เปิดประสิทธิผลสูตรวัคซีนโควิดที่ใช้ในประเทศไทย ก.ค.-พ.ย. 2564

สรุปประสิทธิผลวัคซีนสูตรต่างๆ ใช้ในประเทศไทย
ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก CVC กลางบางซื่อ

ประมวลผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิดในประเทศไทย ตั้งแต่กรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2564 EOC เผย วัคซีนทุกประเภทประสิทธิผลสูง ป้องกันป่วยรุนแรง-เสียชีวิต 

วันที่ 7 มกราคม 2565 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จัดการประชุมครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

โดยศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) ได้ประมวลผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิดในประเทศไทย ตั้งแต่กรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2564 ดังนี้

ซิโนแวค 2 เข็ม

  • การศึกษาในประชาชนทั้งหมดจาก National Co-Lab ระหว่างกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 58.8% และป้องกันการป่วยรุนแรง 90.8%
  • การศึกษาในประชาชนทั่วไปจาก IUDC-Lab กรุงเทพฯ ระหว่างกันยายนถึงตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 66%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัสจาก KK CO-Lab ขอนแก่น ในเดือนตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 68%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก Epid-CM เชียงใหม่ ในเดือนตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 82%

แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม

  • การศึกษาในประชาชนทั้งหมด จาก National Co-Lab ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 67.9% และป้องกันการป่วยรุนแรง 94.1%
  • การศึกษาในประชาชนทั่วไป จาก IUDC-Lab กรุงเทพฯ ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 75%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก KK CO-Lab ขอนแก่น ในเดือนตุลาคม ป้องกันการติดเชื้อ 68%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัสจาก Epid-CM เชียงใหม่ เดือนตุลาคม ป้องกันการติดเชื้อ 82% และเดือนพฤศจิกายน ป้องกันการติดเชื้อ 31%

ไฟเซอร์ 2 เข็ม

• การศึกษาในประชาชนทั้งหมด จาก National Co-Lab ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 84.3% และป้องกันการป่วยรุนแรง 100%
• การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก Epid-CM เชียงใหม่ เดือนพฤศจิกายน ป้องกันการติดเชื้อ 55%

ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า

  • การศึกษาในประชาชนทั้งหมด จาก National Co-Lab ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 64.4% และป้องกันการป่วยรุนแรง 93.4%
  • การศึกษาในประชาชนทั่วไป จาก IUDC-Lab กรุงเทพฯ ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 75%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก KK Co-Lab ขอนแก่น ในเดือนตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 77%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก Epid-CM เดือนตุลาคม ป้องกันการติดเชื้อ 88% และเดือนพฤศจิกายน ป้องกันการติดเชื้อ 50%

ซิโนแวค-ไฟเซอร์

  • การศึกษาในประชาชนทั้งหมด จาก National Co-Lab ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 89.0% และป้องกันการป่วยรุนแรง 100%

แอสตร้าเซนเนก้า-ไฟเซอร์

  • การศึกษาในประชาชนทั้งหมด จาก National Co-Lab ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 88.3% และป้องกันการป่วยรุนแรง 100%

ซิโนแวค-ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า

  • การศึกษาในประชาชนทั่วไป จาก IUDC-Lab กรุงเทพฯ ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 86%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก KK Co-Lab ขอนแก่น ในเดือนตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 71%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก Epid-CM เชียงใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน ป้องกันการติดเชื้อ 76%

ซิโนแวค-ซิโนแวค-ไฟเซอร์

  • การศึกษาในประชาชนทั่วไป จาก IUDC-Lab กรุงเทพฯ ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 82%
  • การศึกษาในประชาชนผู้สัมผัส จาก KK Co-Lab ขอนแก่น ในเดือนตุลาคม 2564 ป้องกันการติดเชื้อ 84%

นอกจากนี้ยังมีการสรุปตอนท้าย ดังนี้

  • วัคซีนทุกประเภท มีประสิทธิผลสูงพอสมควรในการป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต (60-100%)
  • วัคซีนสูตรไขว้ทุกสูตรที่แนะนำ มีประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อได้สูง (62-89%) ทัดเทียมกับการใช้วัคซีน 2 เข็มประเภทเดียวกันทั้งแบบ viral vector และ mRNA การฉีด Booster dose เข็ม 3 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม มีประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อได้สูง (71-94%)