ศบค.ชี้สงกรานต์ป่วยโควิดพีกสุด 50,000 ราย จับตาย่อหย่อนแตะแสนคน

แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์
แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์

ศบค.จับตาช่วงสงกรานต์ คาดยอดผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่พุ่งสูงสุดที่ระดับ 50,000 ราย/วัน ดันผู้ป่วยปอดอักเสบพุ่ง2,000 คน/วัน ชี้ถ้าย่อหย่อนต่อมาตรการอาจแตะเส้นสีแดง 1 แสนรายได้  ก่อนลดระดับลงมาในเดือนพ.ค.-มิ.ย. จี้เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 ให้ผู้สูงอายุก่อนถึงสงกรานต์ ระบุคลัสเตอร์โรงงาน สถานประกอบการ ร้านอาหารเริ่มลดลงแล้ว

วันที่ 3 มีนาคม 2565 แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ 440,641,800 ราย โดยในวันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 ล้านคน โดยมีผู้ป่วยอาการหนักสะสม 75,859 คน ติดเป็น 0.02% ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 5,993,043 ราย

เกาหลีใต้ขึ้นอันดับ 1 ในเอเชีย

สำหรับผู้ติดเชื้อรายสัปดาห์ใน 20 ประเทศ อันดับ 1.เป็นเกาหลีใต้ และอันดับ 2.เป็นเยอรมนี ซึ่งผู้ติดเชื้อสะสมในรอบ 7 วันของทั้ง 2 ประเทศนี้เกินกว่า 1 ล้านราย และอันดับ 3.เป็นรัสเซียมีผู้ติดเชื้อสะสมในรอบ 7 วันอยู่ที่ 797,254 ราย

นอกจากนี้ยังมีประเทศในทวีปเอเชียที่ติดอันดับ 20 ประเทศจากยอดผู้ติดเชื้อในรอบ 7 วัน ทวีปอันดับ 4.เป็นเวียดนาม 628,881 ราย อันดับ 5.เป็นญี่ปุ่น 460,706 ราย อันดับ 10. อินโดนีเซีย อันดับ 15.มาเลเซีย อันดับ16.ฮ่องกง และประเทศไทยอยู่อันดับ 18 จากจำนวนผู้ป่วยสะสมในรอบ 7 วันอยู่ที่ 163,751 ราย

สำหรับอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด1.สหรัฐอเมริกา จำนวน 80,766,725 ราย 2. อินเดีย จำนวน 42,944,761 ราย 3.บราซิล จำนวน 28,842,160 ราย 4. ฝรั่งเศส จำนวน 22,840,306 ราย 5. สหราชอาณาจักร จำนวน 19,029,321 ราย โดยที่ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 33 จำนวน 2,958,162 ราย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนทั่วโลกที่มีการแพร่ระบาดง่ายและมีผู้ป่วยอาการหนักไม่มากเมื่อเทียบกับสายพันธุ์โอมิครอนระบาด ทำให้มีหลาย ๆ ประเทศมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง หลังจากมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มขึ้น และมีการจัดการในรูปแบบดรคประจำถิ่น ได้แก่ สเปน อินเดีย รัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งจีนที่ก่อนหน้ามีโควิดเป็นศุนย์ก็มีแนวโน้มที่จะยกลิกมาตรการนี้ และใช้มาตรการ living with COVID หรืออยู่กับโควิดให้ได้

ยอดป่วยใหม่+ATK พุ่งเกิน 6.5 หมื่นรายแล้ว

สำหรับประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับมาตรการเป็นแบบโรคประจำถิ่น แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังคงต้องพิจารณาให้รอบด้าน ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงประชาชนในการเข้าถึงการรับบริการรักษาต่าง ๆ และการัลบมาใช้ชีวิตเพื่อทำมาหากินแบบนิวนอร์มอลให้ได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการป้องกันโรคและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน และถ้าสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สำหรัสถานการณ์โควิดในบ้านเราวันนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่ 23,618 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 734,727 ราย หายป่วยแล้ว 543,184 รายเสียชีวิตสะสม 1,372 ราย

ส่วนข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,958,162 ราย หายป่วยแล้ว 2,711,678 ราย เสียชีวิตสะสม 23,070 ราย

“ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 23,618 ราย เป็นวิธีการตรวจ PCR แต่ถ้ารวมผู้ที่ตรวจ ATK ในวันนี้มีเพิ่มขึ้นมาอีก 42,138 คน โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ PCR และ ATK จะอยู่ที่ 65,756 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,131 คน ในจำนวนนี้หรือ 1 ใน 3 เป็นผู้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 325 คน ส่วนผู้ป่วยรักษาตัวมีจำนวน 223,414 คน อยู่ใน รพ. 79,412 คน”

