ธปท. เตือนใช้คริปโทฯ ซื้อสินค้า ห่วงราคาผันผวน-สร้างต้นทุนเศรษฐกิจ

บิตคอยน์

ธปท. เตือนใช้สินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้าและบริการ ห่วงใช้แพร่หลายสร้างต้นทุนระยะข้างหน้า พร้อมเร่งหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องหาทางการกำกำกับที่เหมาะสม

วันที่ 7 ธันวาคม 2564 นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตอนนี้ธปท.ร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ระหว่างการหารือในการพิจารณารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินดิจิทัล เพื่อจำกัดความเสี่ยง หากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนในการเตือนจะสูงมาก

อย่างไรก็ดี ในหลักการในแง่สินทรัพย์ดิจิทัล ธปท.ไม่ได้กังวลในทุกเรื่องเท่ากัน แต่สิ่งที่กังวลจะเป็นนำมาสื่อกลางการชำระเงิน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีหลายประเภท ซึ่งบางประเภท เช่น Blank coin ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง อาจจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องของการรักษามูลค่าของเงินได้ ซึ่งอาจจะเกิดความผันผวนได้ ส่วนในเรื่องของการลงทุนขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละคน

ทั้งนี้ แนวโน้มการกำกับดูแลจะดูครอบคลุมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยที่ผ่านมามีผู้ประกอบการได้เข้ามาคุยบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโมเดล เพื่อเกณฑ์การดูแลออกมาดีที่สุด

ขณะเดียวกัน ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการออกบทความภูมิทัศน์ทางการเงิน Consultation papar financial Landscape ในเรื่องแนวโน้มของระบบการเงินดิจิทัลในระยะข้างหน้า ซึ่งจะมีในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น

“หากวันนี้มีผู้ประกอบการใช้แล้ว ก็ไม่ผิดกฎหมาย เราไม่ใช่ไม่สนับสนุน แต่ต้องรับความเสี่ยงได้ เพราะสิ่งที่เราเป็นห่วงมาชำระค่าสินค้าและบริการมันมีจุดความเสี่ยงอยู่ เพราะแต่ละคนรับความเสี่ยงไม่เหมือนกัน และใช้แพร่หลายต้นทุนการเตือนจะสูงมาก เราจึงออกส่งสัญญาณ”

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธปท.กล่าวว่า

“ทำไม ธปท. ห่วงการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการ” โดยระบุว่า ธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแลเสถียรภาพโดยรวมมีความเป็นห่วงและกังวลต่อแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาและนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระเงินมากขึ้น ซึ่งความกังวลเช่นเดียวกับธนาคารกลางหลายประเทศ

“ขณะนี้ธปท.ไม่ได้ห้าม แต่เป็นห่วงในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลใช้ ชำระค่าสินค้าและบริการ ในอนาคต เนื่องจากมีเรื่องความผันผวนของราคา มูลค่าสินทรัพย์”


สำหรับความร่วมมือระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัท บิทคับ (Bitkub) นั้น เป็นการเข้าไปถือหุ้นผ่านบริษัทลูก ซึ่งไม่ใช่เป็นการลงทุนของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งในแง่การกำกับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หากมีการเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารจะต้องมีเรื่องของการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธนาคารและความเชื่อมั่นของประชาชน เนื่องจากธนาคารรับฝากเงิน ซึ่งเป็นอำนาจในการกำกับดูแลของธปท.