สปน. เปิดเวที ฟื้นฟูวิกฤตมะพร้าวน้ำหอมผลลีบ ผลทุย-ราคาตกต่ำ

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเวที ฟื้นฟูวิกฤตมะพร้าวน้ำหอม ก้าวสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เพื่อร่วมแก้วิกฤตสวนมะพร้าวน้ำหอม ผลแคระแกร็น ผลลีบ ผลทุย ให้เกิดความยั่งยืน

เมื่อเร็ว ๆนี้ ที่ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรบ้านแพ้ว หมู่ 2 ถนนบ้านแพ้ว-พระประโทน ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร นายนพพร บุญแก้ว ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเวทีสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิกฤตสวนมะพร้าวน้ำหอม ผลแคระแกร็น ผลลีบ ผลทุย “ฟื้นฟูวิกฤตมะพร้าวน้ำหอม ก้าวสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน”

ปัจจุบันสถานการณ์ผลมะพร้าวลีบ ผลทุย ได้ส่งผลกระทบกว่า 300,000 ไร่ทั่วประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ได้คัดเลือกประเด็นปัญหาสถานการณ์มะพร้าวน้ำหอมผลแคระแกร็น ผลลีบ ผลทุย ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ต้นแบบ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความโดเด่นด้านมะพร้าวน้ำหอมมากที่สุด มีพื้นที่ปลูก 71,730 ไร่ ให้ผลผลิตกว่า100,000 ไร่ มีเกษตรกรมีจำนวน 6,900 กว่าราย สร้างรายได้จังหวัด2,571 ล้านบาท

ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาประกอบ ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร, ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร, เกษตรจังหวัดสมุทรสาคร, อาจารย์ประจำคณะเกษตร กำแพงแสน, นายกสมาคมมะพร้าวน้ำหอมไทย, ปราญช์ชาวบ้าน, เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว และพาณิชย์จังหวัดสมุทรสาคร  นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดบูทนิทรรศการให้ความรู้แก่เกษตรกร อาทิ บูทศัตรูมะพร้าว บูทผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม บูทมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว สินค้า GI จังหวัดสมุทรสาคร บูทการเจริญเติบโตของจั่นมะพร้าว

นายนพพร บุญแก้ว ผู้ตรวจราชการสำนักงานยกัฐมนตรี รักษาราชการแทนรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเวทีที่เปิดให้ทุกท่านได้ร่วมเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูวิกฤติมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาเริ่มจากความต้องการของชุมแทนการความต้องจากภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิด แก้ไขปัญหา จึงต้องอาศัยความร่วมกับทุกองค์ประกอบในสังคม ให้ชุมชนเข้มแข็งและสามรถแก้ไขได้ด้วยตนเอง

นางลัดดาวัลย์ จินทิตย์ เกษตรจังหวัดสมุทสาคร ได้กล่าวนำเสนอการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ว่า ภายหลังการสำรวจแปลงพบว่ามะพร้าวผลทุย-ผลลีบเกิดจากสภาวะโลกร้อน กรมวิชาเกษตรได้เก็บตัวอย่างไปตรวจ พบไม่เชื้อโรคทั้งในใบและในผล จึงมั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแน่นอน 2. มะพร้าวผลทุยยังไม่ใช่ภัยพิบัติ ยังไม่มีการประกาศเป็นมติครม. จึงยังไม่มีระเบียบช่วยเหลือที่แน่ชัด จึงได้ประสานมายังให้สำนักนายกฯ รับเรื่องหาแนวทางแก้ไขต่อ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ADVERTISMENT

นายรพีทัสน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กล่าวถึงปัญหาหลักที่พบและแนวทางแก้ไข ว่าปัญหามะพร้าวลีบทุย ถือเป็นปัญหาใหม่ ที่เกิดจากสภาวะ Climate Change และเกิดผลกระทบกับพืชทุกชนิด ซึ่งผลการวิจัยพบว่า จากสภาพอากาศร้อนส่งผลให้เกษตรตัวผู้และตัวเมียทำงานไม่สมบูรณ์ ดอกมะพร้าวหลุดร่วง และการสร้างเนื้อของผลมะพร้าวไม่สมบูรณ์

