สมัครสอบตำรวจ “นายสิบ-ประทวน-สัญญาบัตร” เริ่ม 1-28 เม.ย. 64

ตำรวจ
Jack TAYLOR / AFP

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครตำรวจสายอำนวยการ “นายสิบ ประทวน สัญญาบัตร” 1-28 เมษายน 

วันที่ 1 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เปิดรับสมัครตำรวจสายอำนวยการ ตั้งแต่ระดับนายสิบ ประทวน สัญญาบัตร ระหว่างวันที่ 1-28 เมษายน 2564 โดยแจ้งคุณสมบัติและรายละเอียดการสอบภาคทฤษฎี ดังนี้

สมัครตำรวจชั้นประทวน 400 อัตรา

ดำรงตำแหน่ง รอง สว. (สวนสวน) ในหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ตร.

  • เป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ทั้งเพศชายและหญิง
  • วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์

สมัครบุคคลภายนอก 200 อัตรา

ดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) ในสังกัด สพฐ.ตร.

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศชาย จำนวน 160 อัตรา และเพศหญิง จำนวน 40 อัตรา
  • วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สาขาเคมี เท่านั้น (ไม่รวมถึงสาขาเคมีอื่น ๆ หรือแขนงอื่น) จำนวน 155 อัตรา และ สาขาฟิสิกส์ สาขาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ เท่านั้น จำนวน 45 อัตรา (ไม่รวมถึงสาขาฟิสิกส์อื่น ๆ หรือแขนงอื่น)
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์

สมัครสอบแข่งขันบุคคลภายนอก 100 อัตรา

ดำรงตำแหน่ง ผบ.หมู่ กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน ทำหน้าที่วิทยาการ ในสังกัด สพฐ.ตร.

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศชาย จำนวน 80 อัตรา และ เพศหญิง จำนวน 20 อัตรา
  • วุฒิการศึกษา ม.6/ปวช. หรือเทียบเท่า
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์

กำหนดการ

  • ประกาศรับสมัคร 25-31 มีนาคม 2564
  • รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต 1-28 เมษายน 2564
  • สอบข้อเขียน 27 มิถุนายน 2564
  • ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน 6 กรกฎาคม 2564

วิชาใช้สอบตำรวจสายอำนวยการ

สำหรับรายวิชาที่ใช้สอบตำรวจสายอำนวยการ มี 6 วิชา ดังนี้

1. ความสามารถทั่วไป 

ทดสอบความรู้ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความคิดเชิงจํานวน โดยใช้ข้อมูล หรือปัญหาทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสม การคิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วย การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อุปมาอุปไมย อนุกรมและมิติสัมพันธ์

การคิดเชิงจํานวน ประกอบด้วย คณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ การคํานวณขั้นพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ การแก้สมการและอสมการ เซต ตรรกศาสตร์ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ตาราง กราฟ การหาค่ากลาง และการวัด การกระจาย

2. ภาษาไทย

ทดสอบความรู้ความสามารถการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา ได้แก่
ทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ
การใช้ถ้อยคํา สํานวน การใช้คําให้ตรงกับความหมาย กฎเกณฑ์ และความนิยม

การจับใจความ วิเคราะห์ความ สรุปความ หรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือจากบทความ การพิจารณาเลือกใช้ภาษา ในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ

3. ภาษาอังกฤษ

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอ่านเพื่อจับใจความ (Reading Comprehension) คําศัพท์ (Vocabulary) โครงสร้างของประโยคต่างๆ (Structure) หลักไวยากรณ์ (Grammar) และการสนทนา (Conversation) เป็นต้น

4. สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม หลักศีลธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิต ในสังคมและการปฏิบัติงาน และหลักธรรมาภิบาล และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

5. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสำนักงาน

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน เช่น ไมโครซอฟท์เวิร์ด(Microsoft Word) ไมโครซอฟท์เอ๊กเซล(Microsoft Excel) ไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยต์(Microsoft Powerpoint) น่าจะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ทักษะการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ Social Media และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ facebook twitter G+ เป็นต้น

6. พระราชกฤษฎีกาว่าหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

ทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจําวัน ที่ประชาชนควรรู้ กฎหมายบ้านเมืองต่างๆ

สำหรับการสอบทั้ง 6 วิชา รวมข้อสอบทั้งหมด 150 ข้อ เท่ากับ 150 คะแนน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ใช้วิธีการฝนด้วยดินสอ 2B โดยข้อสอบจะมีขอบเขตอยู่ในเนื้อหาระดับ ม.6/ปวช.