559)
  • อ.เกิน จ.ลำปาง (17, 19, 20 เม.ย. 2562)
  • จ.หนองคาย (7 พ.ค. 2566)

อันดับ 10 : อุณหภูมิ 43.6 องศาเซลเซียส

  • จ.อุตรดิตถ์ (29 เม.ย. 2503 และ 11 พ.ค. 2559)
  • จ.แพร่ (14 เม.ย. 2526)
  • จ.แม่ฮ่องสอน (9 พ.ค. 2541 และ 16 พ.ค. 2553)
  • จ.ตาก (24 เม.ย. 2550)
  • จ.ลำพูน (12 เม.ย. 2559)
  • จ.หนองบัวลำภู (17 เม.ย. 2559)
  • เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (10 พ.ค. 2559)
  • จ.กำแพงเพชร (12 พ.ค. 2559)
ภาพจาก Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา

ฤดูร้อน 2567 จะเป็นอย่างไร ?

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงที่สุด 43.0-44.5 องศาเซลเซียส ส่วนมากช่วงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางช่วง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้

สำหรับอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบน 36.0-37.0 องศาเซลเชียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติ 1.0-1.5 องศาเซลเชียส (ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเชียส) และจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา (ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2566 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.8 องศาเซลเซียส) ส่วนปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 30

อนึ่ง ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีมักจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง สมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้

ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น มีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ดังนั้น ประชาชนจึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเตรียมการป้องกันสภาวะดังกล่าว