อย่างไรก็ตามเมื่อไปดูในรายละเอียดพบว่า ผู้ป่วยที่รักษาตัวใน รพ. 79,412 คน นั้นเป็นผู้ที่มีอาการน้อยจำนวน 78,281 คน คิดเป็น 98.5% และเป็นผู้ที่อยู่ใน รพ.สนามและอื่น ๆ อีกจำนวน144,002 คน

จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการน้อยมีจำนวนมาก และช่วงนี้เบอร์ 1330 ของ สปสช.มีสายติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก สปสช.จึงเพิ่มกำลังคนในการรับสายที่โทร.เข้ามาและมีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วย ทั้งทหาร จิตอาสา รวมทั้งภาคประชาสังคม และยังสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ได้ นอกจากนี้มีการพุดคุยกันในที่ประชุมว่าจะมีการรวมศูนย์ในการรับโทรศัพท์ร่วมกัน ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงนั้นสามารถติดต่อที่เบอร์ 1669 ได้ทันที

เตือนย่อหย่อนมีสิทธิเห็นตัวเลขแตะเส้นสีแดงแสนราย

ส่วนการคาดการณ์สถานการณ์ล่าสุดที่จัดทำโดยกรมควบคุมโรค สำหรับการติดเชื้อรายใหม่ จากภาพจะเห็นยอดที่เป็นผู้ติดเชื้อรายวันจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เป็นสิ้นสีน้ำเงิน ขณะนี้ยังอยุ่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยถ้ายังคงมาตรการที่ปฏิบัติอยู่จะยังประคองอยู่ที่เส้นสีเหลือง (ประมาณ 40,000-50,000 ราย)

“แต่ถ้ามีการผ่อนคลายมากขึ้น หรือมีการย่อหย่อนมาตรการส่วนบุคคลจำนวนผู้ติดเชื้อก็จะไต่ไปบนเส้นสีแดงได้” แพทย์หญิงสุมนีกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ “เส้นสีแดง” ที่ สธ.มีการคาดการณ์ (ฉากทัศน์) ก่อนหน้า ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดจะเพิ่มขึ้นไปถึง 1 แสนราย/วันในช่วงวันที่ 19 เมษายน 2565 หากมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนเป็นวงกว้างและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และจะค่อยลดลงมาในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2565  (ดูตารางด้านบนประกอบ)

จาการคาดการณ์คาดว่าจะขึ้นไปสูงสุดในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้ และจะค่อยลดลง โดยถ้ายังคงปฏิบัติการตามมาตรการที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทั้งอยู่ห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย ไม่เดินทางไปในที่ที่มีคนแออัด ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการ COVID free setting คาดว่ากลางเดือนเมษายน 2565 จำนวนผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่ 40,000-50,000 ราย/วันได้

“แต่ถ้ามีการผ่อนคลายร่วมกับการย่อหย่อนมาตรการก็อาจทำให้ช่วงพีdหรือช่วงสูงสุดในกลางเดือนเมษายนนี้อาจเพิ่มมากกว่านี้ได้ ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องทุกภาคส่วนยังคงต้องเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคลและองค์กร แต่ถ้าให้ดีที่สุดจำนวนผู้ติดเชื้อควจจะอยู่ที่ไม่เกิน 20,000 คน/วัน (เส้นสีเขียว) ซึ่งจะต่ำสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2565”

สำหรับการคาดการณ์ผู้ป่วยปอดอักเสบในระลอกเดือนมกราคม 2565 นี้ เป็นช่วงที่เป็นเชื้อโอมิครอนเป็นส่วนใหญ่ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบในระลอกที่ผ่านมา จึงมีการทำการคาดการณ์ผู้ป่วยปอดอักเสบไว้ด้วย โดยคาดว่าจะมีประมาณ 625 ราย/วัน ซึ่งน้อยกว่าช่วงที่เดลต้าระบาดซึ่งจะอยู่ที่ 5,000 ราย/วัน

“ตอนนี้ผู้ป่วยปอดอักเสบแตะหลักพันรายเป็นวันที่สอง มีการคาดการณ์กันว่า ถ้ายังคงมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันจนถึงช่วงสงกรานต์ จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบจะมีมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม หรือหลังสงกรานต์ประมาณ 2 สัปดาห์ ขณะนี้ก็ยังคงต้องเคร่งครัดมาตรการของสาธารณสุขอยู่ต่อไป ซึ่งมีการแจ้งเตือนภัยระดับ 4 ได้แก่การงดการรวมกลุ่ม work from home ให้ได้มากที่สุด ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ข้ามจังหวัด และเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้มากขึ้นในทุกเข็ม ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยปอดอักเสบไม่เกิน 2,000 ราย/วัน ซึ่งระบบการรักษาของกระทรวงสาธารณสุขยังคงรองรับได้” แพทย์หญิงสุมนีกล่าว และว่า

