เศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย ผู้กล้าวิจารณ์ปูติน

มหาเศรษฐีชาวรัสเซียอย่าง บอริส มินต์ เป็นหนึ่งในผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงเพียงหยิบมือที่กล้าออกมาวิจารณ์การรุกรานยูเครนของรัสเซีย รวมไปถึงการวิจารณ์ตรงไปถึงตัวประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน

เหล่าชนชั้นสูงส่วนใหญ่ของรัสเซียเลือกที่จะไม่ออกความเห็นต่อสงครามในยูเครน เพื่อหลีกเลี่ยงการวิจารณ์รัฐบาลที่นำโดยนายปูติน

คำอธิบายสั้นและง่ายได้ใจความจากนายมินต์คือ “พวกเขาทั้งหมดกลัว”

รัฐบาลรัสเซียมีชื่อเสียงเรื่องการตาล่านักวิจารณ์ที่ออกมาพูดถึงประธานาธิบดีปูติน ขณะที่เนื้อหาที่สื่อสารออกไปตามสถานีโทรทัศน์ในประเทศล้วนถูกเซนเซอร์หรือบิดเบียนมาแล้ว การประท้วงที่ไม่ได้รับการอนุญาตถูกสั่งห้ามมาตั้งแต่ปี 2014

นายมินต์กล่าวว่า “ใครก็ตาม” ที่ออกมาวิจารณ์นายปูตินอย่างเปิดเผย “มีเหตุผลให้ต้องกังวลถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล”

บอริส มินต์

ที่มาของภาพ, Getty Images

อย่างไรก็ดี ในการสัมภาษณ์ผ่านอีเมล เขาบอกกับบีบีซีว่า “ผมไม่มีความตั้งใจที่จะอยู่ในหลุมหลบภัยอย่างนายปูติน”

นักธุรกิจวัย 64 ปี ผู้ก่อสร้างความมั่งคั่งของเขาผ่านบริษัทด้านการลงทุนอย่างโอวัน กรุ๊ป (O1 Group) ซึ่งตั้งขึ้นมาในปี 2003 ก่อนที่จะขายออกไปในปี 2018 กล่าวว่า รัฐบาลรัสเซียมี “วิธีการทั่วไป” ในการลงโทษเจ้าของธุรกิจที่ “ไม่มีความอดทน” ต่อระบอบการปกครองผ่าน “การยัดคดีอาชญากรรมต่อธุรกิจนั้น ๆ”

“คดีอาชญากรรมเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่กับตัวเจ้าของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงครอบครัวและพนักงานด้วย” เขากล่าว

“ผู้นำทางธุรกิจคนใดที่ไม่มีสายสัมพันธ์ [กับนายปูติน] จะถูกมองว่าเป็นภัยเสี่ยงเนื่องจากเขาและเธอเหล่านี้อาจให้เงินทุนสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่มผู้ประท้วง ด้วยเหตุนี้คนกลุ่มนี้จึงถูกมองเป็นศัตรูของนายปูติน และ กลายเป็นศัตรูของรัฐ” เขาเสริม

การจำคุกที่เลี่ยงไม่ได้

นี่เป็นสถานการณ์ที่นายมินต์ประสบมาแล้ว หลังจากที่เขาออกมาพูดต่อต้านนโยบายของนายปูตินในปี 2014 ภายหลังจากที่ไครเมียถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน

นายมินต์รู้สึกว่าตัวเองต้องออกจากรัสเซียมาอยู่ที่สหราชอาณาจักรในปี 2015 “ในบริบทที่มีการตามล่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง” และนายบอริส เนมต์ซอฟ ถูกลอบยิงจนเสียชีวิตในปีเดียวกัน

นายเนมต์ซอฟเป็นปฏิปักษ์ที่รุนแรงของประธานาธิบดีปูติน การลอบสังหารเขาในปี 2015 นับเป็นการฆ่าบุคคลทางการเมืองที่มีอิทธิพลที่สุดนับตั้งแต่นายปูตินขึ้นมาปกติครองประเทศ เจ้าหน้ารัฐปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของเขา

สองปีถัดมา โอวัน กรุ๊ป ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังเป็นของนายมินต์ “ตกอยู่ท่ามกลางข้อพิพาทกับธนาคารกลางแห่งรัสเซีย” เขากล่าว โดยกระบวนการพิจารณาคดีดำเนินไปในศาลแหล่งแห่ง

“เมื่อสิ่งเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้น มันเป็นสัญญาณอย่างชัดเจนว่าบุคคลนั้นควรหนีออกจากประเทศโดยทันที” เขากล่าว

เขายังคงอยู่ภายใต้กระบวนการดำเนินคดีจากรัฐบาลรัสเซีย

นายมินต์ชี้ว่าตัวเลือด “ที่กล้าหาญที่สุด” ของเหล่ามหาเศรษฐีชาวรัสเซียผู้ไม่ชื่นชอบนายปูตินคือ “การลี้ภัยอย่างเงียบ ๆ” โดยเขายกตัวอย่างกรณีของนายมิคาอิล โคดอร์คอฟสกี ผู้เคยขึ้นแท่นมหาเศรษฐีที่รวมที่สุดในรัสเซีย แต่กลับถูกจำคุกเกือบทศวรรษจากข้อหาเรื่องการโกงและหนีภาษี ซึ่งนายมินต์ชี้ว่ามีมูลเหตุมาจากเหตุผลทางการเมือง

สองโอลิการ์กแห่งรัสเซียอย่างนายมิคาอิล ฟรีดแมน และ โอเลก เดอริพัสสกา เองก็หยุดวิจารณ์นายปูตินเช่นกัน หลังทั้งสองออกมาเรียกร้องความสงบให้กับยูเครน