โดยกรมฯ จะนำเทคโนโลยี เช่น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย ทั้งสายพันธุ์ วิธีการป้องกันโรค การบริหารจัดการน้ำ การลดอุณภูมิ การปรับธาตุอาหาร รวมถึงการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ-ชีวภัณฑ์เพื่อปรับสภาพแวดล้อม นำมาทดลองแและสาธิตให้เกษตรกรเกิดการยอมรับ  ทั้งนี้ความท้าทายในการผลักดัน เพื่อเข้าสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนความคิด ซึ่งเราจะต้องมีผลงานที่ดี งานวิชาการและวิธีการที่เหมาะสม เกษตรกรถึงจะเกิดความเชื่อมั่น  อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ไขแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน จากสภาพดินและสภาพอากาศ

ADVERTISMENT

นางวิไลวรรณ ทวิชศรี ผอ.กลุ่มบริหารโครงการวิจัยพืชสวน ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึง ปัญหาที่พบขณะระหว่างการวิจัยว่าปัญหาผลผลิตน้อยไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นกับทั่วโลกกว่า 70% จากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ถึงขั้นมีการปิดโรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้มีการลดการผลิตชั่วคราว จาก 6 วัน เหลือ 2 วัน พร้อมแนะนำเกษตรกรเบื้องต้น คือ ควรให้น้ำในสัดส่วนอย่างน้อย 90 ลิตรต่อต้นต่อวัน หรือสัปดาห์ละ 600-630 ลิตร

ทั้งนี้ได้กรมวิชาการเกษตร ได้สนับสนุนให้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมโดยใช้พันธุ์แท้ โดยต้องตรวจดีเอ็นเอ แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัด ทำให้กรมฯ สามารถตรวจได้แค่พื้นที่นำร่อง และจะจัดการอบรมโดยจัดให้อีกครั้งในพื้นที่จ.สมุทสาคร จ.ราชบุรี และจ.ฉะเชิงเทรา  รวมถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถทำคู่มือการปลูกแจกจ่ายกับประชาชนได้อย่างทั่วถึง

นายจรัญ เจริญทรัพย์ นายกสมาคมมะพร้าวน้ำหอมไทย  กล่าวถึงสถานการณ์มะพร้าวน้ำหอมว่า อนาคตมะพร้าวน้ำหอมไทยยังสดใส และยังมีแนวโน้มเติบโตได้สูง เพราะยังมีหลายคนทั่วโลกไม่เคยสัมผัสมะพร้าวน้ำหอมไทยที่มีความหอม ความหวานเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น  สร้างมูลค่าให้ประเทศไทยกว่า 20,000 ล้านบาท จึงได้เสนอให้ คณะกรรมการฟรุตบอร์ด(Fruit Board)  ช่วยพิจารณาและผลักดันการผลักดันมะพร้าวน้ำหอม เนื่องจากเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีมูลค่าสูง และเกษตรกรยังจำเป็นต้องพึ่งพามะพร้าวน้ำหอมอยู่

ทั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไข คือ เกษตรกรต้องกระตุ้นให้รากแข็งแรง โดยการหยุดใช้สารเคมี แลว้ใช้ปาล์มหมักจากจุลินทรีย์ ที่มีกรดอะมิโนเป็นการเร่งราก ให้มะพร้าวเกิดความสมดุล สามารถดึงสารอาหารไปยังเกษตรและผลได้ รวมถึงการปรับสภาพน้ำในร่องคลองจะต้องสม่ำเสมอ ไม่แห้งเกิน และไม่ท่วมเกิน

