
กลุ่มแอกซ่า (AXA Group) หนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านการประกันภั
ด้านผลการดำเนินงานของ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ แอกซ่าประเทศไทย ในปี 2567 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6,454 ล้านบาท เติบโต 12.9% เมื่อเทียบจากปี 2566 ขณะที่อุตสาหกรรมประกันวินาศภัยไทยทั้งระบบ มีเบี้ยรับรวม 286,458 ล้านบาท เติบโตเพียง 0.5% ล่าสุดแอกซ่าประเทศไทย ได้เปิดตัว “มร.กิลโยม มิราโบว์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ ซึ่งเข้ามาเริ่มงานตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา
ปี 2567 เบี้ยรวมรั้งอันดับ 14
มร.กิลโยม มิราโบว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป็นเวลากว่า 9 เดือนแล้ว ที่ตนเองได้เข้ามาทำงานกับแอกซ่าประเทศไทย แต่จริง ๆ ตนเองทำงานให้กับกลุ่มแอกซ่ามาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว โดยก่อนย้ายมาประจำที่ประเทศไทย เป็นผู้บริหารอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้เป็นเวลา 5 ปี
สำหรับแอกซ่าประเทศไทยในปี 2567 ที่ผ่านมา ถือว่ามีผลการดำเนินงานที่เติ
ประกันรถยนต์พอร์ตหลัก 53%
โดยสัดส่วนรายได้ของเบี้ยรับรวม 6,454 ล้านบาท พอร์ตหลักมาจากเบี้ยประกันภัยรถยนต์ 3,394 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 53% อยู่ในอันดับที่ 15 ของตลาด และตามมาด้วยเบี้ยประกันสุขภาพ 1,438 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 22% อยู่ในอันดับที่ 4 ของตลาด ส่วนที่เหลือมาจากเบี้ยประกันหมวดอื่น ๆ เช่น ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง, ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล, ประกันการเดินทาง, ประกันอัคคีภัย และประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ที่มีเบี้ยรวมกัน 1,621 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 25% โดยปัจจุบันมีจำนวนสาขาในประเทศไทยทั้งหมด 13 สาขา มีตัวแทนและโบรกเกอร์มากกว่า 1,700 ราย
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตนี้
ตั้งเป้าโตสองดิจิต เปิดตัวประกันเดินทาง
มร.กิลโยม มิราโบว์ กล่าวต่อว่า ในปี 2568 บริษัทตั้งเป้าเบี้ยรับรวมจะเติบโตขึ้นในระดับสองดิจิต โดยจะมุ่งเน้นขยายพอร์ตประกันลูกค้ารายย่อย (Personal lines insurance) เช่น ประกันการเดินทาง ซึ่งในวันที่ 1 เม.ย. 2568 ที่จะถึงนี้ จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อว่า “สมาร์ท ทราเวลเลอร์ส ชอยส์ (Smart Traveller’s Choice)” เพื่อเพิ่มความสามารถในการเลื
และจะขยายพอร์ตโฟลิโอประกันสุขภาพมากขึ้น ทั้งประกันสุขภาพส่วนบุคคลและประกันสุขภาพกลุ่ม โดยปีนี้มีแผนจะเปิดตัวประกันสุขภาพสำหรับธุรกิ
นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่
รวมไปถึงมีแผนขยายพอร์ตประกันลูกค้ากลุ่มองค์กร (Commercial lines insurance) เช่น ประกันภัยทรัพย์สินธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อขยายการเติบโตที่มากขึ้นด้วย
บุกขยายงานรถอีวี
ส่วนการทำตลาดประกันรถยนต์ในปีนี้คงไม่มุ่งเน้นบุกตลาดมาก โดยโฟกัสขยายงานประกันรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ไฮบริดแบบชาร์จไฟ (PHEV) และจะไม่แข่งเรื่องสงครามราคา (Price War) เนื่องจากรถยนต์สันดาปยอดขายรถยนต์ใหม่ลดลงไปมาก ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและลากยาวมาจนถึงปีนี้ ซึ่งกระทบต่อเบี้ยประกันรถยนต์ในตลาดโดยรวม และปัจจุบันเห็นผู้เล่นในตลาดมีการแข่งขันด้านราคากันเกิดขึ้น
“การขยายงานประกันรถอีวี เป็นแนวทางของทั้งกลุ่มแอกซ่า เพราะเป็นเทรนด์ของอนาคต แต่แน่นอนว่าการรับประกันยังค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงอยู่ แต่เนื่องจากเรามีโครงการ One AXA ที่แต่ละประเทศมีการทำงานร่วมกัน โดยจะมีการแชร์ข้อมูลสถิติการเคลมเพื่อนำมาคำนวณเบี้ยประกันรถอีวีให้มีความเพียงพอและเหมาะสมที่สุด ขณะที่แอกซ่าประเทศจีนก็ได้มีการไปพูดคุยกับผู้ผลิตรถยนต์อีวีเป็นการเฉพาะ ซึ่งเราก็จะมีข้อมูลสถิติที่มากขึ้นในการพิจารณารับประกัน”
ปัจจุบันยอมรับว่าพอร์ตประกันรถอีวีของแอกซ่าประเทศไทยขาดทุนอยู่เล็กน้อย แต่เพราะเป็นพอร์ตของอนาคต ดังนั้นบริษัทยังคงรับประกันต่อไป แต่จะพิจารณาด้วยความระมัดระวัง โดยใช้สถิติเคลมมาพิจารณาโค้ดเบี้ยประกันให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ส่วนถามว่าจะมีนโยบายในการปรับขึ้นเบี้ยรถอีวีีหรือไม่นั้น มองว่าจะขึ้นอยู่กับแบรนด์รถและรุ่นรถเป็นสำคัญ จึงอาจพิจารณาเป็นรายกรณี
หาโอกาส M&A ขึ้นท็อป 10
มร.กิลโยม มิราโบว์ กล่าวอีกว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของแอกซ่าประเทศไทยคือ การขยับมาร์เก็ตแชร์ขึ้นไปสู่ท็อป 10 ของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยไทยในอนาคต แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน แต่เบื้องต้นจะมาจากการเติบโตทั้งภายใน (Organic) และดูว่าหากมีโอกาสเหมาะสมในการทำดีล M&A ก็พร้อมที่จะกระโดดเข้าไป ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในปัจจุบันธุรกิจแอกซ่าในประเทศอื่น ๆ ตอนนี้ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ติดอยู่ในท็อป 5 เกือบทั้งหมด