นายฟรีดแมนกล่าวว่าการแสดงความเห็นส่วนบุคคลใด ๆ ก็ตามอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงไม่ใช่แค่กับตัวเขา แต่รวมไปถึงลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

อย่างไรก็ดี นายมินต์ยังมีพันธมิตรอย่างโอเลก ทินคอฟฟ์ ผู้ก่อตั้งธนาคารทินคอฟและอดีตเจ้าของทีมจักรยานทินคอฟฟ์-ซาโซ ร่วมวิจารณ์การรุกรานยูเครน

นายมินต์ชี้ว่าการกระทำของนายปูตินเป็น “ความชั่วร้าย” และกล่าวว่าการรุกรานครั้งนี้คือ “โศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตรืออันใกล้ ไม่ใช่แต่กับประวัติศาสตร์ของยูเครนและรัสเซีย แต่ต่อโลกใบนี้”

เขาเปรียบเทียบมันกับการรุกรานโปแลนด์ในปี 1939 ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

“สงครามครั้งนี้เป็นผลของความบ้าคลั่งและกระหายอำนาจของคนเพียงคนเดียวซึ่งก็คือวลาดิเมียร์ ปูติน และได้รับการสนับสนุนจากคนวงใน” นายมินต์กล่าว นับจนถึงปี 2018 นายมินต์คือประธานของผู้บริหารกองทุนบำนาญที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย

บีบีซีพยายามติดต่อรัฐบาลรัสเซียเพื่อขอความเห็น

“โดนไล่ออกหลังจากพบกัน”

วลาดิเมียร์ ปูติน (ซ้าย), อดีตประธานาธิบดีรัสเซียบอริส เยลต์ซิน (ซ้าย)

ที่มาของภาพ, Getty Images

นายมินต์ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับนายปูตินในช่วงต้นทศวรรษเก้าศูนย์ แต่มีการพูดคุยกันจริง ๆ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2000 สองวันหลังจากที่นายปูตินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการประธานาธิบดีรัสเซีย

นายมินต์ผู้ซึ่งทำงานให้กับอดีตประธานาธิบดีรัสเซียอย่างนายบอริส เยลต์ซิน กระตือรือร้นที่จะได้หารือแหนในการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นของเขาเพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตยในรัสเซียเพื่อก้าวเข้าสู่ศตววรษที่ 21

“นายปูตินรับฟังคำแนะนำของผมโดยไม่ได้แสดงความเห็นหรือโต้แย้งอะไร วันต่อมา ผมถูกไล่ออก” เขากล่าว

เขารู้โดยทันทีตอนนั้นว่าวิสัยทัศน์ต่อประเทศของนายปูติน “ห่างไกล” จากรัฐบาลก่อนหน้า

นายมินต์ทิ้งชีวิตการเมืองไว้ข้างหลัง สามปีถัดมาเขาเริ่มต้นเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้นส่วนบุคคลแทน

นายมินต์ไม่ถูกคว่ำบาตรจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร แตกต่างจากนักธุรกิจรัสเซียจำนวนที่ถูกระบุว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายปูติน

อย่างไรก็ดี ชื่อของเขาปรากฏอยู่ในรายงานที่รู้จักกันในชื่อ “รายชื่อปูติน” ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี 2018 จากทั้งหมด 210 ชื่อ 114 คนถูกจัดอยู่ในกลุ่มอยู่ในหรือเกี่ยวข้องกับรัฐบาลหรือเป็นนักธุรกิจคนสำคัญ

ขณะที่อีก 96 คน ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโอลิการ์กซึ่งมองจากพื้นฐานที่เขามีความมั่งคั่งมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 35,000 ล้านบาท) ณ เวลานั้น ไม่ใช่การมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล

พ่อลูกสี่คนนี้เคยมีชื่อเข้าไปอยู่ในการจัดอันดับมหาเศรษฐีของนิตยจสารฟอร์บส์ในปี 2017 ด้วยความมั่งคั่งรวม 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 45,600 ล้านบาท) ก่อนที่เขาจะหลุดจากรายชื่อดังกล่าวในปี 2018

เขาปฏิเสธว่าตัวเองเป็นโอลิการ์ก

“ไม่ใช่นักธุรกิจรัสเซียทุกคนสนับสนุนปูติน และก็เช่นเดียวกันที่ไม่ใช่ทุกคนที่มั่งคั่งจะเป็น ‘โอลิการ์ก'” เขากล่าว “ในรัสเซีย ศัพท์ดังกล่าวหมายถึงผู้นำทางธุรกิจที่ใกล้ชิดกับปูตินอย่างมาก และความมั่งคั่งแทบทั้งหมดหรือกำไรของธุรกิจของพวกเขาก็มาจากการร่วมมือกับรัฐบาลรัสเซีย”

“รัสเซียไม่ใช่แค่บ่อน้ำมันที่มีเหมือนอลูมิเนียมอยู่ตรงกลาง” เขาเสริม “นี่คือประเทศที่มีคนถึง 140 ล้านคน ผู้คนที่นั่นก็เหมือนกับคนในที่อื่น ๆ คือพวกเขามีความต้องการ และความต้องการเหล่านี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากคนในฝั่งตะวันตก”

นายมินต์ผู้อาศัยอยู่ที่สหราชอาณาจักรขณะนี้นิยมเก็บงานศิลปะ และรู้สึกสบายใจที่ไม่ต้องใช้ทีมรักษาความปลอดภัยเพื่อทำให้ครอบครัวของเขาและตัวเขาเองรอดพ้นจากเงื้อมมือของรัฐบาลอังกฤษ และไม่มีความคิดจะกลับไปรัสเซียแต่อย่างใด

……..

ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว