เปิดวงเงินเลือกตั้ง 66 ตัวแทนพรรคไหนซื้อโฆษณาในเฟซบุ๊กมากที่สุด

หาเสียงเลือกตั้ง-2

Meta เปิดเครื่องมือติดตามโฆษณาทางการเมือง เพิ่มความโปร่งใส เช็กสถิติพรรคการเมือง-นักการเมือง-แฟนคลับ ใครจ่ายค่าโฆษณาคอนเทนต์ทางการเมืองมากที่สุด

วันที่ 7 เมษายน 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า บริษัท Meta เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่าง “เฟซบุ๊ก” ได้เตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งทีมตรวจสอบข่าวเท็จ การบิดเบือนข้อมูล และตรวจสอบพฤติกรรมคุกคามจากตัวตนปลอม หรือการแทรกแซงจากต่างประเทศ เป็นต้น

Ad Library หรือ “คลังโฆษณา” อีกเครื่องมือที่เฟซบุ๊กได้อัพเดตเพื่อสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง โดยมีการแยกหมวดหมู่ “ประเด็นปัญหา การเลือกตั้ง หรือการเมือง” ออกจากโฆษณาทั่วไป ทั้งยังเพิ่มแบนเนอร์ได้รับสปอนเซอร์ เพื่อให้ผู้คนในประเทศไทยรับรู้ว่าใครเป็นผู้ซื้อโฆษณาดังกล่าว โดย เฟซบุ๊ก นับรวมไปถึงองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ที่รณรงค์ด้านการเมืองด้วย

จากข้อมูลบน Ad Library ที่เริ่มเก็บตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ยอดรวมที่มีการแสดงโฆษณาเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม การเมือง หรือการเลือกตั้ง มีจำนวนโฆษณาทั้งหมด 21,907 คอนเทนต์ จำนวนเงินที่ใช้ซื้อโฆษณาทั้งหมด 13,194,819 บาท

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้รวบรวมสถิติจาก Ad Library ดังกล่าวว่าโฆษณาทางการเมืองจากใครได้รับการ “สปอนเซอร์” มากที่สุดบนเฟซบุ๊ก ในรอบ 30 วัน

    1. ป้าโส FC by Tacina
      เพจแฟนคลับของวชิราภรณ์ กาญจนะ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวนโฆษณา 294 ชิ้น ใช้เงิน 243,100 บาท
    2. ร้อยเอก ดร.จองชัย วงศ์ทรายทอง-ผู้กองเบิร์ด
      เพจส่วนตัวของผู้สมัคร ส.ส.เขต 2 จ.ชลบุรี พรรพลังประชารัฐ ใช้เงิน 239,240 บาท จำนวนโฆษณา 195 ชิ้น
    3. เพจพรรครวมไทยสร้างชาติ United Thai Nation Party
      ใช้เงิน 128,005 บาท จำนวนโฆษณา 90 ชิ้น
    4. เพจ Amnesty International Thailand
      ใช้เงิน 120,880 บาท จำนวนโฆษณา 9 ชิ้น
    5. เพจ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ Aoodda
      ใช้เงิน 109,086 บาท จำนวนโฆษณา 64 ชิ้น
    6. เพจ ดร.วิทยา อินาลา พรรคไทยพร้อม
      ใช้เงิน 107,140 บาท จำนวนโฆษณา 17 ชิ้น
    7. เพจ พี่ต่อ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน “คำไหน-คำนั้น”
      ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
      ใช้เงิน 83,465 บาท จำนวนโฆษณา 160 ชิ้น
    8. เพจ พรรคเปลี่ยน
      โดย นอท พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ ผู้ก่อตั้งแอป “กองสลากพลัส”
      ใช้เงิน 83,361 บาท จำนวนโฆษณา 13 ชิ้น
    9. เพจ เทมส์ ไกรทัศน์-ภูเก็ต
      ผู้สมัคร ส.ส.ภูเก็ต พรรคชาติพัฒนากล้า
      ใช้เงิน 80,696 บาท จำนวนโฆษณา 32 ชิ้น
    10. เพจ อ้อ ศิรินันท์ ศิริพานิช
      ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรครวมไทยสร้างชาติ
      ใช้เงิน 75,205 บาท จำนวนโฆษณา 66 ชิ้น
    11. เพจคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan
      ใช้เงิน 74,724 บาท เพจ 30 ชิ้น

งบฯใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง คำนวณอย่างไร ?

การคำนวณค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง ให้คำนวณตามค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายจริงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้

1. เลือกตั้งเพราะสภาผู้แทนราษฎร ครบวาระ ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่ 240 วัน ก่อนวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้ง

2. เลือกตั้งเพราะยุบสภา หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ยุบสภาหรือวันที่ตำแหน่งว่างลง แล้วแต่กรณี จนถึงวันเลือกตั้ง

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำหนดให้แต่ละผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต หรือพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ สามารถใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกินที่กำหนด ดังนี้

ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ต่อคน)

  • กรณีสภา ครบวาระ ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)
  • กรณี ยุบสภา/แทนตำแหน่งที่ว่าง ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 1,900,000 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนบาทถ้วน)

ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ต่อพรรคการเมือง)