เรียนว่าการเตือนภัยระดับ 4 เป็นการขอความร่วมมือ เพื่อให้สถานการณ์การระบาดของผู้ติดเชื้อไม่เพิ่มมากขึ้น โดยมีการทำมาตรการผ่อนคลายในทุกระยะ และมีการปรับแผนในทุกช่วงสถานการณ์ได้ตลาดเวลา

ชี้คลัสเตอร์โรงงาน สถานประกอบการ ร้านอาหารเริ่มลด

สำหรับ 10 จังหวัดที่ติดเชื้อสูงสุด อันดับ1 .ยังเป็นกรุงเทพมหานคร 2,779 ราย 2.ชลบุรี 1,217 ราย 3.นครศรีธรรมราช 959 ราย 4.สมุทรปราการ 953 ราย 5.ระยอง 754 ราย 6.นนทบุรี 739 ราย 7.สมุทรสาคร 704 ราย 8.ภูเก็ต 649 ราย 9.ราชบุรี 570 ราย และ10.บุรีรัมย์ 548 ราย

นอกจากนี้หากแบ่งการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์ จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มน้อยลงแล้ว สำหรับคลัสเตอร์ที่พบมากสุดในวันนี้คือ สถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ พบที่ กทม. ชลบุรี สมุทรปราการ นราธิวาส ปทุมธานี สุราษฎร์ธานี บึงกาฬ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา คลัสเตอร์โรงเรียน ซึ่งพบน้อยแล้วได้แก่ที่ร้อยเอ็ด พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี กาฬสินธุ์ ชลบุรี เพชรบุรี มหาสารคาม

คลัสเตอร์ตลาดที่พบต่อเนื่อง พบที่ จ.สมุทรสาคร 30 ราย และกระจายเป็นคลัสเตอร์เล็ก ๆ ไปที่จังหวัดอื่น ได้แก่ เพชรบุรี อุบลราชธานี จันทบุรี ขอนแก่น มุกดาหาร

ส่วนคลัสเตอร์ที่พบน้อยลง ได้แก่คลัสเตอร์โรงงาน สถานประกอบการ พบที่ 4 จังหวัดเท่านั้น ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี สมุทรปราการและชลบุรี

สำหรับพิธีกรรมศาสนา พบในงานศพแค่ 2 จังหวัด ได้แก่ สระแก้วกับร้อยเอ็ด และพบคลัสเตอร์งานแต่งที่เดียวที่เพชรบุรี

“ส่วนคลัสเตอร์ร้านอาหาพบว่าน้อยลงแล้ว พบที่บึงกาฬกับขอนแก่น” แพทย์หญิงสุมนีกล่าว

อัตราครองเตียงส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสีเขียว ยกเว้นภูเก็ต

สำหรับจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบที่เข้าโรงพยาบาลในวันที่ 2 มี.ค. พบมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร 178 ราย สมุทรปราการ 88 ราย บุรีรัมย์ 63 ราย นนทบุรี 62 ราย ภูเก็ต 55 ราย กาญจนบุรี 35 ราย สุราษฎร์ธานี 35 ราย นครศรีธรรมราช 34 ราย นครราชสีมา 33 ราย และชลบุรี 33 ราย

ส่วนอัตราการครองเตียงจะอยู่ในระดับสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่ได้สูงเกิน 50% ยกเว้นที่ภูเก็ตซึ่งอยู่ที่ 62.70% ทั้งนี้โดยรวมอัตราการครองเตียงในภารวมของประเทศที่กรมการแพทย์รายงานอยู่ในระดับ 58.1%

สำหรับผู้เสียชีวิต 49 รายในวันนี้เป็นคนไทย 47 ราย เมียนมา 2 ราย เป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรังอยู่ที่ 96 % และปัจจัยเสี่ยงยังมาจากคนรู้จัก 22 ราย ติดเชื้อจากครอบครัว 4 ราย อยู่ในพื้นที่ระบาด 22 คน และมีขับแท็กซี่ด้วย 1 คน และมีถึง 67% ของผู้เสียชีวิตในวันนี้เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบโดส

สำหรับผู้มารับวัคซีน ณ วันที่ 2 มีนาคม 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 51,366 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 16,964 ราย เข็มที่ 3 จำนวน 82,364 ราย และระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 – 2 มีนาคม 2565 มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 124,187,243 โดส

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 53,708,957 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,787,015 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 20,691,271 ราย

“ก่อนที่จะถึงเทศกาลสงกรานต์นี้ขอให้ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยไรับวัคซีนเลยจำนวน 2.2 ล้านคนให้รีบมารับวัคซีน และกลุ่มที่ยังไม่ด้รับเข็มที่ 2 รวมถึงเข็มกระตุ้น หรือเข็มที่ 3 เพื่อต้อนรับสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ และทำให้ลูกหลานกลับไปหาผู้สูงอายุได้อย่างสลายใจ” แพทย์หญิงสุมนีกล่าว