ขณะนี้เราส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปที่จีนและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก มีมวลรวมการผลิตทั้งหมด 10 ล้านลูกต่อวัน  แบ่งส่งออก 6  ล้านลูกต่อวัน แบ่งไปที่กลุ่มประเทศยุโรปประมาณ 3 ล้านลูก  อีกประมาณ  1 ล้านลูกขายในประเทศ

นอกจากนี้เรากำลังเผชิญกับปัญราคาตกต่ำ ต้นทุนสูง และคู่แข่งจากประเทศเวียดนาม จากสัปดาห์แรกราคา 20 กว่าบาท/ลูก แต่ผ่านไปอีกสัปดาห์ราคาร่วงเหลือแค่ 15 บาท/ลูก ส่วนที่ประเทศเวียดนาม ราคา12 บาท/ลูก แต่จุดอ่อนของมะพร้าวเวียดนาม คือ กลิ่นหอมน้อยกว่า ความหวานน้อยกว่า

ข้อมูลจากทูตพาณิชย์ ระบุว่า ตู้คอนเทนเนอร์ที่จะส่งไปจีนต่างหันไปซื้อที่เวียดนาม ขณะนี้ไม่มีออเดอร์ให้สำหรับไทย แม้ในสภาวะที่เราเผชิญเรื่องราคา แม้ทางการจีนรู้ว่าที่ไทยขาย 25 บาท/ลูก แต่ยังเป็นราคาที่สูง ขณะที่เวียดนามขาย 12 บาท/ลูก จึงหันเอาตู้คอนเทนเนอร์ไปรอรับผลผลิตที่เวียดนามแทน แต่อย่างไรก็ตามเรายังต้องพึ่งพาประเทศจีน

ทั้งนี้ได้เสนอให้ภาครัฐมีการปรับปรุง การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลการดูแลรักษาต่อเกษตร ให้ทันต่อสถานการณ์ของสภาพอากาศ  อย่างไรก็ตาม เกษตกรยังจำเป็นต้องพึ่งพิงกับงานวิชาการที่มีตัวเลขมาสนับสนุน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เกษตรกรควรรู้ปัญหาและรู้วิธีแก้ดีที่สุดสำหรับสวนของตนเอง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา กฤษณพุกต์ อาจารย์ประจำคณะเกษตร ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้กล่าวถึงสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ว่าปัญหาของลูกมะพร้าวผลลีบ ผลทุย เป็นปัญหาที่เกิดมากว่า 10 ปีแล้ว จนพบว่ามีสาเหตุจากความร้อนแล้ง ซึ่งเป็นช่วงลาณีโญ เกิดผลลีบ หรือบางผลไม่ร่วง แต่ไม่ก็โต ต่อมาเมื่อสภาอากาศเริ่มเย็นขึ้น ผลผผลิตเริ่มกลับมาสมบูรณ์ จนกระทั่งปี 2567 อากาศกลับมาร้อนก็เกิดปัญหาผลลีบ  และมีลักษณะแปลก ลูกเล็ก คล้ายกับลูกหมาก

สิ่งที่เกษตรกรสามารถดูแลได้อย่างถูกวิธี คือ การรดน้ำ โชยน้ำในอากาศให้เป็นละอองฝอย  ส่วนรากที่กินน้ำอยู่หลังแปลง มีลักษณะเป็นรากฝอย  จึงควรให้ดินมีความชื้นตลอดเวลา ไม่ควรทำเปียกสลับแห้งแบบนาข้าว เพราะความร้อนจะทำให้รากดูดน้ำและสารอาหารไม่ขึ้น รวมถึงการปลูกพืชคลุมดิน เช่น ต่างเหรียญ เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิ ทำให้ปัญหาผลลีบลดน้อยลง

ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการดูแลเพิ่มเติม แต่ก็ยังคงฝากเกษตรกรรีบหมั่นดูแลสวนของตนเองให้พร้อม เพื่อรับมือกับสภาพอากาศร้อนที่จะมาถึง

นางสาวสุวีรยา ปั่นปาน พาณิชย์จังหวัดสมุทรสาคร ได้กล่าวถึงปัญหาหลักของการส่งออก ว่าย้อนไปช่วงที่ยังไม่มีการส่งเสริมมะพร้าวเพื่อการส่งออก ราคา50สตาง-2บาท จนปี59-60 ราคาอยู่ที่ลูกละ 5 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ตกต่ำ  จนมีการเรียกร้องการแก้ปัญหาราคาตกต่ำ จึงนำมาสู่การนำพามะพร้าวไปต่างประเทศ  โดยการส่งเสริมGI

จ.สมุทรสาคร มีผู้เกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอม 6,900 ราย พื้นที่ 70,000 กว่าไร่  แต่มีได้รับทะเบียนGI เพียง 36ราย   ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการจดทะเบียน GI เพื่อรองรับการเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิต ปัจจุบันมีการสวมสิทธิ์ เพื่อนำไปขายต่อ ไม่ว่าจะเป็นทั้งมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน  “เราจงดีจะที่เขามาสวมสิทธิ์เป็นเรา แสดงว่าเราเป็นผู้มีชื่อเสียง แต่จะทำอย่างไรให้ช่องทางตรงนั้นหายไป เราก็ต้องเร่งรัดและผลักดัน ”

แต่สำหรับการแข่งขันราคาเป็นเรื่องปกติ แต่จะมุ่งเน้นทำให้สินค้ามีคุณภาพไปได้หลายประเทศ พาณิชย์ฯ พยายามเปิดตลาดตะวันออก และในอนาคตจะมีข่าวดีที่บริษัทที่ตั้งในสมุทรสาคร จะมีการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปที่ตลาดตะวันออกเพิ่มมากขึ้น  “ดิฉันใจหายอยู่ครั้งนึง ตอนได้ยินคนพูดว่าปลูกมะพร้าวกันเต็มราคาน่าจะ 5 บาท แต่ในความเป็นจริง ราคา 10 กว่าบาท แต่อาจจะเป็นเพราะว่าเราเคยได้ช่วงพีคลูกละกว่า 50 บาท พอราคาเหลือ 10 กว่าบาท ก็เลยรู้สึกว่าเราราคาตกต่ำ”นางสุกัญญา แอนิหน ปราญช์ชาวบ้าน ได้กล่าวถึงเทคนิคการดูแลมะพร้าวและการรักษาโรคระบาดในมะพร้าวน้ำหอมกว่า 40 ปี ว่า ตนเริ่มต้น หันมาปลูกมะพร้าวน้ำหอมกว่า 40 ไร่  ในช่วงแรกให้ผลิต 20,000 กว่าลูก ใน  1 ปี ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง จนกระทั่ง 2557 เจอปัญหาหนอนหัวดำระบาดในหลายพื้นที่ ได้เริ่มใช้สารเคมีจริงจัง ส่งผลให้ผลผลิตเหลือ 10,000 กว่าลูก แต่ด้วยความที่ตนเรียนจบเพียงชั้นป.4 แต่เป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว ชอบฟังการอบรม แล้วนำมาปรับใช้กับสวนของตนเอง จึงได้ลงพื้นที่สวนทุเรียนแล้วนำสปริงเกอร์ยักษ์เพื่อทำความชื้น มาใช้กับสวนของตน

จนกระทั่งปี 2563 ได้ลดใช้ปุ๋ยเคมีเหลือเพียงปีละ 3 ครั้ง(เดือนมกราคม กรกฎาคม ตุลาคม) แล้วปรับมาใช้ปุ๋ยคอกและมูลวัวที่มีความเค็มน้อยกว่ามูลไก่ รวมถึงทำความสะอาดแปลงตนทำให้ผลผลิตมะพร้าวเริ่มดีขึ้น “หลักการเป็นเกษตรกร คือ จะต้องดูแลแปลงตัวเอง สำรวจแปลงตัวเอง และอย่าฟังคนอื่น ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง” นางสุกัญญากล่าว